มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 459809 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


ความสำคัญของการวิจัย 2

การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมที่มีผู้ดำเนินการ  แบบเจ้าของคนเดียว  มีความรู้ความสามารถชำนาญเฉพาะธุรกิจของตนเองมากที่สุด  หรือถูกเรียกว่า  เถ้าแก่   ไม่มีเงินทุนมากพอที่จะทำวิจัยได้ตามกระบวนการที่ถูกต้องได้   ขาดความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยตามแบบฉบับที่นักวิชาการทั้งหลายทำกันแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมองโลกให้เปลี่ยนตาม  ปรับมุมมอง  ความคิด  ทัศนคติ  เพื่อให้ธุรกิจตนเองอยู่รอดและเป็นมรดกสืบทอดต่อไปให้ลูกหลาน  จำเป็นต้องเรียนรู้กระบวนการสัมภาษณ์  สอบถาม  พบปะ  พูดคุย  เพื่อให้ได้ข้อมูลมาสำหรับคำว่า  รู้เขา  

               การสัมภาษณ์  สอบถาม  พบปะ  พูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้อของจากเราเป็นประจำแล้ว  นอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในปัจจุบันแล้ว  ทำให้เราทราบถึงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของเราเป็นอย่างดีอีกด้วย เช่นเวลาว่างเราออกเยี่ยมเยียนลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการจากเรา  ลองถามคำถามไปว่า  “เป็นไงเสื้อที่ซื้อมาใส่ได้ไหม  ซักง่ายหรือเปล่า  ตกสีหรือเปล่า  รีดง่ายหรือเปล่า”  อย่าลืมว่าความต้องการของลูกค้าไม่เหมือนกันทุกคน  บางคนซื้อเสื้อจากเราไปเพราะเห็นว่า  มันรีดง่าย  หรือซักแล้วแห้งง่าย  หรือซักไม่ตกสี หรือแม้กระทั่งว่าเพราะราคาแพง  มียี่ห้อใส่แล้วภูมิฐานมีคนชม  ความต้องการของลูกค้ามีหลากหลาย  ถ้าเขาซื้อไปแล้วบำบัดความต้องการหรือพอใจในตัวเสื้อของเรา  พวกเขาจะบอกว่า  มีคุณภาพ  เพราะเขาพึงพอใจของเขาแค่นี้  คำว่า  “คุณภาพ”  คือความพึงพอใจของลูกค้า  ดังนั้นถ้าเราพูดว่า 

 “คุณภาพ  คืออะไรก็ได้แล้วแต่”ได้ไหม  คำตอบคือได้   เพราะแต่ละคนมีความพึงพอใจจากตัวสินค้าและบริการต่างกัน  เหตุนี้เราในฐานะเถ้าแก่จึงต้องใช้เวลาว่างออกเยี่ยมเยียนลูกค้าถึงที่พักอาศัย  หรือเวลาไปเจอหน้าที่ตลาด  แหล่งชุมชน  ห้างสรรพสินค้า  นอกจากนี้เรายังสามารถทราบความต้องการอะไรบางอย่างที่พวกเขามี  หรือคนรอบข้างเขามี  คนรอบข้างในที่นี้เป็นการรวมถึงคนที่อาศัยอยู่ในครอบครัว  หมู่บ้าน  ละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง  เช่น   เราไปเยี่ยมหรือพบลูกค้าที่ซื้อตู้เย็นยี่ห้อหนึ่งที่เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่  คำถามที่เราในฐานะเถ้าแก่จะต้องถามนอกจากคำกล่าวทักทาย  หรือถามสารทุกข์สุกดิบตามประสา  คือ   “ตู้เย็นที่ซื้อไปใช้เป็นไงบ้าง”  เราจะได้คำตอบจากปากลูกค้า  ทันที  แต่ไม่เหมือนกันทุกราย  คำตอบนั้น  เถ้าทุกรายจะต้องทราบไว้  นอกจากนี้  คำถามต่อไปที่จะต้องถามอีกคือ  “เพื่อนบ้าน  ล่ะรู้ไหมว่าเราซื้อตู้เย็นใหม่  เขามียัง”  เราอาจได้หลายคำตอบ  เช่น  “รู้ว่า  ฉันซื้อใหม่  แต่บ้านเขาคนน้อย  อยากได้แบบเล็กกว่านี้”  หรือ  “บ้านเขาคนเยอะอยากไห้ใหญ่กว่านี้”  หรือ  “บ้านเขาค้าขายอาหารอยากได้แบบ  สองประตู”  หรือ “อยากได้แบบประหยัดไฟ” หรือ  “แพงไป  ไม่มีเงิน  ขอผ่อนได้ไหม”  หรือแม้กระทั่งเสียงติชม  เช่น  “เพื่อนบ้านเขาซื้อไปบอกว่าไม่ดี”  หรือ  “ดี  ใช้ได้นานตั้งยี่สิบปีแล้ว  ยังไม่เสีย  ไม่เคยซ่อมเลย”  เพราะคำตอบเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่คนที่เป็นเถ้าแก่  ที่จะต้องปรับปรุงหรือแก้ปัญหา  ตอบสนองความพึงพอใจกับลูกค้า  อย่างน้อยที่สุดเถ้าแก่จะต้องถูกสัมภาษณ์หรือถูกซักถามจากเซลล์แมน  พนักงานขาย  จากบริษัทที่ส่งสินค้ามาขายให้   แต่อย่าลืมว่าธรรมชาติของคนมีความต้องการอย่างไม่มีสิ้นสุด  มีความต้องการแบบไม่มีขอบเขตจำกัด  บางอย่างที่เราไม่สามารถทำได้  เช่น  ขายเงินผ่อน  หรือราคาแพงไป  อาจเป็นอุปสรรคที่เถ้าแก่บางรายไม่สามารถทำได้  จง  อย่าทำตามขอ  ถ้าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน  เพราะ  เราไม่ใช่มูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร  จงระลึกอยู่เสมอว่า  เราจะต้องมีกำไรนอกจากภาพพจน์ที่ดีด้วยแล้ว


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที