ณัฐพงษ์

ผู้เขียน : ณัฐพงษ์

อัพเดท: 24 ต.ค. 2006 18.32 น. บทความนี้มีผู้ชม: 21128 ครั้ง

เรียนรู้คาตะคานะกันได้เลย


ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น บทที่ 2

 

ภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น

2 บทที่ 2

 

และแล้วก็พบกันอีกครั้งในคอลัมน์ของการเรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นกับผม  鬼塚(おにつか)เจ้าเดิม ในครั้งที่แล้วได้พูดถึงตัวอักษร ひらかな(hirakanaไม่รู้ว่าจำกันได้หรือยัง ในเบื้องต้นอาจจะรู้สึกว่าเยอะแต่ถ้าหากติดตามคอลัมน์นี้ไปเรื่อยๆ เจอตัวอักษรบ่อยๆ เห็นคำศัพท์บ่อยๆ คิดว่าคงจะชินกันไปเอง ตัวผมเองก็จะพยายาม Update ให้ได้ทุกๆอาทิตย์แล้วกัน

  หมู่นี้ไม่รู้เป็นอะไรมักจะได้รับโทรศัพท์มาถามเกี่ยวกับเรื่องคอร์สเรียนว่ามีคอร์สไหนบ้างที่จะทำให้สามารถพูดได้ภายใน 1 เดือน ผมสามารถบอกได้เลยนะครับว่าไม่ว่าจะเรียนคอร์สเร่งรัดที่ไหนก็ตาม คงไม่มีที่ไหนสามารถทำให้เก่งได้ภายใน 1 เดือนหรอกครับ ทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเรียนอย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราเอาใจใส่กับสิ่งที่เราต้องการมากแค่ไหน  แต่สิ่งนึงที่สามารถทำให้พูดได้เก่งคือ ต้องหาเพื่อนเป็นคนญี่ปุ่นถือเป็นวิธีลัดที่ดีทีเดียว

พล่ามมาซะยาวทีเดียวเดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อกันซะก่อน เอาล่ะเรามาเริ่มเรียนบทที่ 2 กันต่อเลยแล้วกันในครั้งนี้จะพูดถึงตัวอักษรอีกประเภทของภาษาญี่ปุ่น

 

2.ตัวอักษรคาตาคานะ(カタカナ)

 

          ตัวอักษร คาตาคานะ (KATAKANA) เป็นตัวอักษรที่ใช้สำหรับทับศัพท์คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น แฮมเบอร์เกอร์, คอมพิวเตอร์, หรือชื่อคนต่างประเทศ(ที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น),ชื่อประเทศต่างๆเป็นต้น โดยมีตัวอักษรหลักและเสียงทั้งหมด 46ตัวอักษรเหมือนตัวอักษรฮิรางานะ

 

 

      นอกจากนี้ยังมี อีก 25 ตัวที่เพิ่มขึ้น เหมือนตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana) ทุกประการโดยการใส่ Ten Ten(สัญลักษณ์อยู่ข้างล่างด้านซ้ายมีที่มีลักษณะ 2 ขีด)ที่ และMaru(สัญลักษณ์อยู่ข้างล่างด้านขวามีลักษณะเป็นกลม)

 

และสุดท้ายเหมือนเดิมเป็นตัวอักษรผสมมีอีก 33 ตัวอักษร

นอกจากนี้ยังมีตัวพิเศษอีก 1 ตัวซึ่งไม่ได้อยู่ในตาราง คือ ー(ぼう)สัญลักษณ์นี้หากไปอยู่หลังตัวอักษรใด จะทำให้ตัวอักษรนั้นออกเสียงยาวขึ้น ยกตัวอย่างของชื่อคน เช่น

สุกันยา                                   スカンヤ           (Sukanya)           

                             スカンヤー       (Sukanyaa)

               

อย่างที่เห็นว่าหากเขียนตามตัวอักษรด้านบน จะอ่านออกเป็นเสียงสั้นเป็น สุกันยะ ส่วนด้านล่างจะอ่านออกเสียงเป็น สุกันยา คราวนี้ขอให้สนุกกับการเขียนชื่อ ตัวเอง ลองเอาไปสะกดกันดูก่อนแล้วกัน

จุดนึงที่สามารถแบ่งแยกตัวอักษรสองตัวนี้ได้ คือ รูปแบบการเขียนเพราะหากเป็นตัว ฮิรางานะ จะมีลักษณะที่ มน กลมๆ ในขณะที่ตัวอักษรคาตาคานะ จะมีลักษณะเหลี่ยมๆ (แต่ไม่หน้าเหลี่ยม) ส่วนวิธีการเขียนสามารถดูได้ที่ เว็บไซต์เดิม แล้วพบกันใหม่ในอาทิตย์หน้า

 

                                                                                                                                            鬼塚

                                                                                   เว็บภาษาญี่ปุ่นที่ดีที่สุด
                                                                                                 www.j-doramanga.com

                                                                              



                                                                                                                                 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที