ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกทำเลตั้งร้านค้าปลีก
ในการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นการเริ่มต้นการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆที่มีผลต่อกิจการร้านค้าปลีกขนาดย่อมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อร้านค้าปลีกขนาดย่อม ดังกล่าวมีต่อไปนี้
1. ชนิดและลักษณะของอุตสาหกรรม จำนวนชนิดและลักษณะของอุตสาหกรรมภายในตัวเมืองหรือรอบ ๆเขตการค้าจะมีอิทธิพลต่อรายได้ และความแน่นอนของรายได้ของประชากร และมีอิทธิพลต่อชนิดของสินค้าต่าง ๆที่ประชากรต้องการเราสามารถพูดได้ว่าเมืองที่มีอุตสาหกรรมมากมายหลายชนิดย่อมมีรายได้ที่แน่นอนและมีความมั่นคงกว่าเมืองที่มีอุตสาหกรรมประเภทเดียว เมืองที่มีเศรษฐกิจมั่งคั่งเกิดจาก การมีเศรษฐกิจที่ดีมีการตั้งสถานประกอบการมากส่งผลให้ให้เกิดการจ้างงานมาก เมื่อมีการจ้างงานมากจะส่งผลกระทบให้มีรายได้มากขึ้นและทำให้การใช้จ่ายมากขึ้นอีกเช่นกัน เมื่อมีการใช้จ่ายมากขึ้นอีกเช่นกัน
2. แหล่งแรงงาน แรงงานเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งแต่ละคนมีคุณภาพต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนมาตามสายงานของตนเองจนเกิดทักษะ(Skill)
แรงงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามความชำนาญ คือ
2.1 แรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labors) เป็นแรงงานที่มีฝีมือในการทำงานและมีคุณภาพตามความต้องการของนายจ้าง
2.2 แรงงานทั่วไป (Unskilled Labors) เป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือในการทำงาน มาสามารถทำงานได้ตามความต้องการของนายจ้าง
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องอาศัยแรงงานให้ถูกประเภทตามลักษณะงานที่ทำ และจะต้องวางแผนกำลังอัตรากำลังคนตามภาระงานที่จะต้องทำด้วย รวมทั้งจัดสรรคนให้ถูกกับตำแหน่งงาน (Put a right man on a right job) สำหรับเรื่องนี้สามารถทำได้โดยการจัดทำรายละเอียดหน้าที่ของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง เมื่อมีต้องการแรงงานผู้ประกอบการจะสามารถจัดหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และจะต้องคำนึงถึงแหล่งแรงงานที่จัดหาได้ง่าย อัตราค่าจ้างต่ำและมีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ในการดำเนินกิจการโรงงานผลิตแห อวน โรงสีข้าวแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงงาน
ทั่วไป (Unskilled Labors) เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งแรงงานเหล่านี้หาได้ง่ายในต่างจังหวัด และอัตราค่าจ้างต่ำ
แต่ถ้าในกรณีเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่อาศัยเทคโนโลยีในการผลิต และอาศัยเครื่องจักรกล นวัตกรรมที่ทันสมัย แรงงานที่ใช้จะต้องเป็นประเภทแรงงานที่มีความชำนาญ สถานที่ประกอบการจะต้องใกล้เมืองใหญ่ จึงจะสามารถหาแรงงานที่มีคุณภาพได้ตามที่ต้องการ
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยจะสามารถทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันด้านราคาสินค้าในระยะยาว
3. กฎระเบียบ พระราชบัญญัติ กฎหมาย ข้อบังคับและการต่อต้านจากชุมชน
การเลือกทำเลที่ตั้งในการประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องศึกษากฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานที่บริเวณนั้นก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตามมาภายหลัง และหากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นมูลค่าสูงแล้ว อาจสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากจากการขัดต่อกฎระเบียบ พระราชบัญญัติ กฎหมายและข้อบังคับหรือการต่อต้านจากกลุ่ม ชุมชนของสถานที่นั้น เช่น การผลิตและจัดจำหน่ายประทัด พุ ดอกไม้ไฟ เครื่องดื่มที่มีส่วนประสมของแอลกอฮอร์ในประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมค่อนข้างเข้มงวด และอาจเกิดการต่อต้านจากชุมชนเพราะมีความเสียงต่อการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
4. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และสาธารณูปโภค
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ ผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เพื่อการติดต่อสื่อสาร ไฟฟ้าเพื่อการเพิ่มความสว่าง ประดับตกแต่งร้าน น้ำประปา เพื่อการชำระล้างทำความสะอาด นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงสาธารณูปโภคเพื่อการอุปโภค บริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วย จึงต้องให้ความตระหนักถึงความสะอาดและความปลอดภัย
มลภาวะต่าง ๆ อากาศ หากมีฝุ่นละอองหรือควันเสียจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ประกอบการและกิจการ จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม ไม่ว่าจะเป็นประเภทพาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมจะต้องใส่ใจในการเลือกทำเลที่ตั้งเสมอ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที