จะเปลี่ยนตัวเองเป็นเถ้าแก่ได้อย่างไร ?
ที่สำคัญที่สุดก่อนเริ่มธุรกิจผู้ที่จะเป็นเถ้าแก่จะต้องเลือกธุรกิจให้ได้ก่อนเสมอ มีความแน่ใจว่าตนนั้นมีคุณลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด รวมทั้งทราบว่าธุรกิจที่ตนจะทำนั้นมีปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ และจะต้องศึกษาขนาดตลาดว่ากว้างพอที่จะทำกำไรได้มากหรือน้อยเพียงใด มีเงินทุนพอเพียง มีพนักงานที่มีทักษะ และมีสารสนเทศที่น่าเชื่อถือและทันสมัยตรงกับความต้องการเพียงใด โดยจะต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.1 ขนาดตลาด (Market Size) มีนักการตลาดให้ความหมายไว้หลากหลายแต่สรุปว่าคือความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ต้องการซื้อสินค้าที่เราจะขายมากเพียงใด คุณภาพ และปริมาณเท่าใดที่ลูกค้าต้องการ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างผลกำไรด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการเฉพาะอย่าง ซึ่งจะสรุปได้ว่าจำนวนลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าทั้งหมดในขอบเขตของธุรกิจที่เป็นไปได้จะต้องกว้างพอที่จะช่วยธุรกิจได้เถ้าแก่จะต้องรู้ว่าสิ่งที่ลูกค้าชอบและไม่ชอบ เพื่อให้บริการมีคุณภาพและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และที่สำคัญเราจะขายแข่งกับคู่แข่งได้มากแค่ไหน ลูกค้าเราจะมีมากหรือน้อยกว่าคู่แข่ง อ้าว งงละซิ มาจะเปรียบเทียบให้ดู สมมุติว่ามีเทศบาลใจดีเอาเค้กมาแจก โดยเอามาวางที่ศาลากลาง คนไหนชอบกินมาแย่งเอาไป แย่งได้มากแค่ไหนวิธีใด แล้วแต่ จะวิ่งมา ขี่จักรยานมา เอามีด ขวาน ช้อน เคียวเกี่ยวข้าวได้ทั้งนั้น เค้กที่ว่านี้คือ ขนาดตลาด วิธีการที่มาจะเป็นการวิ่ง ขี่จักรยาน คือกลยุทธ์ทางธุรกิจ(Business Strategy) ที่จะเข้าถึง ส่วน มีดขวาน ช้อน เคียวเกี่ยวข้าว คือกลวิธี(Tactics) ที่จะเป็นเครื่องมือในการให้ได้เค้กมา แล้วเค้กที่ได้คือส่วนแบ่งการตลาด หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า Market Shares อ่านว่ามาร์เก็ตแชร์ นั่นเอง
1.2. ความเพียงพอของเงินลงทุน (Money) เงินทุนเป็นหัวใจที่สำคัญในการเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจด้วยการขาดเงินทุนจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จเพราะเงินทุนไม่เพียงพอในการเริ่มทำธุรกิจเพราะถ้าไม่มีเงินทุนไหลเวียนเพียงพอก็จะทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เถ้าแก่ต้องแก้ปัญหาเบื้องต้นทำได้โดยการกู้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ธนาคาร ญาติพี่น้องอาเฮียอาซ้อ อาปา อาเจ็ก หรือสถาบันการเงินอื่นๆ การวางแผนการเงิน จะทำให้สามารถประมาณการได้ว่าจะต้องจัดหาปริมาณเงินทุนเท่าใด ถ้าได้มาแล้วอย่าลืมแยกมันออกจากกระเป๋าสตางค์ส่วนตัวด้วยแล้ว เรียกมันว่า เงินทุนของกิจการ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที