วิกูล

ผู้เขียน : วิกูล

อัพเดท: 16 ก.พ. 2009 08.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4668 ครั้ง

การผ่านกฎหมายออกมาใช้ ต้องผ่าน ๓ วาระ


-

18845_tura.jpg

วาระ พ.ร.บ. ปรองดองแห่งชาติ

 

โดย : นวรัฐศาสตร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

 

 

การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ โดยสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่จะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร  นั้น

 

ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะผ่านเป็นกฎหมายออกมาบังคับใช้ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนการนิติบัญญัติ การจัดทำกฎหมาย ตามหลักการพิจารณาร่างกฎหมายของไทย โดยแบ่งออกเป้น ๓ วาระ คือ

 

วาระที่ ๑  เป็นการพิจารณาหลักการของร่างกฎหมายที่เสนอ เข้ามาสู่การพิจารณาของสภา เพื่อจะลงมติว่าสมควรรับร่างกฎหมายนั้นไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่

 

ถ้าสภารับ ก็พิจารณาต่อไปในวาระที่ ๒ แต่ถ้าไม่รับร่าง พ.ร.บ. นั้นก็ตกไป หรือหากสภาต้องการความรวดเร็ว รอบคอบ ก็อาจมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการสามัญนำร่างกฎหมายนั้นๆไปพิจารณาก่อน แล้วนำมาเสนอสภาเพื่อพิจารณาวาระที่ ๑

 

วาระที่ ๒ เป็นการพิจารณาอย่างละเอียดของร่างกฎหมาย เรียงลำดับมาตรา เริ่มตั้งแต่ชื่อของกฎหมายจนจบร่าง หรืออาจนำผลการศึกาของคณะกรรมาธิการมาพิจารณาด้วยก็ได้

 

วาระที่ ๓ เป็นการลงมติ พิจารณาว่าจะให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้หรือไม่ วาระนี้จะไม่มีการอภิปรายใดๆอีกในรายละเอียด

 

ต้องติดตามกันต่อไปว่าสภาจะมีมติแต่ละวาระอย่างไร ก่อนถึงวันนั้นเราก็ได้ฟังแนวคิดของแต่ละคนแต่ละพรรคไปบ้างแล้ว มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ว่ากันไปตามทัศนะ แต่เมื่อสภามีมติอย่างไรแล้ว ทุกคนต้องปฏิบัติตาม

 

/////////////////////////////////////

 

ข้อมูลวาระกฎหมาย : มสธ. สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย  ( ๒๕๔๕)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที