CXO.Asia

ผู้เขียน : CXO.Asia

อัพเดท: 21 ต.ค. 2006 00.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6439 ครั้ง

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่า มนุษย์เราทุกคนล้วน มาจากธรรมชาติในตอนแรก
และต้องกลับสู่ธรรมชาติในต้อนท้าย อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกัน

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่าทุก ระบบเศษฐกิจ และ หลักเศรษฐศาสตร์นั้น
เมื่อเดินทวนขึ้นไปต้นน้ำ เพื่อดูจุดเริ่ม จะเห็นว่า
ล้วนเกิดมาจาก ของมนุษย์เรา
ล้วนเกิดมาจากความอยาก ของมนุษย์เรา

เกิดขึ้นเพื่อ ตอบสนองความอยาก ของมนุษย์เรา
ซึ่งความอยากนั้น เริ่มจากปัจจัยสี่ ในตอนแรก
ไปจนถึงปัจจัย ห้า หก เจ็ด ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ในปัจจุบัน


ตอนที่ ๑

 

บทนำ - ที่มาที่ไปของเหตุและผล

 

มนุษย์เรานั้น ไม่ว่ายากดีมีจน เชื้อชาติ ศาสนา ยุคใด สมัยใด ก็ตาม

มักจะประสบ ปัญหาพื้นฐาน หรือความทุกข์ อันเดียวกันเสมอ เป็นเพราะเหตุใดกันแน่

 

มนุษย์เรานั้น มาจากแม่คนเดียวกัน และกลับสู่แม่ คนเดียวกันเสมอ

นั่นก็คือ ธรรมชาติ เป็นดังมารดา ของทุกสิ่ง คอยโอบกอดทุกสิ่งไว้ นั่นเอง

 

ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน นั้น

เป็นเพียงการมอง การรับรู้ การแปล ผ่านแว่นที่ต่างกัน และเกิดขึ้นมา ทีหลังทั้งสิ้น

หากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ทุกสิ่ง เหมือนกัน ตามความเป็นจริง

 

จะเห็นว่า มนุษย์เรานั้น มีความเป็นคน เท่าเทียมกัน ทุกคน ตั้งแต่เกิด

จึงไม่ควรแบ่งแยกกันโดย ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา เชื้อชาติ ยากดีมีจน ทั้งปวง

หากถอดแว่นของเราออก ก็ย่อมจะมองเห็น ความเป็นจริง ความเท่าเทียมกัน

 

เพราะเรามาจากแม่ และกลับสู่จากแม่ คนเดียวกัน

เราทุกคนจึงมีความเป็นคน เท่าเทียมกัน เราได้รับสิ่งต่างๆ จากแม่ เท่าเทียมกัน

 

ภายนอกนั้น ด้านกาย เรามีสุขและทุกข์จาก การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่าเทียมกัน

ภายในนั้น ด้านใจ เรามีสุขและทุกข์จาก ความกลัว ความอยาก ความโกรธ เท่าเทียมกัน

 

ดังนั้น ความสุขและทุกข์พื้นฐาน ของเราทุกคน จึงเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกันเลย

 

การเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมพอใจ เป็นสุขยิ่ง เมื่อความอยากต่างๆ ได้รับการตอบสนอง

การเกิดมาในฐานะมนุษย์เรานั้น ย่อมไม่พอใจ เป็นทุกข์ยิ่ง เมื่อความสุข มีอุปสรรค จืดจาง หมดสิ้นไป

 

ความพอใจ และความสุขนั้น ย่อมเกิดขึ้นมา จากมูลเหตุ ความอยากต่างๆ ตามเงื่อนไข

ความไม่พอใจ และความทุกข์นั้น จึงเกิดขึ้น จากการสิ้นสุดของ ความพอใจ และความสุข นั่นเอง

 

มนุษย์เรานั้น มักจะหัวเราะ เมื่อมีความพอใจ ในความสุข เิกิดขึ้น

แต่มนุษย์เรานั้น กลับต้องร้องให้ เมื่อความพอใจ ในความสุขนั้น ได้สิ้นสุดลง

 

ความทุกข์และความสุข ของมนุษย์เรา มีขึ้น มีลง มีเกิด มีสิ้นสุด ไปเรื่อยๆ

เป็นดุจคลื่นความสุข ความทุกข์ ในทะลอันไร้ฝั่ง ไม่มีสิ้นสุด

 

ดังนั้นใน ความสุขและทุกข์อันไม่สิ้นสุดนี้ จึงกลายเป็น ปัญหาหลัก ของมนุษย์เราทุกคน

 

จุดมุ่งหมาย ในการเกิดมาเป็น มนุษย์

 

เพื่อให้เราทุกคน ได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์

สัตว์โลกเผ่าพันธุื์อื่นนั้น มีวงจรชีวิต แค่ กิน ขี้ ปี้ นอน เท่านั้น

แต่มนุษย์เรา เป็นสัตว์โลก ที่ต่างออกไป ไม่จำเป็นต้อง กิน ขี้ ปี้ นอน อย่างเดียว

สามารถฝึก พัฒนา เพื่อเป็นผู้มีจิตใจสูง เื่พื่ิอได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเกิดมาเป็น มนุษย์ได้

 

มนุษย์เราทุกคน ย่อมเกิดมากับ พรสวรรค์โดยกำเนิด ของเผ่าพันธุ์มนุษย์

จิตใจของมนุษย์เรา เป็นดุจกล่องที่คอยเก็บ พรสวรรค์ ทั้งปวงนั้น

แต่มนุษย์เราทุกคน มักไม่รู้ มักโดนปิดกั้น โดนปิดล็อก ตามมูลเหตุ เงื่อนไข ต่างๆกันไป เช่น

ความกลัว ความอยาก ความโกรธ ความเชื่อ ศรัทธา ความงมงาย และปมในใจ ต่างๆกันออกไป

 

เมื่อใจเราโดนล็อก มีปมในใจ มีเงื่อนไข ต่างๆกันออกไป การปลดล็อก ย่อมต่างกัน ตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไข

แต่ละคนย่อมต้องค้นหา ชุดกุญแจ อันเฉพาะของตนเอง เพื่อปลดล็อก ปมในใจ ที่ต่างกันออกไป

หากเราดื้อดึง ใช้กุจแจชุดเดียวกัน เพื่อปลดล็อก ใจคนทุกคน

ย่อมไม่ตรงตามมูลเหตุ ตามเงื่อนไข ตามความเป็นจริง และย่อมเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา มากมาย

 

ชุดกุญแจพื้นฐาน เพื่อเบิกทางแก่ กุญแจชุดอื่นๆ

 

เพื่อให้เราพิจารณาและปฎิบัติจริง ต่อไปอย่าง สั้น กระชับ เข้าใจง่าย เชื่อมโยงง่าย

ใช้งานง่าย ตรวจสอบง่าย ถ่ายทอดง่าย เราต้องมี ชุดกุญแจพื้นฐาน ก่อน

 

สติปัญญา กล้าหาญ ซื่อตรง กาย วาจา ใจ  ที่ดี เข้มแข็ง บริบรูณ์นั้น

ย่อมเป็น ชุดกุญแจพื้นฐาน เื่พื่อเบิกทาง แก่กุญแจชุดอื่นๆ

เพื่อช่วย ส่องสว่าง นำทิศทาง ที่ถูกต้อง ตามจริง เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องต้น ของสิ่งต่างๆ

 

เคล็ดประจำตัว  เพื่อใช้ไขความลับ เบื้องหน้า ของสิ่งต่างๆ ว่า “ความคิด ความรู้ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ศรัทธาใด และสิ่งใดๆ

ที่เป็นของจริงแท้ ย่อมทน ย่อมเต็มใจ ย่อมเปิดกว้าง ต่อการพิสูจน์ โต้แย้ง ไม่ขึ้นกับสถานที่ บุคคล ยุคสมัยและกาลเวลา”

 

 

ภาคสาม บทที่ ๓ การหมุน การเหวี่ยง สวิง ของ เศรษกิจและเศรษฐศาสตร์

 

อันดับแรก ที่ไปที่มา ของทุกระบบเศรฐกิจ และหลักเศรษฐศาสตร์

 

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่า มนุษย์เราทุกคนล้วน มาจากธรรมชาติในตอนแรก

และต้องกลับสู่ธรรมชาติในต้อนท้าย อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ต่างกัน

 

จากบทนำ ลองพิจารณาดูว่าทุก ระบบเศษฐกิจ และ หลักเศรษฐศาสตร์นั้น

เมื่อเดินทวนขึ้นไปต้นน้ำ เพื่อดูจุดเริ่ม จะเห็นว่า

ล้วนเกิดมาจาก ของมนุษย์เรา

ล้วนเกิดมาจากความอยาก ของมนุษย์เรา

 

เกิดขึ้นเพื่อ ตอบสนองความอยาก ของมนุษย์เรา

ซึ่งความอยากนั้น เริ่มจากปัจจัยสี่ ในตอนแรก

ไปจนถึงปัจจัย ห้า หก เจ็ด ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ในปัจจุบัน

 

ลองพิจารณา การเกิดขึ้น ของระบบเศรษฐกิจ

และหลักเศรษฐศาสตร์ ของยุคต่างๆ

 

จะเห็นว่า ในยุคแรกๆ นั้น ไม่ซับซ้อนนัก

เพราะคนมีจำนวนไม่มาก และทรัพยากรธรรมชาติ ยังมีอยู่มาก

 

เพราะความต้องการ หรือ ความอยาก นั้น

สามารถตอบสนอง ได้ด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่

เมื่อพร่องไป ก็สามารถ เกิดขึ้นมาทดแทนได้ทัน

 

ผู้นำ กุนซือ หรือนักเศรษฐศาสตร์ ในยุคแรกๆ

จึงไม่ค่อย ปวดหัวมากนัก ยกเว้นว่าจะเกิด สงคราม

หรือภัยธรรมชาติ เท่านั้น

 

จะเห็นว่า จากยุคอุตสาหกรรม มานั้น เริ่มซับซ้อนขึ้น

เพราะคนมีจำนวนมากขึ้น และทรัพยากรธรรมชาติ

ยังมีอยู่เท่าเดิม แถมยังลดลงเรื่อยๆ เพราะใช้กันอย่าง ไม่บันยะบันยัง

 

ผู้นำ กุนซือ หรือนักเศรษฐศาสตร์ ในยุคนี้

จึงเริ่มปวดหัว มากขึ้น เพราะโจทย์ ไม่ค่อยหมู เหมือนเมื่อก่อนแล้ว

เศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ จึงเริ่มพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

เพื่อตอบโจทย์ของ ตอบความต้องการ แห่งยุคตัวเอง ให้ได้

 

อันดับสอง การหมุนอย่าง แรง และ เร็ว เพื่อตอบสนอง ความต้องการ

 

ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ มักจะตอบสนองความต้องการ

ของผู้คนในแต่ละชุมชน เมือง หรือระดับประเทศได้

ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ นั้นก็จะได้รับการ ยึดถือ

นับถือ ประดุจศาสนา ดุจพระเจ้า เลยทีเดียว

คือเป็นวิถีชีวิต เป็นแนวทาง เป็นความเชื่อ ของผู้คน

เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ ปาก ท้อง ปัจจัยต่างๆ

ในการดำรงชีวิต ในทุกๆวัน

 

เช่นเดียวกันที่ เงินตรา เป็นดุจตัวแทนมูลค่า

ในระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ จะได้รับการ ยึดถือ

นับถือ ประดุจศาสนา ดุจพระเจ้า

เพราะเป็นวิถีชีวิต เป็นแนวทาง เป็นความเชื่อ ของผู้คน

เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ ปาก ท้อง ปัจจัยต่างๆ

ในการดำรงชีวิต ในทุกๆวัน

 

จะเห็นได้ว่า ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ มักจะถูก

ผลักดันด้วย พลังแห่งความอยาก ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความอยาก

ว่ามากน้อย  หรือ รุนแรง เพียงใด

 

หากว่าระดับ ความอยากมากล้น รุนแรง

ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ มักจะต้องหมุน

อย่างแรง เร็ว เพื่อตอบสนอง ความอยาก

อันมากล้น รุนแรง ให้ทัน

 

หากหมุนเร็ว แรงเกินไป ผิดสมดุลย์ จะเกิดอาการเสียศูนย์

คล้ายเวลาที่เรา ขับรถเร็วเกินไป จนล้อเกือบไม่ติดถนน

พอเจออุปสรรค หรือสดุด ก้อนหินเล็กๆ ก็อาจจะเสียหลัก

เสียการควบคุม เกิดการพลิกคว่ำได้

 

จะเห็นว่าเวลา ที่รถมาเร็วเกินไป แล้วเสียการควบคุม

จนเกิดการพลิกคว่ำนั้น ไม่ว่า ผู้นำ กุญซือ หรือนักเศรษฐศาสตร์

จะเก่งกาจเพียงใด หรือมีความตั้งใจดีอย่างไร ก็ไม่อาจช่วยได้

มาถึงจุดนี้แล้ว ทุกคน คงทำได้แค่สวดมนต์เท่านั้น

ตัวอย่าง วิกฤติเศษฐกิจ อย่างทีเคยเกิดขึ้นในประเทศเรา ก็เช่นเดียวกัน

 

เช่นเดียวกัน หากระบบ ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ใด

หากหมุนเร็ว แรงเกินไป ผิดสมดุลย์ จะเกิดอาการเสียศูนย์

พอเจออุปสรรค หรือเิกิดความผิดพลาดเล็กๆ ก็อาจจะเสียหลัก

เสียการควบคุม แตก ระเบิด เป็นวิกฤติเศษฐกิจ

ที่ส่งผลความเสียหาย อย่างรุนแรง อย่างทีเคยเกิดขึ้นในประเทศเราได้

 

อันดับสาม การเหวี่ยง สวิง ไปซ้ายที ขวาที ของระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์

 

จะเห็นว่า เมื่อโดนผลักดันด้วย ความอยาก ของมนุษย์เราแล้ว

ย่อมจะเกิดยึดมั่น การปฎบัติ แบบสุดโต่ง อยู่เรื่อยๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น

 

หากแนวทางที่ เน้นช้าๆ แต่ชัวร์ ของ ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์

หมุนเร็วไม่ทันใจ ไม่แรง ถูกอกถูกใจ

ก็มักจะหักพวงมาลัย ไปทางที่ เน้นความก้าวหน้า แบบก้าวกระโดด ทันที

ต้องหมุนเร็ว หมุนแรง เืพื่อให้ทันอกทันใจ

 

แต่พอหมุนเร็ว แรง เกินไป จนเสียหลัก พลิกคว่ำ

ก็จะเข็ดไปสักพัก แล้วหันกลับไปขับ แบบช้าๆ แต่ชัวร์ เหมือนเดิม

แต่สักพักนึง พอหายเข็ดแล้ว ก็จะหันกลับไป เร็ว แรง เหมือนเดิมอีก

 

จะเห็นว่า การขับรถ หักพวกมาลัย เหวี่ยง สวิง เร็วเกินไป

นอกจากจะทำให้เกิดผลิกคว่ำ เสียหายแล้ว

ยังทำให้ไปได้ไม่ไกล อย่างที่หวังไว้ ในระยะยาว อีกด้วย

 

หากลองพิจารณาดูว่า หากเราไม่ขับรถ หักพวกมาลัย เหวี่ยง สวิง เร็วเกินไป

พยายามมองระยะยาวพอ ไปแบบสมดุลย์  อยากแบบสมดุลย์

คือ ได้สิ่งที่ต้องการ และ รถไม่พลิกคว่ำ

เราจะไปข้างหน้าได้ไกล กว่าหรือไม่ ในระยะยาว

เราจะได้รับประโยชน์ มากกว่าหรือไม่ ในระยะยาว

 

อันดับสี่ สติ และ ความไม่ประมาท

 

ลองพิจารณาดู อุบัติเหตุในประเทศของเรา ที่มีการตาย มากกว่า สงคราม ซะอีก

เป็นกระจกที่สะท้อน ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ อันแท้จริงได้ แม่นยำยิ่งนัก

 

เพราะว่า ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ นั้นคือ

วิถีชีวิต เป็นแนวทาง เป็นความเชื่อ ของผู้คน

เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ ปาก ท้อง ปัจจัยต่างๆ

ในการดำรงชีวิต ในทุกๆวัน

 

จึงเป็นสภาพความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน ของทุกๆคนในประเทศ

 

ทางแก้ ตัวหลัก คือ สติ และ ความไม่ประมาท

 

ในประเทศเรานั้น ทุกคนรู้จัก สติ และ ความไม่ประมาท เป็นอย่างดี

แต่ในความเป็นจริง เหตุใด สติ และ ความไม่ประมาท จึงอยู่ในระดับ

ที่เป็นอันตรายมากกว่า การเกิดสงคราม ซะอีก

 

หากเราเดินกันสวนทางน้ำขึ้นไป จนถึงต้นน้ำ เพื่อหาสาเหตุ

จะเห็นว่า แค่ การเป็นคนดี และการควบคุมคนไม่ดี นั้นไม่พอ

ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม นั้นมีขอบเขตไม่พอ

ไม่พอที่จะกั้น กระแสการเอ่อล้น ไหลบ่า ของความยากอันไม่สิ้นสุด ของมนุษย์เราได้

 

สติ และ ความไม่ประมาท

ในการรู้จัก ความยากอันไม่สิ้นสุด ของมนุษย์เรา จะช่วยบรรเทาอาการได้

 

สติ และ ความไม่ประมาท

ในการรู้จัก ความยากอันไม่สิ้นสุด ของมนุษย์เรา จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้

 

สติ และ ความไม่ประมาท

ในการรู้จัก ความยากอันไม่สิ้นสุด ของมนุษย์เรา จะช่วยสร้าง

ระบบเศษฐกิจ และเศรษฐศาสตร์ อันยั่งยืน

ความเจริญ และพัฒนาการ ที่ยั่งยืน ได้

 

ชุดกุญแจ ที่เหมาะสม สำหรับแต่ละคนย่อมต่างกันไป

ตัวจิ๊กซอร์ ที่เหมาะสม สำหรับแต่ละคนย่อมต่างกันไป

 

เป็นสิ่งที่เราต้อง ใคร่ครวญ พิจารณา และหาคำตอบใ่ห้ตัวเราเอง

 

ขอให้ทุกท่านมีพลังกาย พลังใจที่ดี

 

 

แสดงความคิดเห็นและดูทั้งหมด ๒๑ บทความ ได้ที่

http://www.tpa.or.th/writer/author_des.php?passTo=e7c730f5848300fc6f352f248796df86&authorID=63

และ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cxoasia&group=1

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที