นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 60942 ครั้ง

www.thummech.com
การคมนาคมที่รวดเร็วที่รองลงมาจากเครื่องบินในปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นรถไฟที่มีความเร็วสูง หรือที่เรียกกันว่า "รถไฟหัวกระสุน" บทความนี้จะเป็นตัวจุดประกายแนวคิดในเทคโนโลยีเกี่ยวกับความเร็วในการเดินทาง


3.รางรถไฟหัวกระสุน

3.รางรถไฟหัวกระสุน


25769_23magnet.JPG




            รางรถไฟหัวกระสุน จะมีขดลวดคอยล์วางอยู่ตลอดความยาวของรางรถไฟ และมีแม่เหล็กขนาดใหญ่วางอยู่ใต้ท้องรถไฟ ขณะที่รถไฟวิ่งอยู่นั้นรถไฟหัวกระสุนจะลอยอยู่เหนือรางรถไฟ ระยะห่างการลอยตัว 1 เซนติเมตร ถึง 10 เซนติเมตร ทันทีที่รถไฟลอยตัว

25769_31b.JPG

วิดีโอการทดลองอย่างง่ายในการทำงาน

http://www.youtube.com/watch?v=GHtAwQXVsuk&feature=related

กำลังงานของการลอยตัวจะได้มาจากสนามแม่เหล็กที่สร้างจากคอยล์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดความยาวของรางทำให้รถไฟจะมีแรงดึง และแรงผลักที่ตัวรถไฟ กระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาเข้าสู่คอยล์ในผนังรางรถไฟที่สลับเปลี่ยนแปลงขั้วของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตลอด ที่มีการเปลี่ยนขั้วเพราะว่าสนามแม่เหล็กในด้านหน้าของรถไฟที่จะดึงขบวนรถให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ขณะที่สนามแม่เหล็กด้านหลังรถไฟก็จะทำหน้าที่คอยเสริมผลักดันให้รถไฟไปด้านหน้าด้วย

25769_32b.JPG

 

รถไฟหัวกระสุนจะลอยตัวเหนือราง ทำให้แรงเสียดทานมีค่าน้อยมาก ๆ จนเหมือนกับไร้แรงเสียดทาน พร้อมกับมีการออกแบบรูปทรงรถไฟให้มีหลักอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) ที่ดีทำให้ความเร็วรถไฟนั้นมีความเร็วสูงมาก สามารถสร้างความเร็วได้ถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับเครื่องบินพาณิชย์ ที่มีระยะทางบินไกล มีความเร็วประมาณ 1000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

            ประเทศเยอรมนี และญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนา เป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีรถไฟหัวกระสุน เป็นต้นแบบให้กับรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานแนวคิดที่เหมือนกัน ทั้งเยอรมัน และญี่ปุ่นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ ในเยอรมนีนั้นวิศวกรได้พัฒนา ระบบรองรับการเคลื่อนที่ไฟฟ้า เรียกว่า ขนส่งเร็ว (Transrapid) ในระบบนี้ ทางรถไฟด้านล่างทำจากเหล็กกล้า แม่เหล็กไฟฟ้าที่ติดอยู่กับส่วนล่างของรถไฟที่ทำให้รถเคลื่อนไปบนราง ซึ่งยกตัวรถไฟขึ้นประมาณ 1 เซนติเมตร เหนือราง และรักษาระดับการลอยตัวนั้นไว้ถึงแม้ว่ารถไฟยังไม่เคลื่อนที่ก็ตาม แม่เหล็กถูกฝังลงไปในตัวรถไฟ เพื่อรักษาความเสถียรภาพระหว่างการเคลื่อนที่

วิดีโอแสดงการทำงานของราง

 http://www.youtube.com/watch?v=UlhiEQWtxQA


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที