important perspectives on e-Learning design
จั่วหัวไว้อย่างนี้ เพราะว่าช่วงนี้ผมกำลังขมักเขม้นอยู่กับการ self-learning ในส่วนที่เกี่ยวข้อง instructional design อยู่ เรื่องของเรื่องก็คือ อยากจะรู้ว่า instructional design นั้นมี strategy อะไรบ้าง มีรูปแบบการออกแบบอะไรบ้าง มีประเด็น หรือมี concern อะไรบ้างที่เราควรจะพิจารณาเวลาที่เราต้องการออกแบบสื่อ e-Learning ที่ดี ๆ สักอันหนึ่ง ซึ่งจากข้อมูลที่ค้นพบมา มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการออกแบบสื่อ e-Learning โดยประเด็นดังกล่าวนั้น จะเกี่ยวข้องกับแง่มุม 4 มุมมองที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบ หรือมีอิทธิพลต่อการออกแบบสื่อ e-Learning ของเราค่อนข้างมากครับ ดังนั้นเราควรที่จะตระหนักถึงมุมมองดังกล่าวนั้น และนำมาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสื่อ e-Learning ของเราครับ ว่าแล้วเราก็ลองมาดูกันเลยครับ
จากรูป diagram ข้างบนจะเห็นว่า มีแง่มุมอยู่ 4 มุมมองที่เราจะต้องนำมาพิจารณาในการออกแบบสื่อ e-Learning ซึ่งได้แก่
- Economics: คือเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว ในการทำ project e-Learning ใด ๆ ก็แล้วแต่ รวมถึงการพัฒนาสื่อ e-Learning นั้น ต้องมีการลงทุน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องมีการใช้ "เงิน" นั่นเอง ซึ่งก็คือจะต้องมีการลงทุนทางด้านเวลา ลงทุนในด้านทีมงาน หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็น ดังนั้น มันต้องพิจารณาว่า project e-Learning หรือ สื่อ e-Learning ที่เราจะทำขึ้นมานั้น มันจะมี value หรือ คุณค่า มากน้อยแค่ไหนต่อองค์กร ซึ่งถ้าพูดอย่างนี้ก็คงต้องไปดูว่า สื่อ e-Learning ที่จะพัฒนาขึ้นมาดังกล่าว มันจะไปมีส่วนสอดคล้องกับ เป้าหมายของธุรกิจ (business goals) ได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำ project นี้ด้วย
- Software Engineering: คือไอ้สื่อ e-Learning ที่เราต้องการจะพัฒนาขึ้นมานั้น มันก็คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น ในกระบวนการของการพัฒนานั้น เราก็คงต้องคำนึงถึงการออกแบบของซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการออกแบบหน้าตาการใช้งาน ในแง่ของเทคนิคในการทำงานของซอฟต์แวร์ การทำงานร่วมกับฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรม ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับ concept ของ software engineering ที่ใช้กับโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทอื่น ๆ
- Instructional Design: อันนี้แน่นอนเลยว่า สื่อ e-Learning ที่เราออกแบบนั้น มันต่างกับโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทอื่น ก็ตรงที่มันมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับเรื่อง "การเรียนรู้ของคน" ดังนั้นมันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมที่ออกแบบสื่อ e-Learning จะต้องรู้ว่า "คน" มีการเรียนรู้อย่างไรผ่านทางสื่อประเภทนี้ ต้องมี strategy ในการออกแบบ มีทฤษฎีการออกแบบสื่อมารองรับ ซึ่งตรงนี้คงเป็นความรู้ที่ทีม instructional designer (I.D.) คงจะขาดไม่ได้
- Media Design: ในส่วนของแง่มุมนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อ multimedia ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น text, graphics, voice, music, sound effects, animation หรือ video ซึ่งทีมที่ทำงานทางด้านนี้ก็ควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การออกแบบสื่อเหล่านี้เหมือนกัน
ดังนั้น ในการออกแบบสื่อ e-Learning ใด ๆ ก็แล้วแต่ นอกเหนือไปจากเรื่อง instructional design แล้ว เราควรจะต้องพิจารณามุมมองอื่น ๆ ประกอบการออกแบบสื่อ e-Learning ของเราด้วย คือ จะต้องพยายามรักษาสมดุลย์ทั้ง 4 มุมมองให้ดี ยกตัวอย่างเช่น อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการประหยัด budget มากจนเกินไป จนไม่สามารถผลิตสื่อที่ดีออกมาได้ (ถ้าสื่อนั้นมีส่วนในการช่วยตอบโจทย์ของ business goals) หรือไปเน้นในส่วนที่เป็น animation หรือ video เกินไป จนเสียวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของสื่อ e-Learning ที่ออกแบบมา สรุปง่าย ๆ ก็คือทีมทำดูแลการพัฒนาสื่อ e-Learning นั้น ควรจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับมุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว และนำเอาความรู้และความเข้าใจดังกล่าวมาผสมผสานกัน สำหรับการออกแบบสื่อ e-Learning ที่ดีนั่นเอง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : important perspectives on e-Learning design