Quality Wizard

ผู้เขียน : Quality Wizard

อัพเดท: 20 ต.ค. 2006 16.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 30629 ครั้ง

ปัญหาอย่างหนึ่งของการทำระบบ ISO ก็คือ จุดที่เป็น interface ของหลายๆหน่วยงาน ทำให้บางครั้งไม่รู้ว่า ใครเกี่ยวข้องบ้าง ใครรับผิดชอบ จึงประยุกต์เอาเครื่องมือตัวหนึ่งมาเป็นพระเอกในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจน นั่นคือ เดอะ เมตริกซ์ The Matrix


The Matrix พระเอกของ ISO

ขึ้นหัวเรื่องไว้อย่างนี้ ไม่ใช่ภาพยนตร์ดังเมื่อไม่นานมานี้เรื่อง เดอะเมตริกซ์ (The Matrix) นะครับ แต่จะเป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางด้านคุณภาพตัวหนึ่งในการแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะกับการดำเนินระบบการจัดการด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น ระบบบริหารคุณภาพทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น ISO 9001, ISO/TS 16949, ISO 14001 หรือ มาตรฐานอื่นๆก็ตาม

การใช้เมตริซ์ในการสร้างความเข้าใจ และ ปรับปรุงการทำงาน

คำว่า Matrix ตามความหมายภาษาอังกฤษมีอยู่หลากหลายมากมาย แต่ที่เลือกมาคือความหมายในเชิงคณิตศาสตร์ กล่าวคือ – Something resembling such an array, as in the regular formation of elements into columns and rows (จาก www.answers.com)

ปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ลักษณะของกลุ่มข้อมูลที่เป็นแนวเรียงกันในรูปแบบของสี่เหลี่ยม มีแถวในแนวนอนและแนวตั้ง รูปร่างหน้าตาคร่าวๆจะเป็นแบบนี้ครับ

 

X1

X2

X3

 

Y1

 

 

 

 

Y2

 

 

 

 

Y3

 

 

 

 

Y4

 

 

 

 

ท่านผู้อ่านหลายๆท่านคงจะพอคุ้นเคยกับเจ้า เมตริกซ์ นี้มาไม่มากก็น้อย เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือ การแจกแจงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มากกว่า 2 ค่าขึ้นไป เมตริกซ์ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ หลายๆครั้ง ที่เมื่อเราต้องกำหนดการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอ๊ะ งานนี้เกี่ยวกับใครบ้าง ? หรือ โครงการนี้ใครต้องรับผิดชอบ? หรือ มีลูกค้ารายไหนบ้างที่ต้องการแบบนี้? เป็นต้น

เพื่อช่วยให้ระบบการทำงานชัดเจนขึ้น จึงมีคำแนะนำว่าเราสามารถใช้เจ้า เมตริกซ์ อันเป็นหลักการง่ายๆนี้แหละมาเป็นตัวช่วยให้ระบบการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ระบบ ISO 9001 ของเราชัดเจนขึ้น โดยจะขอยกตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ Matrix เปรียบเทียบข้อกำหนด ISO 9001 ดังตารางต่อไปนี้

 

ข้อกำหนดด้าน ISO

The Matrix เมตริกซ์ จะเข้าไปช่วยให้ระบบงานดีขึ้นได้อย่างไร

ตัวข้อกำหนด ISO Requirement

มาเริ่มจากตรงนี้ก่อนเลยครับ จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี หากมีการทำเมตริกซ์ขึ้นมาบอกถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง

·        ข้อกำหนดกับหน่วยงาน Requirement VS Department

·        ข้อกำหนดกับกระบวนการ Requirement VS Process

การจัดเก็บเอกสารและจัดเก็บบันทึก (Document and Record Management)

ในการควบคุมเอกสาร หากเคยมีคำถามเกิดขึ้นมาว่า เอกสารฉบับนี้เกี่ยวกับใครบ้าง สมควรจะสำเนาให้ใครบ้าง ก็ใช้ เมตริกซ์เป็นคำตอบในการอธิบายได้

การมุ่งเน้นที่ลูกค้า (Customer Focus)

เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายนั้นมีความต้องการที่เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง เพราะฉะนั้น เมตริกซ์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง ลูกค้าแต่ละรายกับความต้องการ (requirement  แต่ละข้อ จะเป็นทางออกที่ชัดเจน

นอกจากนี้ ยังใช้เทคนิคเรียก QFD (Quality Function Deployment) อันเป็นเมตริกซ์รูปแบบหนึ่งมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการหลายๆอย่างของลูกค้าได้ ตัว QFD นี้เอาไว้จะมาขยายความอีกครั้งในโอกาสต่อไปครับ

ภาพตัวอย่าง QFD

ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility)

·        ลองพิจารณาใช้เมตริกซ์ในเรื่องการกระจายตัวชี้วัดสิครับ ว่า KPI ที่กำหนดออกมานั้น มีหน่วยงานไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง

·        เมตริกซ์ที่แสดงความสัมพันธ์ในเรื่องความรับผิดชอบกับแต่ละตำแหน่ง

การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources Management) และ การฝึกอบรม (Training, Competency)

·        เมตริกซ์เข้ามาช่วยได้ในเรื่อง skill matrix ที่จะบอกว่า พนักงานคนไหน มีความสามารถทำงานไหนได้บ้าง และ ระดับของความสามารถเป็นอย่างไร

·        นอกจากนี้ การหาความต้องการในการฝึกอบรม Training need matrix ก็ช่วยให้ทราบถึงความจำเป็นของการอบรมแต่ละหลักสูตรได้ว่า หลักสูตรนี้มีใครบ้างที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรม

โครงสร้างพื้นฐาน การซ่อมบำรุง (Infrastructure, Maintenance Activities)

ในส่วนของฝ่ายช่าง ฝ่ายซ่อมบำรุง สามารถนำเมตริกซ์ในเรื่องอะไหล่สำรองมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน ว่า อะไหล่นี้ใช้งานกับเครื่องจักรไหนได้บ้าง

นอกจากนี้ การทำแผนการซ่อมบำรุงต่างๆ ก็ทำออกมาในรูปของเมตริกซ์ได้เช่นกัน

การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Process/Product Quality Planning)

ในส่วนของการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์นี้ จะเป็นเรื่องตั้งแต่ การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไล่มาจนถึงการออกแบบกระบวนการผลิต หรือ กระบวนการทำงาน ว่ามีขั้นตอนอย่างไร แต่ละขั้นตอนต้องทำอะไร ใครรับผิดชอบ มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไร และ ที่สำคัญ ควบคุมกระบวนการอย่างไร

เมตริกซ์ในเรื่อง ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบ และ การวิจัย การทดลองผลิต VS หน่วยงาน จะทำให้เห็นภาพขัดเลยว่า ใครต้องทำอะไร ก่อนหลังตามลำดับ

การวางแผนการผลิต (Production Planning)

มีเมตริกซ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

·        เมตริกซ์แสดงความสามารถการผลิต capacity เทียบกับ แต่ละ line การผลิต จะช่วยในการวางแผนการผลิตได้

·        เมตริกซ์เรื่อง ประเภทของชิ้นส่วน เทียบกับ แต่ละผู้ส่งมอบ ก็จะช่วยทำให้ง่ายขึ้นเวลาสั่งซื้อสินค้า

การจัดซื้อ (Purchasing)

การผลิต (Production)

การถนอมรักษา การขนถ่ายผลิตภัณฑ์ (Logistics)

การควบคุมเครื่องมือวัด (Control of measuring devices)

·        เมตริกซ์ระหว่าง ประเภทเครื่องมือวัด VS หน่วยงาน จะทำให้ทราบว่า เครื่องมือวัดชนิดนี้ สามารถไปใช้งานที่ไหนได้บ้าง

การตรวจวัด และ การติดตาม (Measurement and Monitoring)

·        เมตริกซ์แสดงเรื่อง ประเภทหัวข้อที่ตรวจวัด VS หน่วยงานหรือพื้นที่ ก็จะช่วยในการวางแผนการติดตามได้ และ ทำให้ทราบว่า หน่วยงานไหนมีตัวชี้วัดอะไรบ้าง

การตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)

การทำ internal audit สามารถใช้ เมตริกซ์มาช่วยได้เช่น

·        เมตริกซ์แสดง คุณสมบัติของผู้ตรวจ VS ผู้ตรวจแต่ละคน

·        เมตริกซ์แสดง ประเภทของการตรวจ VS หน่วยงาน ทำให้ทราบว่า ถ้าจะไปตรวจหน่วยงานนี้ จะเป็นการตรวจผลิตภัณฑ์ ตรวจกระบวนการ หรือ ตรวจระบบอะไร จะเป็น ISO 9001, ISO 14001 หรือ รวม OHSAS 18001 ด้วย

การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis of data)การแก้ไข และ การป้องกันปัญหา (Corrective and Preventive Action)

ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นมา ต้องมีการแก้ไขและการป้องกัน สามารถประยุกต์ใช้ เมตริกซ์ได้โดย

·        เมตริกซ์แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างแบบฟอร์มใบ CAR VS ข้อกำหนดของแต่ละลูกค้า

·        เมตริกซ์แสดง corrective action impact หรือหมายถึง การแก้ปัญหานี้ จะเกิดผลกระทบกับหน่วยงานไหนบ้าง ใช้เมตริกซ์เป็นตัวแสดงก็จะชัดเจน

·        เมตริกซ์แสดงบันทึกว่า ประเภทของปัญหาที่เกิด VS หน่วยงานหรือสายการผลิต ก็จะแสดงให้เห็นว่า หากต้องการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก็มาดูได้ว่า จะเริ่มที่ปัญหาใดก่อน

จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นในตารางจะเห็นได้ว่า เราสามารถนำหลักการของ เมตริกซ์ เข้าไปมีบทบาทกับการดำเนินระบบบริหารต่างๆ และการปรับปรุงระบบงานได้เยอะมาก เมตริกซ์จะเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาสีเทา (grey zone) ต่างๆให้ชัดเจนขึ้น และที่สำคัญเจ้าเมตริกซ์นี้ควรจะมีชีวิต ซึ่งหมายความว่า หากเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ เปลี่ยนผู้รับผิดชอบ หรือ เปลี่ยนข้อกำหนด ก็จะต้องมาปรับปรุงข้อมูลในเมตริกซ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้น ก็จะเกิดการถกเถียงกันหรือไม่เข้าใจตรงกันเกิดขึ้นอีกเช่นเดิม คราวนี้ก็คงจะยิ่งยุ่งอีกล่ะครับ J


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที