พณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาตราจารย์ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ มีบัญชาให้ร่างแนวความคิด ยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย เพื่อนำไปใช้สร้างแผนจริงของกระทรวงฯ โจทย์ที่ท่านตั้งไว้คือ ทำอย่างไร? ไทยถึงจะก้าวทันเทคโนโลยีหุ่นยนต์
พณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาตราจารย์ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ มีบัญชาให้ร่างแนวความคิด ยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย เพื่อนำไปใช้สร้างแผนจริงของกระทรวงฯ โจทย์ที่ท่านตั้งไว้คือ ทำอย่างไร? ไทยถึงจะก้าวทันเทคโนโลยีหุ่นยนต์
หลังจากที่ได้มีการประชาพิจารณ์กลยุทธ์หุ่นยนต์ไทยโดยตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมและนักวิชาการแล้ว แผนกลยุทธ์ดังกล่าวจะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 18 ธันวาคม 50 นี้
ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่าก้าวแรกสำคัญเช่นนี้ย่อมสร้างรากฐานที่มั่นคงพร้อมสนับสนุนให้คนไทยสามารถใช้งานและประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อประโยชน์ของชาติไทย และมีส่วนสนับสนุนให้ มันสมองไทย เข้าร่วมศึกษาวิจัยระดับแนวหน้าของโลก สาระสำคัญสำหรับการพิจารณาทีดังนี้ครับ
เป้าหมายของโครงการพัฒนาวิทยาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ประกอบ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น คือ สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ระยะกลาง คือ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ระยะยาว คือ เพิ่มผลิตภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายทั้ง 3 ระยะที่ตั้งไว้ข้างต้นนั้น จำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์หลักที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เห็นว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงได้คัดเลือกโครงการที่มีความพร้อม และมีผลในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขึ้นมาเป็นโครงการนำร่อง จำนวน 8 โครงการสำหรับปีงบประมาณ 2551-2553 ตามที่ได้เสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ส่วนที่ได้จัดทำเป็นแถบสี /highlight ในตาราง) โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้นรวม 122 ล้านบาท
ผลที่คาดว่าจะได้จากการดำเนินโครงการนำร่องทั้ง 8 โครงการข้างต้น ได้แก่
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
สำหรับในการดำเนินโครงการจะมีการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการเมื่อดำเนินการโครงการไปแล้ว 2 ปี และเมื่อจบในปีที่ 3 โดยมีตัวชี้วัด เช่น
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ มาที่ผู้เขียนได้ที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th
รู้จักผู้เขียน ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไป รู้จักในนาม ฟีโบ้ (FIBO) เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้าน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการ ลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที