ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 988670 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 12 ศาสตร์ของการบริหารงาน (2)(Paul R. Krugman )"QC Story"

ตอนที่ 39

วันที่ 12

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management) (2)

(Paul R. Krugman)"QC Story"

พอล โรบิน ครุกแมน (Paul Robin Krugman)

          เกิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์  ..2496  ที่เมือง ลองไอส์แลนด์  รัฐนิวยอร์ก  (Long Island , New York )  เป็นบุตรของ David and Anita Krugman เชื้อสาย Jewish มีภรรยาชื่อ Robin Wells …ปัจจุบัน (2552) ครุกแมนมีอายุ 56 ปี…เขาจบมัธยมจาก John F. Kennedy High School, Bellmore  และสำเร็จปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เมื่อปี 2517…….และในปี2520 ได้จบระดับปริญญาเอกที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ขณะที่มีอายุเพียง 24 ปี   เขาเริ่มทำงานเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford University) ,  MIT (Massachusetts Institute of Technology), เยล (Yale University ,UC Berkeley ,  London School of Economics) และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ MIT (Ford International Professor of Economics), และมาเป็นอาจารย์ที่ Princeton University ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน                                                                 

ผลงานและความสำเร็จของครุกแมน

          ในช่วงปี 2525 ถึง 2526  ได้เป็น staff member ของ Council of Economic Advisers ที่  Reagan White House  และเป็นสมาชิกของ G -30 ( Group of Thirty International  Economic) หรือที่รู้จักในนามของ…….          ……Council on Foreign Relations …..และตั้งแต่ปี พ..2522 ได้ร่วมงานวิจัยกับ……….National Bureau of        Economic Researchและในปี 2534 ครุกแมนได้รับรางวัล  John Bates Clark Medal  จากสมาคมเศรษฐศาสตร์  แห่งสหรัฐอเมริกา (American Economic Association) เป็นรางวัลที่ให้แก่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของอเมริกา รุ่นอายุไม่เกิน 40 ปี …และในปีที่แล้ว (13 ตุลาคม 2551)  คณะกรรมการรางวัลโนเบล ก็ได้มอบรางวัลโนเบล สาขา เศรษฐศาสตร์1 ประจำปี 2551 ให้แก่ พอล โรบิน ครุกแมน จากผลงาน ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (international trade theory) และเศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ (economic  geography)          

          ครุกแมน มีความสนใจวิชาเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ เขาเริ่มเขียนหนังสือ และบทความทางวิชาการ เกี่ยวกับทฤษฎีและงานวิจัยเชิงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์  มีผงงานเขียนทางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นจำนวนมากอาทิเช่น  Purchasing Power Parity: Another Look at the Evidence  ลงใน Journal of International Economics และ A Model of Balance-of-Payments Crisis  ลงใน Journal of Money, Credit and Banking (2520)    เพราะครุกแมน  ยอมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทุกแง่ทุกมุมกับผู้รู้ในหลายสาขา ทำให้เขากล้าที่จะแสดงวิสัยทัศน์ เชิงวิจารณ์ระบบเศรษฐกิจในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจของเอเชีย ที่เขาทำนายล่วงหน้าไว้ก่อนปี 2540 เขากล้าวิจารณ์ นโยบายของรัฐบาล ของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George Walker Bush) ตามสไตล์ของเขาอย่างเข้มข้น   และได้เขียนคอลัมน์ลงในหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ (The New York Times)……..ผลงานล่าสุดคือ… The Great Unraveling : Losing Our way In the New Century…เป็นผลงานชุดที่ 8…….และหนังสือเศรษฐวิบัติ (The Return of Depression Economics)…….ที่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2540 -2542   ที่ส่งผลไปทั้งในยุโรปและเอเชีย  ในเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบ กับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกโดยตรง      เกิดกับ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และธุรกิจภาคเอกชนทั่วไป  ในขณะที่ยุโรปก็ประสบกับภาวะการเงินผันผวนเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่  ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในสภาวะถดถอย  หุ้นราคาตก และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย  และได้อธิบายรายละเอียด ของคำว่า….ระบบเศรษฐกิจ….การเจริญเติบโตและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้…. และการฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ต่างๆนั้นมีอยู่ทางเดียวคือ การรู้จักระบบและกลไกของเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งนั่นเอง !

            ในปี 2520 ครุกแมน ออกบทความ ชื่อ Increasing Returns, Monopolistic Competition and International Trade  ตีพิมพ์ใน Journal of International Economics และอีกกว่า 10 บทความทางวิชาการของเขาได้รวบรวมไว้ใน…..Rethinking International Trade ในปี 2533…. นักเศรษฐศาสตร์ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีเหล่านี้ จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในและต่างประเทศ  เรียกว่า …ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศใหม่ ….New Trade Theory ….ได้มีการนำเสนอและเผยแพร่ ทฤษฎีการค้าใหม่นี้กันอย่างกว้างขวาง ….จนเป็นที่ยอมรับในแวดวง เศรษฐศาสตร์การค้าและการเงินระหว่างประเทศ                

              คำศัพท์ทางการค้าที่ใช้อธิบายความหมายและทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ                       
( International Trade
Theory )

Inter-commodity / Inter-industry  : การค้าระหว่างประเทศในสินค้าที่มาจากต่างสาขาการผลิต                                    
Intra-industry Trade : การค้าขายกันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกัน                                                                   
Differentiated products : สินค้าที่มีความแตกต่างหลากหลาย อาจจะเป็นสินค้าประเภทเดียวกันก็ได้                       
 
Firm :
หน่วยผลิตที่ผลิตสินค้าได้ครั้งละมากๆ                                                                                                  
Internal and External Economics of Scale :  การรวมหน่วยการผลิตของขนาดการผลิตที่ใหญ่มารวมกันในรูปอุตสาหกรรม ทำให้ค่าการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วย ลดลงได้ในระยะยาว                                                                         
Increasing returns : เป็นคำศัพท์เทคนิคทางเศรษฐศาสตร์ของ internal and external economics of scale
Monopolistic competition
: ประโยชน์จากการค้าเสรี ที่ประเทศคู่ค้าได้รับ ในด้านผู้บริโภคจะมีโอกาสเลือกสินค้าได้หลากหลาย  และมีราคาถูกกว่า กรณีที่ไม่มีการค้าเสรีของคู่ค้า ( เป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด )         
Speculative attack with fundamental weakness
: การโจมตีค่าเงินอันเนื่องมาจากความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ                                                                                                                                       
Intensive Growth :  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต                                          
Extensive Growth :  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มปัจจัยการผลิต                                                              
At threshold value :  จุดที่เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงมากพอดี ที่นักเก็งกำไรจะโจมตีค่าเงินแล้วทำให้ได้กำไรจนเงินสำรองระหว่างประเทศหมด  และธนาคารกลางก็ต้องลดค่าเงิน ตามที่นักเก็งกำไรคาดไว้ล่วงหน้า                                                                                                                                             
Productivity :   การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต                                                                                        
Labor productivity : ประสิทธิภาพของแรงงานใช้ในการผลิต                                                                         
Comparative advantage :
การค้าที่มีความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ                                                           
International trade theory  : ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ และ เศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์                                       
Economic  geography :   
เศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์                                                                                                
Economies of scale : มีลักษณะการผลิตที่มีความประหยัดจากขนาดของการผลิต                                                   
Market structures : โครงสร้างการตลาด                                                                                                      
Urbanization : ความเป็นเมือง เป็นการเกิดขึ้นของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก                                                           
Constant returns to scale : กระบวนการผลิตเป็นแบบผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ ไม่มีผลต่อการประหยัดจากการขยายการผลิต                                                                                                                                           
Increasing returns to scale
: กระบวนการผลิตที่มีผลตอบแทนต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น ภายใต้การประหยัดต่อขนาดการผลิต                                                                                                                                             
 
Liberal : การเมืองแบบเสรีนิยม                                                                                                                              
Economic system :
ระบบเศรษฐกิจ เป็นการรวมตัวของบุคคลที่เป็นกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจหลากหลายสาขาโดยมีการปฏิบัติไปในทางเดียวกัน  เพื่อประกอบกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ สนองความต้องการของคนโดยทั่วไป                                                                                                                                                                    
 
Laissez-faire or capitalism :
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม เป็นระบบที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเสรี โดยอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศ
Communism : ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรและปัจจัยการผลิตทุกชนิด  ภาคเอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นๆ   กลไกราคาไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้
Socialism  : ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่รัฐจะให้เสรีภาพแก่ประชาชน  โดยเอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน พร้อมทั้งบริหารตลาด ด้านราคา ภายใต้เหตุ และผลบางส่วน                                                                                
             

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศแบบเดิม ( International Old Trade Theory)

            แอดัม สมิธ (Adam Smith) ,(2266-2333) เป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ชาวสกอตแลนด์  เป็นผู้เปลี่ยนแนวความคิดสู่ ยุคใหม่ให้กับชาวสกอตที่เรียกว่า…..ยุคสว่างของสกอตแลนด์ (Scottish Enlightenment)…. เป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดแนวความคิดตลาดเสรี   และเป็นเจ้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิ…ตลาดเสรีนิยม…เขาเชื่อว่าสิทธิ์ของบุคคลสามารถที่จะสร้างอิทธิพลจนเกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจด้วยตนเองได้อย่างเสรี….โดยไม่จำเป็นที่ต้องอยู่ภายใต้สมาคมอาชีพหรือของรัฐบาลใดๆ  ซึ่งทฤษฎีของสมิธนี้ เองทำให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และความคิดด้านเศรษฐศาสตร์แบบเดิม ขยายไปทั่วทั้งยุโรป และเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่….ระบบการค้าเสรีโดยผู้ประกอบการ….สามารถรวมตัวกันได้ในการทำการค้า เขาได้รับการยกย่องให้เป็น…บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์        

          เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo),( 2315 – 2366 ) ได้เสนอทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ…เรียกว่าทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Theory of Comparative Advantage) เขาเป็นผู้เสริมแนวความคิดของ            แอดัม สมิธ….โดยกำหนดให้แรงงานเป็นปัจจัยเดียว ที่ใช้ในการกำหนดต้นทุนในการผลิต และประสิทธิ        ภาพของแรงงาน (labor productivity)….เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) ….โดยแสดงให้เห็นว่าการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น….โดยประเทศผู้ส่งออกไม่จำเป็นที่จะต้องได้เปรียบโดยสมบูรณ์เสมอไป…ในการผลิตสินค้าที่ส่งออกนั้น…ต้นทุนของการค้าระหว่างประเทศ…ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ที่ประเทศผู้ส่งออกมีเหนือประเทศคู่ค้า….แต่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างโดยเปรียบเทียบในต้นทุนการผลิต (The Comparative Cost) ของประเทศทั้งสอง นั่นคือ              ประเทศใดที่ผลิตสินค้า…ชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนเชิงเปรียบเทียบ…ที่ต่ำกว่าประเทศคู่ค้า…ประเทศนั้นก็สมควรเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่ผลิตนั้น…. เพื่อไปแลกกับสินค้าที่ประเทศคู่ค้า…ผลิตแล้วต้นทุนเชิงเปรียบเทียบต่ำกว่า

             เอลิ เฮกส์เชอร์ (Eli Heckscher) , (2422-2495) และ เบอร์ทิล โอลิน (Bertil Gotthard Ohlin),(2442-2522) นักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดน…ทั้งสองได้ขยายทฤษฎีการค้าของริคาร์โด โดยอธิบาย ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบว่า….เป็นผลมาจากความแตกต่างของประสิทธิภาพของแรงงานและยังเป็นผลมาจาก….ความแตกต่างของปริมาณปัจจัยการผลิตของแต่ละประเทศ (factor endowment)….เรียกทฤษฏีนี้ว่า…Heckscher-Ohlin Theory…หรือ…Factor-Proportions Theory…จากความแตกต่างกันในเรื่องเทคนิคการผลิตหรือปัจจัยการผลิตก็ตาม…. ที่ทำให้แต่ละประเทศมีความได้เปรียบโดยวัดจากต้นทุนและราคาที่ต่ำกว่า….ซึ่งนำไปสู่ความเชี่ยวชาญ (specialization) ….ประเทศที่มีความชำนาญด้านใดจะส่งออกสินค้านั้น ในขณะที่จะนำเข้าสินค้าที่ตนเองไม่ถนัดและเสียเปรียบ

 

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของครุกแมน ( New Trade Theory)

           ครุกแมน พยายามที่จะหาจุดบางอย่างที่ยังขาดอยู่ของ….ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ….ที่วิเคราะห์การค้าระหว่างประเทศ….จากความแตกต่างของประสิทธิผล ของปัจจัยการผลิต…คือแรงงานและทุน….หรือความต่างกันของปัจจัยทั้งสอง…ที่ประเทศคู่ค้ามีอยู่ …..เขายอมรับว่าทฤษฎีการค้าดังกล่าวใช้อธิบายการค้าระหว่างประเทศได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น…..แต่ยังมีสินค้าที่ส่งออกและนำเข้า  อีกร้อยละ 25…… ที่ไม่สามารถใช้ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ นี้อธิบายได้ …..ก็เพราะเป็นการค้าขายกันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกัน (intra-industry trade) ครุกแมนและทีมงานได้ใช้ทฤษฎีการค้าใหม่ (New Trade Theory) เพื่ออธิบายเหตุการณ์ ดังกล่าวได้  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่อยู่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้การค้าเสรี และประเทศคู่ค้า จะเป็นทั้งผู้ส่งออกสินค้าประเภทเดียวกัน….ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นผู้ นำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศคู่ค้าได้ด้วย

           ครุกแมน  อธิบายเป็น2 ประการ…..ประการแรก คือมาจากความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค สินค้า  จากการมีรสนิยม/ ความต้องการ / ความประหยัด / หรือด้วยเหตุผลส่วนตัว อีกมากมาย ก็เป็นไปได้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีสินค้าประเภทเดียวกันแต่หลากหลายยี่ห้อ (differentiated products) เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่างๆเป็นต้น……ประการที่สอง เมื่อคู่ค้าสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่ต่างกันมากๆ ก็เป็นจุดแข็งและได้เปรียบการแข่งขันด้านราคา นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า….การประหยัดจากขนาดการผลิต (economics of scale)…. เป็นการผลิตสินค้าได้ปริมาณมาก ในกระบวนการผลิตที่ประหยัด ทั้งเวลาและวัสดุที่ใช้ในการผลิต ทั้งหมดจะมาจาก ประสบการณ์ ในการผลิตสินค้า  ที่มีการปรับปรุงและพัฒนา มาอย่างต่อเนื่องของทุกหน่วยผลิตมารวมกัน…. ทำให้ค่าการผลิตเฉลี่ย ต่อหน่วยลดลงจนเป็นปกติ (internal and external economics of scale) โดยมีชื่อเรียกทางเศรษฐศาสตร์ว่า …increasing returns…                                                             

           ครุกแมน  กล่าวว่า ตลาด สินค้าที่มีการค้าระหว่างประเทศ…แบบขายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกัน (intra-industry trade) ที่ใช้ทฤษฎีการค้าใหม่ (New Trade Intra-industry Theory ) มีแนวโน้มของตลาดไปในทางที่ไม่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์.…..ต่างไปจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การค้าแบบเดิม…ที่ต่างกำหนดให้ทำการค้าอย่างเสรี…โดยมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ในตลาดการค้าระหว่างประเทศ….ในขณะที่ผู้ผลิตสินค้าประเภท  Intra-industry trade มักจะทำกำไรเพิ่มพูนขึ้นได้…. จากการผูกขาดโดยการกำหนดของระบบ……และจากการประหยัด ของขนาดการผลิตตามประเภทของสินค้า..…ที่ทำให้ค่าผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยสินค้าลดลง

          อย่างไรก็ตาม ก็มีแบบจำลองย่อยภายใต้ intra-industry trade ที่หลากหลายเช่นกรณีแบบจำลอง monopolistic competition ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศคู่ค้าทั้ง 2 ประเทศจะได้ประโยชน์จากการค้าเสรี แต่ประโยชน์ที่ได้มาจากการที่ผู้บริโภค สามารถเลือกสินค้าชนิดต่างๆ ได้มากขึ้น….และมีราคาถูกลงกว่าภายใต้กรณีที่ไม่มีการค้าระหว่างประเทศแบบเสรี….การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลต้องมีความเข้าใจในทฤษฎีแบบนี้…..โดยต้องรู้ถึงรายละเอียดและข้อมูลทางอุตสาหกรรมของคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับ….increasing returns

           สรุปผลงานของ ครุกแมน  ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล ในปีที่แล้วนั้น…. เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (international trade theory) และ เศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ (economic geography) เขาได้ผสมผสาน ทฤษฎีทั้งสอง…ให้อยู่ในแนวความคิดร่วมกัน 3 ประการ คือ…1. กระบวนการผลิตที่มีขนาดการผลิตที่…มีความประหยัดจากขนาดการผลิต (economies of scale)…2. มีโครงสร้างการตลาด (market structures) ที่เป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) และ …..3. ประชาชนสามารถเลือกบริโภคสินค้าได้หลากหลาย  ตรงกับความต้องการของตนเอง….. และ ครุกแมน ยังได้อธิบาย ลักษณะการพัฒนาที่เป็นต้นแบบแสดงปัจจัย…..นำไปสู่การเกิดขึ้นของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก (urbanization) และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์

          ครุกแมน มีชื่อเสียงในเอเชียในช่วงเกิดวิกฤติ ตุ้มยำกุ้งในปี .. 2540  เขากล่าว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ จำเป็นต้องดู และลงลึกไปในรายละเอียดของปัจจัยมูลฐาน…ให้ชัดเจน ถึงแม้ว่าทั้ง World Bank และ IMF จะชื่นชม และแนะให้นำไปเป็นตัวอย่างแก่ภูมิภาคอื่นๆก็ตาม…แต่ในที่สุดก็ต้องประสบกับปัญหาจากวิกฤติต้มยำกุ้งอยู่ดี ……และในปี 2548 ครุกแมนได้รับเชิญมาเมืองไทยเพื่อบรรยายในหัวข้อ …Warn System : Positioning of Thailand & South East Asia….จัดโดย เจ้าของนิตยสาร Positioning  ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก ซึ่งเกี่ยวโยงต่อความเป็นไปในเศรษฐกิจ ของเอเชียและของประเทศไทย……ว่าสหรัฐอเมริกาก็มีโอกาสที่จะเกิดวิกฤติได้เช่นเดียวกัน…อันสืบเนื่องมาจาก……การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะหยุดชะงักลง…เพราะเกิดการเก็งกำไร ในภาคอสังหาริมทรัพย์มาก จนทำให้บ้านและที่ดินมีราคาราคาสูงขึ้นเกินความเป็นจริงกว่า 50% ….โดยมองข้ามภาคต่างประเทศที่สามารถ…สร้างความสมดุลให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศของสหรัฐอเมริกาควบคู่กันไปด้วย…..โดยเฉพาะต้องจับตาประเทศที่ได้ดุลการค้ากับประเทศสหรัฐอเมริกามากๆ  ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น…..ครุกแมน ไม่เน้นในรายละเอียดของ  สภาวะวิกฤติ…ซับไพร์ม (subprime)…(สภาวะที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีเครดิตทางการเงินต่ำกว่ามาตรฐาน)….ที่อาจเกิดขึ้นแก่ภาค อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว …..แต่เขากล่าวสั้นๆว่า….ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหยุดสภาวะฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกาโดยเร็ว…มิเช่นนั้นก็อาจจะเกิดวิกฤติของระบบเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหนึ่ง……ผมครุกแมนไม่เกิน2 ปีข้างหน้าครับ!…..และแล้วก็เกิด แฮมเบอร์เกอร์ไครซิส(Hamburger Crysis)ในที่สุด
           ครุกแมน เป็นผู้ที่เหนียวแน่น และมั่นคงกับการเมืองแบบเสรีนิยม (liberal)  และมีแนวความคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมนี้มาก  และต่อเนื่องมาโดยตลอดจนทำให้เขามักจะออกมาตอบโต้ พร้อมแสดงความเห็นที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับแนวนโยบายเศรษฐกิจของ…อดีตประธานาธิบดี  จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George Walker Bush) แห่ง Republican ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม อนุรักษ์นิยม (conservative) …..ครุกแมน จัดว่าเป็นผู้ที่มี CSR สูงมากจนสามารถแสดงความคิดเห็นทั้งทางด้านการเมืองและทางเศรษฐกิจได้อย่างเฉียบคมทุกๆครั้งที่มีการออก เอกสาร / การบรรยาย เผยแพร่สู่สาธารณะชนทั่วไป

 

/////////////////////////////////////////

12/9/2552


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที