มาว่ากันต่อในเรื่องของการนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามของการบริหารเชิงกลยุทธ์
3)
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) หรือเรียกว่าการปฏิบัติตามกลยุทธ์เป็นการนำเอาแผนงานกลยุทธ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เรากำหนดมาจากขั้นตอนก่อนหน้า มาดำเนินงานให้ลุล่วงอย่างเชื่อมโยงกัน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การตามที่วางไว้ในวัตถุประสงค์
ว่ากันว่า ขั้นตอนนี้เองครับที่ยาก เพราะต้องอาศัยความรู้หรือ
Know-How เยอะมาก และก็เป็นจุดอ่อนของนักบริหารคนไทยด้วยที่ไม่ค่อยจะเชี่ยวชาญเรื่องการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่เพียงใดครับ เราจึงได้เห็นแต่ว่า องค์การต่างด้าวบริษัทข้ามชาติที่วางกลยุทธ์และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างชัดเจน แต่ถ้าพูดถึงองค์การแบบไทย ๆ ล่ะก็ ไม่ค่อยชัดเจนมากนัก เว้นซะแต่องค์การระดับสากลพวก ปตท. เจริญโภคภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น แต่องค์การเหล่านั้นก็ใช่ธรรมดาที่ไหนครับ ถ้าไม่จบจากสถาบันชั้นแนวหน้าในประเทศไทย หรือจบจากต่างประเทศ คุณจะมีโอกาสสอบเข้าไปหรือเปล่าครับกลับมาสู่เรื่อง เมื่อพูดถึงการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้น ส่วนมากก็จะพูดถึงเรืองปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติที่ต้องนำแผนงาน เอาอะไรต่าง ๆ ไปทำแล้ว ในแวดวงของการบริหารและทางวิชาการ เราจะเห็นตัวแบบต่าง ๆ มากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ซึ่งก็จะมาจากการวิจัยอย่างโชกโชนในองค์การต่าง ๆ ของนักวิชาการต่างประเทศ แล้วเราก็นำมาปรับประยุกต์ใช้ ตัวอย่างก็ได้แก่ กรอบ
7-S ของแมคคินซี่ (McKinseys 7-S Framework) ซึ่งพูดถึง 7 เรืองที่เป็นปัจจัยของการทำกลยุทธ์ให้สำเร็จ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างขององค์การ ตัวกลยุทธ์เอง คุณภาพและสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลขององค์การ ระบบและวิธรการทำงานที่ได้มาตรฐาน การควบคุมและความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ รวมตลอดจนถึงค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสมขององค์การ ในทางทฤษฎีของการบริหารเชิงกลยุทธ์ นักวิชาการและผู้รู้ต่าง ๆ สรุปกันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติครับทฤษฎีที่ว่าไว้ก็มีหลากหลาย และต่างก็มีวิจัยสนับสนุนจำนวนมากเช่นกัน แต่ไปแล้ว ก็จะเป็นกรอบกว้าง ๆ ที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดเท่าใดนัก เว้นแต่ในตำราที่เขียนถึงวิธีการ เราก็จะเห็น
case study และพวก best practices ต่าง ๆ นำมายกตัวอย่าง วิธีการพวกนี้คือของจริงที่เราสามารถนำมาใช้ได้ครับ เพียงแต่ต้องปรับให้เหมาะสมกับองค์การของเรา ตัวอย่างเช่นแต่ในมุมมองของผม ปัจจัยที่สำคัญมากเลยก็คือเรืองภาวะผู้นำ และตัวผู้นำ ปัจจัยอื่น ๆ ก็เป็นเรืองใหญ่แต่จะว่าใหญ่สุดก็คือผู้นำ เพราะความรับผิดชอบต่อองค์การนั่นเองครับ คราวหน้าเราจึงจะมาว่ากันว่า ผู้นำอย่างไรที่ทำให้จะทำให้องค์การนำกลยุทธ์ไปใช้อย่างได้ผลครับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที