ตอนนี้ ไปร่วมงานสัมมนาหรืองานอภิปรายปัญหาของการบริหารคนในภาวะวิกฤตที่ไฟน หัวข้อหนึ่งที่วิทยากรหรือองค์ปาฐก หรือผ้ดำเนินการสัมมนาเหรือเสวนา มักหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอคือ การมีภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การเพื่อชักนำ หรือจะเรียกว่า นำพาองค์การฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้
มองในทางหนึ่งแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ จัดได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ถึง กึ๋น ของผู้บริหารองค์การได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะฝีไม้งายมือของผู้จัดการ/ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ บรรยากาศในการทำงานที่ยังคงกระตุ้นจูงใจให้บุคลากรทำงาน และเกิดการมีส่วนร่วมฝ่าฝันสภาวะการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนได้อ่านผลการสำรวจภาวะผู้นำหรือสไตล์การเป็นผู้นำของ Hay Group ซึ่งได้ทำการสำรวจลักษณะของผู้นำทั้ง 6 สไตล์ พบว่ามีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้น จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจทั่วโลกเมื่อปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ราว 3,000 คน แต่ผู้นำถึงร้อยละ 41 กลับเป็นฝ่ายที่บั่นทอนผลการทำงานขององค์การลง
เมื่อผู้นำองค์การมีปัญหาที่ไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพขององค์การในการประกอบการจากสมรรถภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ ก็เป็นไปได้ยากล่ะครับที่องค์การนั้นจะประสบผลสำเร็จได้ ลำพังเพียงประคองตัวอยู่ได้ ก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้วครับ แต่จะรับมือไหวหรือไม่ในภาวะเศรษฐกิจลำบากแบบนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านผู้อ่านก็พอจะมีคำตอบในใจแล้วนะครับ
Hay Group สรุปว่า สไตล์หรือรูปแบบผู้นำ (Leadership Style) จำแนกได้ 6 ประเภทคือ
1. ผู้นำประเภทที่ชอบใช้อำนาจ หรือออกคำสั่ง (Directive)
ผู้นำประเภทนี้ชอบให้คนอื่นโดยเฉพาะลูกน้องทำตาม ชอบชี้ผิดถูกให้กับลูกน้อง รวมทั้งมีความสามารถพิเศษในการจับผิด ซึ่งส่งผลอย่างมากให้คนเก่งขององค์การอยู่ไม่ไหว ถึงกับต้องลาออกจากองค์การไป พร้อมกับที่เหลืออยู่ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปเป็นรับคำสั่งอย่างเดียว พนักงานก็จะไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
ว่ากันว่า ผู้นำประเภทนี้เป็นประเภทที่แย่ที่สุด เราควรหาวิธีการที่นุ่มนวลเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการแทนวิธีการใช้อำนาจ โดยอาจใช้การโน้มน้าวหรือการสร้างวิถีปฏิบัติของกลุ่มให้อีกฝ่ายไม่กล้ากระด้างกระเดื่องจนยอมทำตามเองจะดีกว่า
อย่างไรก็ดี ผู้นำแบบนี้ ก็ดีในสถานการณ์ที่เร่งด่วน ซึ่งต้องการการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและรวดเร็วครับ
2. ผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leader)
ผู้นำแบบนี้ เป็นพวกที่สามารถแสดงวิสัยทัศน์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานได้
อย่างไรก็ดี หลายท่านบอกว่า ผู้นำสไตล์นี้ มักจะไม่บอกรายละเอียดให้กับลูกน้องมากนักว่าต้องทำอย่างไรให้ได้ End Result เขาจะให้ลูกน้องเลือกวิธีการในการไปสู่ End Result เอง ทั้งนี้ผู้นำประเภทนี้ต้องมีความแน่ใจว่า End Result ที่ท่านต้องการนั้นจะต้องยังประโยชน์ให้กับองค์กรจริงๆ ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง และ Vision นั้นๆ ที่ท่านเสนอต้องสามารถเป็นจริงได้
3. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic/Participative)
ผู้นำประเภทนี้จะชอบฟัง และให้ทุกคนได้แสดงความเห็น และตัดสินใจตามมติมหาชนหรือความเห็นของคนส่วนใหญ่ รักการทำงานเป็นทีม และมีแนวโน้มที่ได้รับการชื่นชมจากพนักงาน เพราะเขาเป็นประเภทนักโน้มน้าว และมุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน
ว่ากันไปแล้ว เราพบผู้นำแบบนี้เนื่องมาจากตัวผู้นำเองอาจจะยังไม่มีความรู้ในงานนั้นๆ มากนัก จึงให้พนักงานทุกคนเสนอแนวคิดออกมาเพื่อเป็นการเรียนรู้งานแบบรวดเร็ว (วิธีนี้ดีสำหรับผู้นำที่เพิ่งย้ายงานใหม่)
ตอนหน้ามาว่ากันต่อเรื่อง ผู้นำอีก 3 สไตล์ที่เหลือครับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที