ปัจจัยในการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีก
ลักษณะประชากร
โดยทำการศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การกระจายตัวโดยทั่วไปและผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้ามีการจัดกลุ่มอายุเท่าไร เพศใด? หรือในบริเวณนั้นมีคนโสด วัยรุ่น และครัวเรือนที่อยู่เป็นครอบครัวจำนวนเท่าใด? เชื้อชาติ ศาสนาใด มีผลดีหรือ ผลเสียต่อธุรกิจที่เราตั้งอยู่หรือเปล่า ประชากรเหล่านั้นประกอบอาชีพอะไร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการคาดคะเนยอดขายสินค้า เพื่อนำมาพิจารณาว่าทำเลนั้นมีผลต่อยอดขายสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใด
ในระยะเริ่มแรกควรที่จะทราบจำนวนที่แน่นอนของประชากรของที่อยู่ในพื้นที่ย่านนั้น
โดยใช้วิธีแยกพิจารณารายละเอียดดังนี้
1. เพศ พิจารณาว่าประเภทของร้านค้าปลีกขนาดย่อมเป็นการประกอบการในลักษณะใด เช่น สปา สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย สถานที่ออกกำลังกาย ควรเลือกทำเลอยู่ในย่านที่มีเพศหญิงอาศัยอยู่มาก ทั้งนี้ควรพิจารณาด้วยว่าอำนาจซื้อหรือรายได้ของลูกค้ามากหรือน้อยเพียงใดอาจพิจารณาจากอาชีพ เป็นหลัก ส่วนร้านค้าปลีกขนาดย่อมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์กลไกหรือ อู่ซ่อมรถ ร้านเช่าพระเครื่องควรเลือกทำเลอยู่ในย่านที่มีเพศชายอาศัยอยู่ เป็นต้น
2. เชื้อชาติ การเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมประเภทร้านค้าปลีกถ้าพิจารณาจาก
เชื้อชาติเป็นเกณฑ์นั้นควร ศึกษารายละเอียดให้เข้าใจถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของแต่ละชาติเช่นถ้าเราต้องการจำหน่ายสินค้าที่เป็นเครื่องเซ่นไหว้สักการะตามประเพณีจีนที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมประเภทร้านค้าปลีกควรอยู่ในย่านของคนเชื้อสายจีน เป็นต้น
3. ศาสนา ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความศรัทธา ความเชื่อ ตลอดจนมีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ความเชื่อนี้เองทำให้ร้านค้าปลีกขนาดย่อมต้องทราบว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีแนวความคิดเป็นอย่างไรยอมรับหรือต่อต้าน ร้านค้าปลีกขนาดย่อมที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่ เช่นไม่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุกรในย่านที่พักอาศัยของชุมชนชาวอิสลาม จะถูกต่อต้านในทางตรงกันข้ามหากเราขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไก่จะดำเนินไปได้ด้วยดี เป็นต้น
4. การกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากร
เป้าหมายของการพิจารณาการกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากรก็เพื่อเป็นการคาดคะเนยอดขายสินค้าที่จะเกิดขึ้นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าในทำเลนั้น ๆ ควรจะมียอดขายเท่าใด ในขั้นแรกควรจะต้องทราบจำนวนที่แน่นอนของครัวเรือนในบริเวณหรือย่านที่ต้องประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้น และเมื่อทราบจำนวน ดังกล่าวแล้วควรพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตว่าการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรในบริเวณดังกล่าวว่ามีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งนี้อาจพิจารณาได้จากจำนวนสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค ตลอดจนอาคารบ้านเรือนในบริเวณที่ประชากรอาศัยอยู่นั้นมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าหากเพิ่มขึ้นแสดงว่าความหนาแน่นประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าหากไม่มีการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้าง แสดงว่าประชากรมีแนวโน้มเท่าเดิม หรือลดลง
นอกจากนี้ควรศึกษาลักษณะบางประการของประชากรด้วยว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่เช่น คนเชื้อสายจีน กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น แนวโน้มของประชากรในบริเวณที่ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม พิจารณาอยู่นั่นกำลังพัฒนาไปในทางใด การศึกษาเมืองอย่างรอบคอบจะแสดงให้เห็นว่าประชากรกำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากการศึกษานี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกำหนดขอบเขตของประชากรของชุมชนได้ ขอบเขตของประชากรนี้ควรจะชี้ให้เห็นถึงการจัดกลุ่มอายุของประชากร เช่น การจัดกลุ่มอายุจะแสดงให้เห็นว่าประชากรวัยหนุ่มสาวของชุมชนยังคงอาศัยอยู่ในเมือง หรือย้ายไปเมืองอื่นๆ เพื่อหาทำเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงหรือไม่ ปัจจัยที่มีความหมายที่สำคัญต่อธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าที่มุ่งลูกค้าวัยหนุ่มสาวข้อมูลเหล่านี้ ยังชี้ให้เห็นระดับรายได้ในบริเวณการค้าและการจัดกลุ่มอาชีพของประชากร ระดับรายได้มีผลกระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคบริเวณการค้า อำนาจซื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งนั้นผู้ประกอบการสามารถประเมินได้จากแหล่งต่างๆ เช่น สมมติว่าประกอบธุรกิจขนาดย่อมคนหนึ่งกำลังพิจารณาว่าจะเปิดร้านจำหน่ายของชำร้านใหม่บริเวณแห่งหนึ่งที่หรือไม่ จะต้องทำการประมาณการโดยแสดงให้เห็นถึงวิธีการพยากรณ์อำนาจซื้อของบริเวณนั้นด้วยวิธีการประมาณการความต้องการของตลาด
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที