ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน
การทดแทนของสินค้าอื่นที่สามารถใช้แทนสินค้าเรา เป็นภัยที่น่ากลัวอย่างหนึ่งของนักการตลาด กล่าวคือ ลูกค้าชอบดื่มกาแฟแต่เมื่อไม่มีกาแฟหรือหาซื้อไม่ได้เลย หันมาซื้อชาและดื่มชาแทน หรือเครื่องดื่มโกโก้บำรุงกำลัง หากมีความติดใจในรสชาติ แล้วไม่ยอมกลับมาดื่มกาแฟเลย นี่คือความสามารถในการทดแทนมีมาก การแสดงข้อมูลของสินค้าทดแทนควรจะแสดงให้ชัดเจนถึงระดับการทดแทนกันได้หรือไม่ได้ มากหรือน้อย ในแผนธุรกิจที่จะเขียนจะต้องแสดงชื่อสินค้าที่วิจัยพบว่ามีระดับความทดแทนอยู่ในระดับใด อนึ่งถ้าหากสินค้าหรือบริการเรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง ยากที่คู่แข่งจะเรียนแบบ และมีคุณภาพเป็นที่ต้องการ สร้างความพึงพอใจกับลูกค้า จะแก้ปัญหาภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนได้ในระดับหนึ่ง
ตารางแสดงการวิเคราะห์ แรงผลักดันทั้งห้า เรื่อง ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน
ที่ |
ชื่อสินค้า |
ระดับการทดแทน (วิเคราะห์จากผลการวิจัยตลาด) | ||||
1 |
2 |
3 |
4 |
5 | ||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1 น้อยที่สุด
2 น้อย
3 ปานกลาง
4 มาก
5 มากที่สุด
ในการวิจัยตลาด จะต้องมีคำถามในการสัมภาษณ์ ในทำนองว่า เคยใช้สินค้า ...( ชา)..................... ทดแทนกาแฟ หรือไม่ถ้าเคยมีความชอบในระดับใด ข้อมูลนี่สามารถใช้อ้างอิงเวลาพิจาณาขออนุมัติเงินกู้ เพราะความทดแทนมีผลต่อการซื้อซ้ำของลูกค้า
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที