มาระวังภัยจากไรอ่อนกันเถอะ
เป็นข่าวโด่งดังในบ้านเมืองไทยขณะนี้เมื่อพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 30,000 ราย เเละเสียชีวิตเเล้ว 47 คน จากโรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) ซึ่งมีไรอ่อน หรือตัวอ่อนของไรแดงเป็นพาหะ
มีไรอ่อนที่ไหนบ้าง
ไรอ่อน (Chigger) พบในป่าโปร่งทั้งในภาคเหนือ เเละภาคตะวันออกของไทย รวมถึงทิศเหนือของเกาะฮอกไกโด ของญี่ปุ่น ส่วนที่อยู่บนทวีปเอเชียของประเทศรัสเซีย ทิศใต้ตอนเหนือสุดของประเทศออสเตรเลีย เเละหมู่เกาะนิวกินีของประเทศอินโดนีเซีย
พกของดีเข้าป่า
ก่อนไปเที่ยวเช็ครายการดูซิว่ามีสิ่งเหล่านี้หรือยัง
อาการของคนโดนกัด!
1. เกิดรอยบุ๋มสีดำเหมือนถูกบุหรี่จี้ ไม่เจ็บ
2. ไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ เหงื่อออก หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดน่อง ตาแดง
3. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ตับโต ม้ามโต
4. หลังเป็นไข้ 4-5 วัน เกิดผื่นเเดง เเล้วหายภายใน 3 วัน
5. ไอ เเต่เมื่อเอ็กซเรย์ปอดเเล้วพบเนื้อปอดอักเสบ
6. ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)
7. คอเเข็ง (หันไปมาไม่ได้ ก้มไม่ได้)
การรักษา
ถ้ามีอาการตามที่กล่าวมาเเละมีประวัติอยู่พื้นที่เสี่ยง ควรไปพบเเพทย์ทันที เเนวทางการรักษาคือการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดอาการรุนเเรง โดยผู้ป่วยควรรับประทานยาให้ครบตามที่เเพทย์สั่งเพื่อป้องกันการดื้อยา
ต้องระวังไข้มาลาเรียจากยุงก้นปล่องด้วยนะ
เพื่อนๆนอกจากจะต้องระวังโรคจากไรอ่อนเเล้วยังต้องระวังภัยจากยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะของไข้จับสั่นด้วย โดยปรึกษาเเพทย์เพื่อกินยาควินิน (อาจมีอาการข้างเคียง) ทางที่ดีใช้ยาทากันยุง(พวกตะไคร้หอม หรือยาทากันยุงทั่วไป)
ประสบการณ์ตรงจากเราเองเเหละ
โชคดีตอนที่เราไปเที่ยวป่าในออสเตรเลีย เเละนิวซีเเลนด์เมื่อกลางปี 2551นั้นมีเพื่อนนักปีนเขาไปด้วย เค้าก็เลยเเนะนำอย่างเข้มงวดมาก (เพราะเค้าไม่อยากให้เราป่วย จะได้ไม่ต้องแบกเรากลับ) เเม้ว่ามันจะไม่สวย เเต่เราก็จำใจดึงถุงเท้าขึ้นมารัดขากางเกงวอร์มของเรา รองเท้าก็ต้องผูกเชือกเงื่อนตายสองครั้ง มันจะได้ไม่หลุดกลางทาง ส่วนสัมภาระก็เอาไปเเค่น้ำหนึ่งลิตร (สำหรับการเดินป่าไม่เกินห้าชั่วโมง) กับยาพวกกันเเมลงเเละยาแก้ปวดหัว เเว่นกันเเดด เเละหมวกก็เป็นตัวช่วยให้มองทางได้สะดวกยิ่งขึ้น ระหว่างทางเจอเเต่เต่าทอง (lady bird) เกาะกระเป๋า...เลยฮาเฮไม่ป่วย ไม่ติดโรคอะไรกลับมา J เอารูปป่าเขตหนาวมาฝากด้วย (เจ้าโค้ทสีชมพูนั่นน่ะ ขากลับกลายเป็นเบาะรองนั่ง ฮ่าๆๆ)
ขอให้สนุกกับการไปเที่ยวปีใหม่ทุกคนค่ะ J
PJ Bo いとえ。
สถิติจาก
http://www.talkystory.com/site/article.php?id=5200
ข้อมูลวิชาการจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
http://thaigcd.ddc.moph.go.th/zoo_scrub.html
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที