ได้มีโอกาสอ่านคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12-14 มีนาคม 2552 ครับ เป็นงานเขียนประกอบบทสัมภาษณ์คุณเนาวรัตน์ บำรุงจิตต์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งถือเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้นำด้านทรัพยากรดีเด่นระดับโลกหรือ HR Leadership Award 2009 จาก World HRD Congress ในเรื่อง เก่งงานแบบ CPF เรียนรู้ไร้ขีดจำกัด แล้วมีแง่คิดที่สรุปเกี่ยวกับการเป็นองค์การชั้นนำที่ประสบความสำเร็จด้านบริหารทรัพยากรบุคคลจากประสบการณ์ของ CPF มาฝากครับ
1) องค์การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น องค์การต้องมีระบบและวิธีการที่ให้ได้มาซึ่ง คนที่ใช่ หรือ The Right Persons สำหรับองค์การครับ CPF คัดเลือกคนตามนโยบาย หาคนเก่งจากแหล่งขั้นนำ โดยให้แต่ละหน่วยงานที่ต้องการมาร่วม Share กันว่า หน่วยงานต้องการคนแบบไหน
องค์การจำเป็นนะครับที่จะต้องใช้วิธีการคัดสรรคนที่เข้มงวด ที่ CPF มีทั้งการทดสอบทาง Internet การวัดไหวพริบ ความฉลาด การเป็นผู้นำ และความสำเร็จ
2) คนที่องค์การต้องการต้องเป็นพวกที่อยากทำงานในสิ่งที่ท้าทาย เป็นพวกที่มี Passion ในการทำงาน และปลูกฝังให้พนักงานในองค์การรู้ว่า คนพวกนี้เท่านั้น ที่องค์การต้องการ องค์การต้องหล่อหลอมคนให้เป็นพวกที่ชอบท้ายต่อความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาตนเอง ซึ่งองค์การก็ต้องให้การสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ของพนักงานด้วยครับ
3) มีระบบของการพัฒนาพนักงานที่หลากหลายมากกว่าการฝึกอบรม เพราะการฝึกอบรมไม่ใช่คำตอบสำหรับการสร้างการเรียนรู้ในปัจจุบัน ที่ CPF จึงใช้วิธีการสอนงานแบบพี่เลี้ยง หรือระบบ Mentor ที่ให้พนักงานเก่าสอนงานอย่างใกล้ชิดกับพนักงานใหม่ แบบ พี่สอนน้อง ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์โดยตรงคู่ขนานกับการสานสัมพันธ์ระหว่างคนเก่าที่มีความชำนาญกับคนใหม่ที่ต้องมาปรับตัว และผสานความสามารถเก่าที่มีในตัวของคนใหม่
4) ปลูกฝังถ่ายทอดการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการสร้างการยอมรับจากคนอื่น
5) มีการทดลองให้พนักงานสร้างความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง และเรียนรู้ที่จะสร้างความสำเร็จผ่านการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง CPF มององค์การว่าเป็นเหมือนห้องสมุดและโรงเรียนที่สร้างความสำเร็จให้กับพนักงาน อันนี้น่าสนใจมากครับ
6) ผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงาน อันนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปทั้งในภาคทฤษฎีของการเป็นผู้นำ และบทเรียนของการเป็นผู้นำ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียบเรียงครับ
7) ดูแลคนให้ดี ทั้งเรื่องค่าตอบแทน และความเป็นอยู่ ก็เป็นเรื่องของการธำรงรักษาคนนั่นหล่ะครับ ที่ CPF แม้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ องค์การก็ยังใส่ใจว่าพนักงานก็ยังต้องการการบำรุงขวัญกำลังใจไม่แตกต่างไปจากในขณะเวลาที่เศรษฐกิจดี องค์การไหนที่คอยแต่ละลดเงินเดือนพนักงาน ไม่สนใจขวัญกำลังใจของพนักงานในภาวะเช่นนี้ จะยังคาดหวังให้คนทำงานให้เกิดประสิทธิภาพของงานได้ดั่งใจหรือครับ
เป็นยังงัยครับ องค์การนี้ HRD ของเขาน่าสนใจมาก ลองเอาไปปรับใช้ดูนะครับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที