คุณลักษณะที่ดีของแผนการตลาด
1. แผนการตลาดจะต้องมีความน่าเชื่อถือ
แผนการตลาดเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ ที่แสดงความสามารถที่จะทำกำไรให้ธุรกิจนั้น ผู้จัดทำจะต้องใส่ใจเรื่อง ความเป็นไปได้และจะต้องสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ เช่น แผนการผลิตสินค้า แผนการเงินควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อความมีประสิทธิภาพในการนำไปปฏิบัติ
2. แผนการตลาดต้องอ่านแล้วเข้าใจง่าย
แผนการตลาดจะต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและคำจำกัดความในแผนที่เราจะสื่อออกไปเช่น จะเพิ่มยอดขายร้อยละ 5 จะต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า ทำไมจึงมั่นใจ ตัวเลขร้อยละ 5 มาจากไหน และสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการที่จะเริ่มดำเนินการธุรกิจ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง คน กลุ่มคน และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ กิจการ หรือธุรกิจ ที่จะได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ จากการผลการดำเนินการทางธุรกิจ
3. แผนการตลาดต้องให้ความสำคัญกับอนาคตของธุรกิจ
ธุรกิจค้าปลีกจะมีเรื่องคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึ่งจะต้องให้มีแผนเกี่ยวกับคนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกลูกจ้าง การพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยด้านประชากรและสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงได้มีกระบวนการซึ่งทำหน้าที่ค้นหาความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองประกอบด้วยการรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และตีความ เรียกกระบวนการนี้ว่า วิธีระเบียบวิจัยทางธุรกิจ
การวิจัยในบทนี้เป็นการหาสิ่งต่าง ๆ หาวิถีทาง เป็นการค้นหาความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงและนำผลที่ได้มาประมวลผลตามกระบวนการวิจัย จนได้สารสนเทศ (ข้อเท็จจริง)มาจัดทำแผนการตลาดเพื่อประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิผล
การวิจัยสำหรับธุรกิจค้าปลีกถือว่าเป็นสิ่งที่ยากจะปฏิบัติเพราะ ตัวผู้ประกอบการเองส่วนมากขาดความเข้าใจ อีกทั้งยังขาดความรู้ความสามารถในกระบวนการวิจัย สำหรับการวิจัยตลาดสำหรับธุรกิจค้าปลีกอาจทำได้จากการ สัมภาษณ์ลูกค้าหรือให้ลูกค้าตอบแบบสอบถามในเรื่องของระดับความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการ รสนิยม ทัศนคติ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย การวิจัยนี้เองจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบกลไกของตลาด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การวิจัยตลาดมีจุดประสงค์เพื่อ หาความต้องการของลูกค้าและสามารถเลือกส่วนเฉพาะของตลาดได้(Focus Group) ธุรกิจค้าปลีกที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่สามารถหาความต้องการของลูกค้าได้และเข้าใจความต้องการนั้น ตลอดจนเติมเต็มส่วนที่ขาด กล่าวคือ การวิจัยจะทำให้ผู้ประกอบการทราบลักษณะของลูกค้า รสนิยม ทัศนคติ รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการซื้อ ความชอบ ไม่ชอบ นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเป็นกลวิธีหนึ่งที่ธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้
4. สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที