ผู้นำแบบไหนที่เรียกว่า
"ผู้นำเชิงกลยุทธ์"ในตอนก่อนหน้าที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอท่านผู้อ่านในเรื่องของการบริหารเชิงกลยุทธ์ และย่อยประเด็นลงมาถึงเรืองของการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ซึ่งก็คือเรื่องของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ คราวนี้ ผมขอนำเรืองของปัจจัยหลักที่จะทำให้การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติประสบความสำเร็จ ซึ่งผมเองมองมันว่าเป็นปัจจัยหลัก หรือเรียกว่า
Critical Success ทีเดียวเลยครับเรื่องส่วนใหญ่เหล่านี้ ในทางทฤษฎีองค์การแล้ว จัดว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การด้วยครับ โดยเฉพาะปัจจัยเรืองแรก ๆ แต่กระนั้น ก็ยอมรับกันนะครับว่า คุณภาพและสมรรถนะของบุคลากรในองค์การนี่ล่ะสำคัญสุดสุด ถ้าเจาะจงไปหน่อยก็คือเรืองของคุณภาพผู้นำ หรือที่เรามักจะพูดถึงเรืองภาวะผู้นำ
ผู้นำแบบไหนที่ส่งผลต่อการทำให้กลยุทธ์ประสบความสำเร็จได้
ตอบแบบตรงไปตรงมาคือ ผู้นำที่มีคุณภาพดี ยกตัวอย่างผู้นำที่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทที่ควรจะเป็น
21 เรื่องที่ผมเคยกล่าวไปแล้ว (ยัอนกลับไปดูงานเขียนเรื่องนี้ย้อนหลังดูครับ) แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนประกอบนะครับ เพราะลึก ๆ ไปแล้วมันต้องมีอะไรมากกว่านั้นDess
และ Miller ในงานเขียนของเขาเมื่อปี ค.ศ.1993 โน่น บอกว่า ผู้นำที่ผลักดันการใช้กลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของความเป็นหรือภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรม 3 เรื่อง คือ การกำหนดทิศทาง (setting a direction) การออกแบบองค์การ (designing the organization) และการปลูกฝังวัฒนธรรมสู่ความเป็นเลิศและคุณธรรม (installing a culture emphasizing excellence and ethics)เรามาดูกันทีละเรื่อง อย่างสั้น ๆ เพื่อให้
get idea และ re-understand ครับ1)
การกำหนดทิศทาง (setting a direction)2)
การออกแบบองค์การ (designing the organization)3)
การปลูกฝังวัฒนธรรมสู่ความเป็นเลิศและคุณธรรม (installing a culture emphasizing excellence and ethics)หากมีโอกาส ในภายภาคหน้า ก็จะมาว่า กันในรายละเอียดลงทีละเรื่องครับ ผมเองก็มองว่าเป็นเรืองสำคัญ แต่จะให้นำเสนอยาว ๆ ก็จะกลายเป็นไม่น่าสนใจ เพราะเป็นวิชาการมากเกินไป
ผมเองเชื่อในเรื่องของการทำงานที่ควรหยั่งอยู่บนฐานขององค์ความรู้ที่จะให้ดีก็ต้อประยุกต์มาใช้เพื่อการทำงานได้ ไม่ใช่ทำงานหรือสร้างระบบของการบริหารไปตามประสบการณ์ที่ตัวเองคิดว่ามันน่าจะเป็น ซึ่งในโลกปัจจุบันที่โลกาภิวัตน์หมุนมันให้เร็วอย่างไม่อาจคาดคิดได้ทันนั้น บางทีเราก็คงต้องนำเอาความรู้ที่อาจจะสำเร็จรูปหรือไม่สำเร็จรูปที่หลายองค์การเขาทำเป็น
"Best Practice" มาทำให้เป็น "Better than Best Practice" สำหรับองค์การของเราน่าจะดีกว่า คุณว่าอย่างไรครับบทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที