ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1017237 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 8 ศาสตร์ของการบริหารงาน " PDCA Cycle / Deming Cycle (-1-)"

ตอนที่ 23

วันที่ 8

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management)

" PDCA Cycle / Deming Cycle" (-1-)

 

1. ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง(Dr. W. Edwards Deming):

           ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง (Dr. W. Edwards Deming) เป็นนักสถิติชาวอเมริกัน  และเป็นศาสตราจารย์ สอนในมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York University : NYU) ราวปี พ.ศ. 2484  เขายังไม่ได้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักคิดทฤษฎีคุณภาพของชาวอเมริกาเลย….แต่มาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ ปี พ.ศ. 2488  ประเทศญี่ปุ่นได้เชิญ ดร.เดมมิ่ง กับ โจเซฟ เอ็ม จูแรน (Joseph M. Juran) เป็นฝ่ายพันธมิตร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพและการใช้วิชาสถิติ มาฟื้นฟู…เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้พ้นจากสถานการณ์วิกฤติภายหลังสงคราม….ได้ทำงานร่วมกับสมาคมนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรของญี่ปุ่น           ( Union of Japanese Scientists and Engineers : JUSE ) เพื่อ ส่งเสริมและฟื้นฟู การใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการพัฒนาอุตสาหกรรม และวัฒนธรรมภายหลังสงคราม                                                                              

            จากแนวความคิดของ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท (Walter A. Shewart) จากหลักความคิดของการวางแผน (Plan) – ทำ (Do) – ติดตามผลงาน (Check) ดร.เดมมิ่งได้พัฒนา มาเป็นหลักการด้านคุณภาพของวงรอบ…PDCA (Plan - Do – Check - Action) โดยเป็นแนวบริหารในรูปของ…TQM (Total Quality Management) หรือการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม…..จากความร่วมมือและการพัฒนาหลักการบริหารงานที่ดีของสมาคม JUSE กับทีมผู้เชี่ยวชาญ ของ…ดร.เดมมิ่ง กับ โจเซฟ เอ็ม จูแรน…จึงทำให้ญี่ปุ่นมีการพัฒนาคุณภาพกันอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 20 ปี…เกิดแนวคิดทางด้านเทคนิคในการบริหารเชิงคุณภาพ และปรัชญามากมายหลายหลักการ เช่น Fish Bone Diagram , Taguchi , QCC , CWQC เป็นต้น

           ในระหว่างปี พ.. 2493 – 2503 เป็นช่วงที่สหรัฐยอมรับและมีการพัฒนาทฤษฏีต่างๆ ของ ดร.เดมมิ่ง และดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท กันอย่างกว้างขวาง เปรียบได้ว่าเป็นยุคของ  การบริหารคุณภาพแบบองค์รวม ( TQM )  ในปี 2499 ที่อเมริกาได้ก่อตั้งสมาคมควบคุมคุณภาพหรือ (American Society For Quality Control : ASQC )  เพื่อทำหน้าที่ดูแลงานด้านมาตรฐานคุณภาพ…..ซึ่งช่วยให้มีการพัฒนาศาสตร์ทางด้านนี้ทั่วทุกวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในอเมริกา เช่น TQC  , QA ,COQ ,  Reliability/Availability Engineering เป็นต้น

2. PDCA Cycle / Deming Cycle:

            ดร.เดมมิ่ง  ได้พัฒนาวงจร PDCA มาจากวงจรของ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท จึงมีชื่อว่า

วงจร เดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงาน ขั้นพื้นฐาน ตามหลักของการพัฒนาคุณภาพระบบองค์รวม (Total Qaulity Management : TQM) และจากแนวความคิดที่ตรงกับความหมายของวงจร ที่ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท  ผู้ที่คิดค้นไว้นั้น….ควรจะเป็น PDSA ( Plan-Do-Study- Act )….ทั้ง PDCA / PDSA…เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อ…สร้างระบบการผลิตให้…สินค้ามีคุณภาพดี  / การให้การบริการดี  / หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยใช้ได้กับทุกๆสาขา วิชาชีพแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของ….มนุษย์ก็สามารถเทียบเคียงให้เป็นไปตามขั้นตอนของวงจร เดมมิ่งได้……ในแง่ที่ใช้ในการผลิตสามารถ….แสดงความสัมพันธ์ของการออกแบบ ผลิต จำหน่าย และการวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ…ในปัจจุบันวงจรเดมมิ่งได้ถูกนำไปใช้และพัฒนาในด้านต่างๆมากมายเป็นลำดับ….จนกลายเป็นวงจร PDCA ที่ใช้เป็นหลักในการบริหารงานอย่างแพร่หลาย แทบทุกองค์กร ทุกๆส่วน และทุกๆระดับพนักงานขององค์กร
                                                                   

PDCA ( Plan-Do-Check-Act )  


90275_Picture16.jpg

 

 รูปแสดง  PDCA-Deming Cycle

 

วงจรเดมมิ่งหรือ PDCA Cycle ….ภายใต้การทำงานเป็นทีมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง….ใน 4 ขั้นตอนหลักของ….P – D – C –A….ดังต่อไปนี้
P–(Plan) คือการวางแผน…โดยมีวัตถุประสงค์…เป้าหมาย…แผนงาน/กระบวนการ/วิธีการ…ระยะเวลา…บุคคลากรทรัพยากร / อุปกรณ์ / เครื่องมือ และงบประมาณ หรือ….5W / 1H (what ,where ,who, when ,why  & how…. คือ…ทำอะไร...ทำไมจึงทำ…ทำอย่างไร….ทำโดยใคร…ทำเมื่อไร…ทำด้วยงบเท่าไร)
D- ( Do) คือการปฏิบัติงาน….มีความเข้าใจ และทำตามแผนงานที่วางไว้…ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
C- (Check) คือการตรวจสอบ…มีการติดตามผลและความก้าวหน้าของงาน…เก็บสถิติเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมิน และเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้
A- ( Act ) คือการดำเนินการ…นำผลของการปฏิบัติงาน พร้อมข้อมูลทางสถิติ มาประเมิน และจัดทำแผนงานและคู่มือในการทำงาน….กรณีที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ ไขก็ต้องกลับมาดูแผนและวิธีการทำงานเดิม ก่อน แล้วจึงหาวิธีการปรับปรุงแผนงานใหม่…จนเป็นไปตามแผนจึงจะจัดทำเป็นมาตรฐานต่อไป…

3. สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติตามวงจร PDCA:
- มีการปฏิบัติงาน / ปรับปรุง ตามระบบบริหารคุณภาพองค์รวม TQM อย่างต่อเนื่อง
                                                    
- มีการปรับปรุงระบบการผลิต / การให้บริการ / การจัดการโครงการ และการจัดการการตลาด                                                   
- ช่วยให้ทุกคน/ทุกฝ่าย/ทุกระดับ ในองค์กร…ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ…มีผลงานดีมีคุณภาพ
- มีการพัฒนาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเพิ่ม/พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ในการทำงาน                             
- มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมา และเพิ่มพูนประสิทธิภาพ /คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้น
- ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆขึ้นมา

 

 

                                                                   

 

 

 

 

 

 

/////////////////////////////////////////

27/6/2552

 

 

 

 

 

 

บทส่งท้ายของตอนที่ 22: ISO9001:2000  Chart

            มาตรฐานระบบการบริหารคุณภาพ  ISO9001:2000  โดยใช้หลักพื้นฐาน 4 ข้อ ตามที่ได้กล่าวในตอนที่แล้ว คือ….ความต้องการของผู้ใช้ (Customer Requirement)….วางแผนใช้การจัดการที่ดี ( Management Planning)….กระบวนจัดการขององค์กรเพื่อควบคุมการให้บริการ/การผลิต (Process Control System)….และสินค้า/การบริการ ถูกใจผู้ใช้  (Customer Contentment)….สรุปเป็นchart ดังแสดงตามรูปที่ 1,2 และ 3

90275_ISO.jpg
90275_ISO 2-1.jpg
90275_ISO 2-2.jpg



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที