สไตล์ของผู้นำที่พาองค์การฝ่าวิกฤต (ตอนที่ 3)
เมื่อตอนที่แล้ว เราได้พูดกันว่า 6 สไตล์ของผู้นำที่พบเห็นกันได้ทั่วไปในองค์การต่าง ๆ เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสรุปรายงานผลการสำรวจของ Hay Group เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ผ่านมาโน่นครับ
เมื่อมองดูกับโลกของความเป็นจริงแล้ว ผู้เขียน (ต่อไปจะเขาเรียกว่า "ผม" แทนนะครับ เพื่อไม่ให้ดูเป็นทางการมากเกินไป...) เห็นว่า ผู้นำนั้น จะต้องมีส่วนผสมของหลากหลายสไตล์ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือนำไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เมื่ออยู่ในห้องประชุมคณะกรรมการบริหาร ผู้นำจะต้องใช้สไตล์แบบประชาธิปไตย ในขณะที่เมื่ออยู่ในฝ่าย เขาก็อาจจะเป็นพวกชอบสั่งการ (Directive) กับเอามาตรฐานของตัวเองเป็นใหญ่ (Pacesetting) ก็ได้ครับ
แต่ว่าไปแล้ว คนไทยเรามักจะไม่ค่อยเปลี่ยนสไตล์หรอกครับ อยู่ที่ไหนไหน ภาพที่เห็นก็จะไม่แตกต่างกันมา ผมมีเพื่อร่วมงานหนึ่งคน ที่เป็นสไตล์เอาตัวเองเป็นมาตรฐาน จะประชุมจะทำงานในส่วนงาน ก็ใช้มาตรฐานขอความคิดของตัวเองเป็นหลัก รับฟังความเห็นของที่ประชุมพอเป็นพิธีเท่านั้น เวลาทำงานก็จะกอดงานไว้แน่น สอนงานให้ลูกน้องก็ตามมาตรฐานที่ตัวเองคิดเอาว่าดีหรือน่าจะเป็น แบบนี้ ดูจะเป็นเรื่องที่ปรับยาก คงต้องให้ตัวเขาปรับเองจะดีที่สุด
เวลาเราทำความเข้าใจในเรื่องความเป็นผู้นำ 6 สไตล์ที่ว่าไปแล้ว ข้อที่ควรใส่ใจก็คือเราท่านที่ต้อง Deal กับผู้นำ จะต้องวิเคราะห์บุคลิกภาพความเป็นผู้นำของเขาให้ออก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการทำงานกับเขามากที่สุด อย่าไปคิดว่า ปล่อยเขาไปเถอะ ในโลกของการทำงานจริง คุณจะต้องบริหารทั้งเจ้านายและลูกน้องทั้งสองทางเลยครับ
เมื่อเรารู้สไตล์ผู้นำของเขาแล้ว เราก็จะพอทราบว่า เขามีบุคลิกลักษณะอย่างไร จุดดีจุดด้อยของเขาเป็นอย่างไร หรือว่าไปแล้ว ตัวตนในการบริหารงานของเขาเป็นแบบไหนนั่นเองครับ
ตัวอย่างเช่น สไตล์ของผู้นำแบบ Pacesetting หรือยึดมาตรฐานของตัวเองเป็นหลักนั้น จุเป็นคนที่ม่งเน้นการทำงานอย่างแข็งขัน ไม่ถอย ชอบลุยงานหนักให้ลุล่วง แต่ก็มีข้อเสียครับ คือ สนใจแต่งานเล็ก ๆ งานใหญ่ ๆ ไม่ค่อยเกิด (ตรงข้ามกับมิต้าครับ ประเภทเล็ก ๆ ไม่ ใหญ่ ๆ ทำ....)
ข้อมูลคุณลักษณะที่ผมสรุปมาในตอนนี้และจากตอนก่อนหน้า เชื่อถือได้ครับ เพราะมาจากงานวิจัยที่ทดลองแล้ว ไม่ต้องอาศัยดูดหงวเฮ้ง หรือต้องไปเรียนศาสตร์ด้านนี้กันเจาะจงอีก
ตัวตนในเชิงสไตล์ความเป็นผู้นำของคนคนหนึ่ง จึงผสมผสานกัน ลงตัวบ้าง ไม่ลงตัวบ้าง ขึ้นอยู่กับว่า เค้ามีบุคลิกภาพและสไตล์การเป็นผู้นำอย่างไรที่โดดเด่นกว่ากันเท่านั้น ผู้นำที่รู้จักที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ จึงควรใส่ใจเสริมจุดแข็ง กลบจุดด้อยของบุคลิกภาพ
ตัวอย่างของผู้นำที่มีสไตล์เดียวมีให้เห็นเหมือนกันครับว่าเป็นปัญหาไม่น้อย เช่น นายกเทศมนตรี พื้นที่ที่เกิดโศหนาฎกรรม 9/11 เมื่อหลายปีก่อนนั้น ชื่ออะไรจำไม่ได้ครับ เป็นพวกที่เข้มแข็งมากในการเป็นผู้นำภายในสถานการณ์วิกฤตของบ้านเมือง ผู้นำแบบนี้ จะค่อนข้างอำนาจนิยม แต่ในภาวะปรกติ ก็มีปัญหาที่ไม่ได้รับความนิยมมากนักจากชาวนิวยอร์ค ที่ต้องการผู้นำที่ประสานผลประโยชน์และประนีประนอมมากกว่า
ที่เขียนมายืดยาวนี้ ก็เป็นส่วนขยายของสไตล์ผู้นำ 6 แบบที่ว่าไปแล้ว คราวหน้ามาว่ากันต่อในตอนจบครับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : สไตล์ของผู้นำที่พาองค์การฝ่าวิกฤต (ตอนที่ 3)