ทำไงดี. ..ขับรถตอนน้ำท่วม
ประการแรก ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะไม่ต้องกลัวว่า
รถจะดับหรือปล่าว หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือปล่าว
แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่
แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ
ข้อ 1 คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิครับ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่า น่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมาคือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วคุณลองคิดดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่ง เราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัดไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ซึ่ง สิ่งของพวกนี้มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่องแล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหักซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา
ข้อ 2 ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุด อย่าเร่งความเร็วขึ้น
ข้อ 3 ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ เพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้นเมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1 ครับ ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบาแรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลย ทีเดียวติดครับ (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่า รถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะครับ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่ สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจนะครับ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสียแล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ
ข้อ 4 ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมาเพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอกซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมามันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายาม ย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับ เกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรกเพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก
อีกประการหนึ่ง คือ ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตามเพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสียซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพักซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจครับก็สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือมันจะผุ และหลังจากวันที่เราลุยน้ำมาแล้ว เราควรจะทำอย่างไร ไปดูกันต่อครับ
1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือ บริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมดเพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนักหนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ ( CAT)ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้าCatalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ
2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่าต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจเพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึกๆ มามันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง
3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไรลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็วก็เพราะสาเหตุที่ว่าจอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรแต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย
4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะหลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสารเพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดูหรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าวถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้งมันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณนั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆเข้าไปตลอดเวลา
จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอกครับ
ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนั้นผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซมเพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละครับ
ที่มา : forward mail จากเพื่อน เพื่อ วิทยาทาน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที