ความผิดปกติทางด้านออฺธิสติกส์ (Autistic Disorders) มีอัตราเกิดขึ้นในเด็กถึง 1 ใน 300 คน อาการที่ปรากฏชัดของเด็กออธิสติกส์คือ การที่เขาขาดความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาทิ หลีกเลี่ยงหรือมีการสบตาน้อย ขาดความเข้าใจในท่าทางและการแสดงออกทางหน้าตา การใช้คำพูดตะกุกตะกัก ประสบความยากลำบากในการรับรู้เจตนาและความรู้สึกของผู้ใกล้ชิด ท่านที่มีบุตรหลานที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติจึงน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนี้การตรวจอาการดังกล่าวใช้เพียงการสังเกตเชิงพฤติกรรมเท่านั้น ยังไม่มีการตรวจเลือดหรือตรวจสอบทางยีนส์แม้ว่าจะมีหลักฐานทางแพทย์ว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม | |
หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจจากเด็กๆทั่วไปรวมทั้งกลุ่มเด็กออธิสติกส์ หลายหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศจึงริเริ่มทดลองนำหุ่นยนต์มาเป็นตัวสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หลายคนเชื่อว่าหุ่นยนต์ของเล่นให้ความเป็นกันเองและความ อุ่นใจ ต่อเด็กๆมากกว่าผู้ใหญ่รอบข้างเสียอีก ผมเคยสังเกตเด็กป่วยที่ต้องไปหาคุณหมอบ่อยๆในวัยเด็กจะเกิดความระแวงเมื่อเห็นผู้ใหญ่เล่นด้วยและยิ้มให้ คงเป็นเพราะคุณหมอเหล่านั้นต้องหลอกล่อเล่นกับเด็กจนเพลินเสียก่อนแล้วจึงทิ่มเข็มฉีดยา เด็กบางคนถึงกลับวิ่งอ้อมไปดูด้านหลังผู้ใหญ่ที่ยืนยิ้มเอามือไพล่หลังอยู่เพราะกลัวว่าในมือมีเข็มฉีดยาอยู่ มีการศึกษา ของ Rogers & Pennington, 1991 และ Baron-Cohen, 1995 กล่าวถึงสาเหตุของออธิสติกส์ว่าอาจเกิดจากขบวนการเลียนแบบและการแสดงอารมณ์ร่วมในวัยต้นของเด็กเล็กนั้นไม่สมบูรณ์แบบ
การเลียนแบบถือเป็นลักษณะการสื่อสารประเภทหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสนใจและการเข้าหาผู้อื่นจนไปกึงการมีปฎิสัมพันธ์ (Nadel, 1999) | |
หุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้ถูกสร้างให้ฉลาดพอที่จะเข้าใจพฤติกรรมของเด็กและสามารถตอบสนองและกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงออก ที่จริงหุ่นยนต์ของเล่นปัจจุบันเปิดโอกาสให้เด็กผู้เล่นสวมบทบาท กำกับ คือสามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ตามจินตนาการของตน ดังนั้นเราจึงได้เห็นเด็กออธิสติกส์ที่เงียบขรึมอยู่กับโลกส่วนตัวคนเดียวเริ่มเล่นกับหุ่นยนต์เช่นเดียวกันกับเด็กปกติเล่น อย่างไรก็ตามบทผู้กำกับที่ผมกล่าวถึงอาจจะสูงไปในขั้นต้น นักวิจัยใช้เพียงการกำหนดให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางอย่างง่ายๆ ก็ได้รับผลที่น่าพอใจยิ่งเพราะเด็กออธิสติกส์แสดงท่าทางเลียนแบบ เราหวังว่าเมื่อเขาตอบสนองกับหุ่นยนต์ได้ดีเหมือนกับเด็กทั่วไป สภาวะแวดล้อม อุ่นใจ ร่วมกับหุ่นยนต์นี้คือกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่อาจไขปริศนาบางอย่างอันอาจทำให้อาการผิดปกตินั้นทุเลาลงจนเขาสามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นได้ดีขึ้น | |
แนวความคิดคือให้หุ่นยนต์แสดงท่าทางซ้ำๆกระตุ้นความสนใจ การเลียนแบบ ของเด็ก หุ่นยนต์ที่ใช้ชื่อ Robota หนูน้อยออธิสติกส์วัย 6 ขวบ เกิดความฉงนสนเทห์กับการเคลื่อนไหวส่วนหัวของ Robota หลังจากนั้นเขาก็เริ่มสัมผัสหุ่นยนต์ไปมา ( K. Dautenhahn 2002) ในขั้นนี้ Robota ไม่มีความฉลาดในการสื่อสารกับเด็กมากนัก มีแต่เพียงการควบคุมระยะไกล (Teleoperation) โดยนักวิจัยและคุณหมอ ท่าทางของ Robota ถูกกำหนดให้สอดคล้องการเรียนรู้ของเด็กน้อย | |
ลูกเล่นบางอย่างเช่นหุ่นยนต์จะไม่เคลื่อนไหวต่อไป หากเด็กหยุดนิ่ง เด็กจึงเรียนรู้ว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรตามที่คุณหมอที่ซ่อนตัวอยู่หลังฉากต้องการ ในลักษณะอาจกล่าวได้ว่าเด็กและหุ่นยนต์จักต้องทำงานร่วมกัน งานวิจัยนั้นมีรายละเอียดด้านความไว(Sensitivity )ในการตอนสนองของแต่ขั้นตอนด้วย และนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในหมู่กลุ่มเด็กออธิสติกส์
ระบบตรวจจับภาพในตาหุ่นยนต์ยังช่วยบันทึกภาพให้เราทราบตำแหน่งและระยะห่างของเด็กๆแต่ละคน พัฒนาการของเด็กด้านการอยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระยะห่างที่กล่าวถึงนี้ จนถึงวันนี้การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบำบัดยังอยู่ในขั้นต้นของการวิจัย ผลลลัพท์ออกมาค่อนข้างดี ผมได้รับทราบมาว่า ทางเนคเนคได้สร้างความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ในการนำหุ่นยนต์แมวน้ำ Paro มาศึกษาทดลองเพื่อรักษาอาการออธิสติกส์ของเด็กไทย เราอาจะต้องมีการดัดแปลงการเคลื่อนไหวและวิธีตอบสนองของ Paro ให้เป็นแบบไทยๆ เด็กออธิสติกส์นั้นก็มีความอัจฉริยะภาพ หากเทคโนโลยีหุ่นยนต์สามารถเปิดประตู กระตุ้นให้น้องๆเหล่านี้แสดงศักยภาพออกมาได้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากเลยครับ |
รู้จักผู้เขียน ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม ฟีโบ้ (FIBO) เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที