สิ่งที่อยู่คู่กับเถ้าแก่คือ เก๊ะตังค์และส่วนใหญ่ รกมาก กล่าวคือ วางเงินไม่ค่อยเป็นระเบียบเท่าไร ทั้งพระเครื่อง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยันต์ หรือเครื่องราง ที่เรียกเงินทั้งหมาย วางผสมปนเปไปหมด เวลารีบ ๆ ทอนผิดทอนถูก ลูกค้าซื้อของ 37 บาท ให้ใบร้อยทอนไม่ถูก ใบร้อยไม่ยอมวางเผลอจับไว้ เลยติดใบร้อยไปอีก แทนที่จะทอน 63 บาท กลับทอน163 บาทหรือบางรายเข้าใจผิดว่า ลูกค้าให้ใบห้าร้อยดันหยิบใบร้อยเพิ่มอีกสามใบ ยิ่งหนักกันไปใหญ่ มักพบร้านแบบแผงลอยเวลามีลูกค้าซื้อของมาก ๆ หรือแผงผลไม้
การหยิบ แบ็ง ผิดเป็นไปได้ ถ้าที่เก็บเงินเป็นกระป๋องแบบเก่า หรือประเภทมีสายห้อยโยงขึ้นลงกันคนมือไว การแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ เพื่อคุณภาพในการทอนเงินเราสามารถใช้ กิจกรรม 5 ส มาช่วยในการแก้ปัญหา เริ่มจากการแยกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเครื่องรางออกจากแบ็ง และสตางค์ หลังจากนั้นแยกสตางค์ ออกต่างหากจะต้องมีภาชนะเพื่อบรรจุ สตางค์ ออกจากแบ็ง เพื่อความสะดวกในการหยิบจับในการรับทอนเงิน จะต้องแยกเหรียญบาท ออกจากเหรียญอื่น ๆ แบ่งเป็น ล๊อก ๆ แบ็งเช่นกันแยกและพับเป็นพับเพื่อป้องกันการหยิบผิด ขั้นตอนนี้เรียกว่า สะสาง เมื่อสะสางเสร็จ เกิดความสะดวกในการหยิบจับ ทำให้ดูสะอาดตา หรือปัดฝุ่นได้ง่าย เผลอ ๆ ของที่เคยหายอาจหาเจอ เกิดสุขลักษณะ ขอให้ทำแบบนี้ทุกวันหรือเวลาว่างจากการขายของอย่าปล่อยให้รกอีก ว่างเมื่อไหร่เป็นสะสาง อีก จนกระทั่งติดเป็นนิสัย เรียกว่าสร้างนิสัย
เมื่อเถ้าแก่ทำตามขั้นตอนที่ระบุมา ปัญหาเหล่านี้จะหายไป
1. การทอน แบ็ง ผิด ทำให้เกิด การขาดทุนในกรณีมีมูลค่ามากกว่าที่จะต้องจ่าย หรือถูกลูกค้าต่อว่า ในกรณี มีมูลค่าน้อยกว่าที่จะต้องจ่าย หรือกรณีพิพาทเมื่อลูกค้ารู้ตัวว่าได้รับเงินทอนน้อยกว่าที่น่าจะเป็นจริง ถ้าย้อนกลับมาที่ร้านทีหลัง เพราะเราไม่รู้ว่าลูกค้าพูดจริงหรือเปล่า
แต่ในกรณีลูกค้าไม่กลับมาต่อว่าอย่าคิดนะครับว่า เออ แล้วไป ไม่เป็นไร ลูกค้าคือพระเจ้านะครับ แล้วคิดหรือครับว่าเรื่องแค่นี้ ลูกค้ารายนี้จะไม่นำไปพูดต่อให้เสียชื่อเสียง และในที่สุดเราจะเสียลูกค้ารายนี้ไปเลย (ถ้าไม่ใช่ลูกค้าประจำนะครับ)
2. มีแบ็งที่ไม่พึงประสงค์มากหรือน้อยเกินไป เช่น หาแบ็งละ 100 บาทไม่เจอเพราะถูกทับ จะต้องเอาแบ็ง ยี่สิบห้าใบแทน ทำให้การนับช้าและเสี่ยงต่อการนับผิด และแบ็งยี่สิบตอนที่จะมาทอนปลีกย่อยกับลูกค้ารายอื่น กลับหาไม่มี มิหนำซ้ำวิ่งไปแลกร้านข้าง ๆ ช้าลงไปอีก เผลอ ๆ ตอนวิ่งไปแลกไม่ได้ดูเก๊ะตังอีก
คุณภาพการจัดการร้านจะเกิดขึ้นทันที อย่างน้อยที่สุดกำไรจะมากขึ้น เมื่อเถ้าแก่ ทอนถูก ลูกค้าไม่กลับมาด่าตอนทอนผิด ชื่อเสียงและสามารถรักษาลูกค้าเดิม ได้ แน่ใจว่าการซื้อซ้ำจะมีอีกในอนาคต
สำหรับเทคนิคการคิดเงินทอนแบบง่าย ๆ สำหรับเถ้าแก่พันธุ์ใหม่ จะเขียนในตอนต่อไป
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที