บทเรียนที่ 4 ผู้บริหารต้องทำงานร่วมกับพนักงาน อย่ามุ่งแต่สั่งให้พนักงานทำ
ตามสายการบังคับบัญชา ไม่แปลกอะไรที่ท่านจะใช้อำนาจเชิงการบริหาร (managerial power) สั่งการให้ลูกน้องทำงานในสิ่งที่ท่านคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องทำ และยากให้ทำ เพราะท่านบอกว่า มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลงานสูงสุด
แต่...จะดีกว่าหรือไม่ ?
หากจะทบทวนเรื่องนี้สักนิด เพราะการสั่งให้พนักงานทำ ทำ แล้วก็ทำนั้น ไม่เป็นเรื่องที่เกื้อกูลให้การบริหารผลการปฏิบัติงานสำเร็จได้เลย และรังแต่จะสร้างบรรยากาศที้ไม่ดีในการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างม่านกับลูกน้องจะอีอย่างไรครับ
หากท่านคิดว่า ท่านมี Idea ที่ดี (เพราะท่านแจ่มแจ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือได้รับคำชี้แจงมาจากใครคนหนึ่งคนใด) แล้วคิดว่า การทำงานต้องทำตามนี้ จึงจะเกิดผลดี แล้วไปสั่งให้พนักงานทำ จากนั้นก็ควบคุมว่า พนักงานได้ทำตามที่สั่งหรือไม่ เป็นอย่างนี้แทบทุกครั้งไป พอสิ้นปี หรือเมื่อถึงรอบเวลาก็ประเมินผลงานของลูกน้องว่าทำได้ ดั่งใจ กี่ครั้ง ท่านคิดว่า วิธีการนี้ ดีหรือเปล่า....
หลายท่านที่ผมเคยถามตอบว่า ไม่ดี ...ใช่ครับ... วิธีการนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะการปรับปรุงผลการทำงานให้ดีขึ้นนั้น ต้องอาศัยมุมมอง+ความรู้+ประสบการณ์ทั้งของพนักงานและมุมมอง+ความรู้+ประสบการณ์ของผู้บริหารประกอบกัน ผสมผสานกันแล้วให้พนักงานนำไปปฏิบัติ
การให้พนักงานเข้ามีส่วนร่วมเสียตั้งแต่ต้น และทุกกระบวนการของการบริหารผลการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน หรือชั้นตอนใดใด จึงเป็น Success Factor ตัวหนึ่งของการนำระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ (ไม่เชื่อคงต้องลองทำวิจัยหาความสัมพันธ์ดูครับ)
นอกจากนี้ การให้พนักงานเข้าร่วมตั้งแต่ต้นกระบวนการ ไปจนถึงท้ายกระบวนการ จะทำให้ท่านได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่อย่างครบถ้วน และเป็นการบอกให้พนักงานได้รู้ว่า ท่านเห็นคุณค่าในความรู้ความสามารถของเขา พนักงานก็มักจะตื่นตัว และกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น ท่านก็เพียงแต่เสริมแรงให้พนักงานเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความรับผิดชอบที่มากขึ้น ผลงานที่ดีก็จะเกิดขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็น
Bacal เสนอว่า มุมมองที่ผู้บริหารควรจะต่อพนักงานเพื่อให้เอื้อต่อความสำเร็จของการบริหารผลการปฏิบัติงาน คือ
1) อย่าใช้มุมมองของตัวเองคนเดียวเมื่อต้องการปรับปรุงผลงาน
2) ไม่ต้องลงรายละเอียดมันซะทุกเรื่องทุกขั้นตอน แต่ควรทำความเข้าใจต้นตอของปัญหาให้ชัดเจน และให้ความช่วยเหลือพนักงานเพื่อแก้ไขปัญหานั้นอย่างใกล้ชิด
3) เคารพและปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะผู้ที่เชี่ยวชาญในการทำงานตามหน้าที่การงานของเขา ตราบเท่าที่เขายังสามารถ... เว้นเสียแต่เมื่อใดที่ท่านไม่แน่ใจ ท่านก็จะต้องคอยเสริมให้ดีขึ้น เช่น อาจจะสอนงานเขา หรือส่งไปฝึกอบรมและติดตามผล เป็นต้น
4) รับฟังข้อเสนอแนะของพนักงาน ซึ่งก็ไม่ได้ผูกมัดให้ท่านต้องทำตาม หรือต้องตัดสินใจตามนั้น แต่การรับฟังจะแสดงให้เห็นว่า ท่านให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของพนักงาน
5) พยายามให้แน่ใจว่าพนักงานมีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเป้าหมายและปัญหาในงาน/ปัญหาของหน่วยงาน และเคลียร์ให้ได้ว่า พนักงานเชื่อมโยงเป้าหมายส่วนตัวของเขา เข้ากับเป้าหมายของหน่วยงานได้
6) ถามมากกว่าบอกหรือสั่ง โดยเน้นการถามพนักงานถึงความคิดเห็นของเขา เป้าหมายของเขา วัตถุประสงค์ของการทำงาน และคำถามอะไรก็ได้ที่ช่วยเสริมให้เขาประเมินตัวเองเพื่อที่จะปรับปรุงการทำงานได้
7) ฟังพนักงานและตอบสนองพวกเขา รับปากและทำให้ได้ว่าท่านจะช่วยเขาปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น
ในตอนหน้ามาว่ากันต่อในบทเรียนที่ 5 ครับ...
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที