1. ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อลูกค้า ลูกจ้าง พนักงานตลอดจนมีมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน
2. ช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้ใจได้ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
3. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้าตลอดจนความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น
ทั้งหมดที่กล่าวมา เรื่องของจริยธรรมทางธุรกิจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นบรรทัดฐานที่สังคมให้การยอมรับทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต จนเป็นกระทั่งเป็นที่มาของหลักธรรมมาภิบาล(Good Governance)
ความสำคัญของจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม
จริยธรรมเป็นแนวทางความประพฤติที่จะนำความสุขและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ ถ้ามนุษย์มีจริยธรรมส่งผลให้มีคุณภาพการตัดสินใจที่ดี การกระบวนการทุกขั้นตอนของการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม ถ้ามีการควบคุมเรื่องของจริยธรรมจะส่งผลดีไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเองเองและผู้อื่น
เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในปัจจัยดังนี้
1. ความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว กระบวนการจำหน่ายจะต้องติดต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง และถือว่าเป็นผู้ซื้อคนสุดท้ายถ้าหากขาดจริยธรรมแล้ว จะส่งผลกระทบโดยตรงแม้กระทั่งการใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อที่จะให้ได้ผลกำไรสูง เช่นการดัดแปลงเครื่องชั่ง ตวง วัดน้ำหนัก การปลอมปนสินค้าเพื่อจำหน่าย การลดปริมาณสินค้าลงบางส่วนหรือฉวยโอกาสกักตุนสินค้าเพื่อจำหน่ายในราคาสูงกว่าเดิมในภาวะขาดแคลน ทำให้ผู้ซื้อเสียโอกาสหรือผลกระทบจากความซื่อสัตย์สุจริต จะส่งผลเสียหายในระยะยาวตามมาเรื่องชื่อเสียงในที่สุดเป็นอุปสรรคสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของกิจการในอนาคต ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด เพราะกิจการมีความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดความไว้วางใจจากลูกค้ารวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ และจะเป็นพื้นฐานของอนาคตด้านความก้าวหน้าของกิจการ หากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นพื้นฐานของจริยธรรมด้านลบตามมาของผู้ประกอบการเองด้วย
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองของตนเองและส่งผลให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับทายาทในอนาคตจะต้องยึดหลักการข้อนี้ไว้เป็นคุณธรรมประจำใจ ดังคำกล่าวที่ว่า
ซื่อกินไม่หมด คตกินไม่นาน หรือไม่จะเป็นด้านวัตถุดิบในการผลิตไม่ควรมองข้ามเรื่องคุณภาพและปริมาณ ที่เหมาะสมและได้สัดส่วน
2. ความขยัน มีมานะ เป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องยึดถืออีกข้อหนึ่ง เป็นคุณธรรมประจำใจ มีคำกล่าวของชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จด้านการค้าว่า ขยัน อดทน ประหยัด เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องยึดถือในจิตใจ ไม่ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางด้านธุรกิจไปเพียงใด จริธรรมข้อนี้จะต้องยึดถือไว้ในใจตลอดกาล
3. การรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบแทนชุมชน เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีในการประกอบการ เป็นการปลูกจิตสำนึกเรื่องความมีวินัยและความมีใจรักในอาชีพจะส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความศรัทธาและมีความภักดีกับกิจการ
4. การดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎระเบียบและข้อบังคับของสังคม เป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ผู้ประกอบการถูกบังคับและจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นการควบคุมการกระทำบางอย่างที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีเพื่อป้องกันผลเสียที่ตามมาในอนาคต เช่นการห้ามจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามจำหน่ายวัตถุมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทยกเว้นมีใบสั่งจากแพทย์
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที