นอกจากหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยแล้ว ปัจจุบันหลายฝ่ายเริ่มเห็นคุณค่าและความสำคัญของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อนำมาใช้ช่วยเหลือในกระบวนการต่างๆทางการแพทย์มากขึ้น
ที่มา : หุ่นยนต์ดาวินชี่ ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก โรงพยาบาลกรุงเทพ
รูปที่ 1 หุ่นยนต์ da Vinci ช่วยผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจและมะเร็งต่อมลูกหมาก
โดยโรงพยาบาลหลายโรงพยาบาลในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ช่วยในการผ่าตัดต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ da Vinci ซึ่งถูกนำมาใช้ในการช่วยผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลศิริราช ดังรูปที่ 1 และหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดและระบบ Laparoscope ที่ถูกนำมาใช้ช่วยในการผ่าตัดที่โรงพยาบาลปิยะเวท รวมถึงหุ่นยนต์แมวน้ำ Paro มาช่วยบำบัดเด็กออทิสติก ดังรูปที่ 2 โดยความร่วมมือขอเนคเทค ฟีโบ้ สถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นต้น โดยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเหล่านี้เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น และในปัจจุบันนี้ประเทศไทยต้องการเงินงบประมาณเพื่อนำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อใช้งานทางการแพทย์เป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งในหลายๆส่วนเป็นการสูญเสียเงินตราอย่างน่าเสียดาย เพราะระบบบางอย่างนั้นสามารถพัฒนาและต่อยอดจากงานวิจัยภายในประเทศได้
ที่มา : International Journal of Advanced Robotic Systems
รูปที่ 2 หุ่นยนต์แมวน้ำ Paro ช่วยบำบัดเด็กออทิสติก
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นผู้นำการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ทางการแพทย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาขาจำนวนหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
ประเทศไทยคงต้องใช้เงินงบประมาณเพื่อนำเข้าหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อใช้งานทางการแพทย์เป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะโรงพยาบาลในประเทศหลายแห่งมีความตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องมือช่วยแพทย์ในการผ่าตัดผู้ป่วยมากขึ้น หากรัฐบาลไทยต้องการลดการนำเข้าระบบหุ่นยนต์เหล่านี้จากต่างประเทศนั้นเพื่อป้องกันการสูญเสียเงินตราอย่างน่าเสียดาย จึงควรสนับสนุนการพัฒนาขึ้นใช้เองจากการต่อยอดจากงานวิจัยภายในประเทศได้ ผมเห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการพัฒนาและวิจัยทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ทางการแพทย์ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหิดลมีแผนการดำเนินงานในการพัฒนาระบบเพื่อนำไปใช้จริงในระยะ 4 ปีข้างหน้าเพื่อลดการนำเข้าระบบจากต่างประเทศดังต่อไปนี้
นอกจากเรื่องการช่วยเหลือรักษาชีวิตมนุษย์เป็นเรื่อง “บุญกุศล” ที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่งแล้ว การสนับสนุนให้คนไทยสามารถปลดแอกทางเทคโนโลยีจากต่างชาติ จนกระทั่งคนไทยสามารถ “คิดเอง สร้างได้และใช้ดี” นั้น ผมถือว่าเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของชาติไทยเราครับ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
รู้จักผู้เขียน ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไป รู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้าน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการ ลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที