ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 05 เม.ย. 2009 20.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5081 ครั้ง

เกร็ดความรู้...เพื่อเป็นมนุษย์งานมือโปร
HR Contribution

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานในสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล จึงขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน ทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่าน ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้าง HR เพื่อความเป็นมืออาชีพนะครับ....


เก็บความมาเล่า : บทบัญญัติการบริหารคนของ Stephen P. Robbins (ตอนจบ)

มาว่ากันตอนจบ

14)  การเชื่อมโยงประสบการณ์กับประสิทธิภาพของการเป็นผู้นำ หากไม่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและคุณภาพของประสบการณ์แล้ว นับเป็นเรื่องที่สูญเปล่า จึงเป็นความจริงที่ว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายด้านมากกว่าอีกคนที่มีเยงด้านเดียว แต่อาจจะมีประสบการณ์นานกว่า หากไม่มองถึงคุณภาพของประสบการณ์แล้ว ความหลากหลายของการผ่านงาน ก็ช่วยให้คนแรกเป็นต่อคนหลังตั้งแต่ในมุ้ง แม้เขาจะผ่านงานมาน้อยปีกว่าคนหลังก็ตาม

15) Robbins บอกว่า ทฤษฎีผู้นำที่เกืดจากสังคมอเมริกัน ออกแบบมาสำหรับคนอเมริกันซึ่งเน้นความรับผิดชอบมากกว่าสิทธิ  เน้นความพึพอใจตามแนวปัจเจกชนนิยมมากกว่าการทุ่มเท มองเหตุผลมากกว่าจิตวิญญาณ    การผสมผสานทฤษฎีผู้นำเข้ากับบริบททางวัฒนธรรม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นหากจะนำทฤษฎีผู้นำไปใช้ให้ได้ผล เราจะพบว่า ผู้นำสไตล์จีน ผู้นำสไตล์ญี่ปุ่น และผู้นำอินเดีย ก็มีความเป็นผู้นำแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและบรรทัดฐานทางสังคมและการทำงานหล่อหลอมเขา

16) การกระทำสำคัญกว่าการพูด อันนี้สอดคล้องกับข้อแรกที่ผมสรุปหลักมาว่า เป็นเรื่องยากยิ่งนักที่พนักงานจะไว้วางใจผู้บริหารที่พูดอย่างทำอย่าง  แต่ในโลกของความเป็นจริง เราก็มักพบว่า มีผู้บริหารจำนวนมากที่ใช้ "ปาก" หรือ "วาทะศิลป์" บริหารงานมากกว่าที่จะ "ทำ" โดยนำการปฏิบัติเคียงข้างและมุ่งมั่นกับลูกน้อง  ข้อนี้เตือนใจเราท่านว่า เราจะเชื่อสิ่งที่ผู้นำพูด หรือเชื่อตามสิ่งที่ผู้นำทำให้เราเห็นเราดู

17) ผู้บริหารที่ชอบทดลองวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ ๆ ทดลองไปเรื่อย ๆ ตามสมัยนิยม ของเครื่องมือ เหมือนกับการทดลองยาลดล้ำหนัก ท่านกำลังทำให้พนักงานขวัญกำลังใจลดลงอย่างที่ท่านรู้เท่าไม่ถึงการณ์

18)   Robbins เตือนผู้บริหารไว้ว่า เทคนิคหรือเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่มีมากขึ้นทุกวันนี้  ไม่ได้เป็นเครื่องมือสารพัดนึกที่จะสามารถนำไปใช้ซ่อมแซมทุกอย่างได้ซะหมด ผู้นำจึงต้องรู้จักและผสมผสานแนวคิด วิธีการหรือเทคนิคใหม่ ๆ นี้มาเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับกรแก้ไขปัญหาให้ลงตัวที่สุด ทั้งยังต้องคอยหมั่นทบทวนว่า เครื่องมือนั้นยังเหมาะสมปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย 

จบแล้วครับ.... หวังว่าท่านผู้อ่านทั้งที่เป็นนักบริหาร และเตรียมที่จะเป็นนักบริหาร จะได้อะไรบางอย่างกลับใช้นะครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที