1. กำหนดทิศทางของธุรกิจ มีเป้าหมายว่าอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะเป็นอย่างไร เช่นจะเป็นร้านขายจักรยานที่มียอดขายเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 15 ของยอดขายปัจจุบัน มีการวิจัยเพื่อหาความต้องการของลูกค้าทุก 3 เดือน เรียกว่า Mission หรือ พันธกิจ หมายความว่า จะทำให้ถึงที่หมาย ได้อย่างไรเป็นขั้นแรกหากสำเร็จ กำหนดขั้นต่อไป จนสำเร็จ ถึง ที่หมาย ที่หมายที่ว่านี้คือ Vision ซึ่งแปลว่า วิสัยทัศน์
2. ขั้นต่อไปคือเริ่มวิเคราะห์เกี่ยวกับการตลาด
คือ Product คือ สินค้า/บริการ สินค้ามีหีบห่ออย่างไร สามารถจับต้องได้เป็นรูปธรรมนามธรรม
Price คือ ราคาควรมีการวิเคราะห์ต้นทุนก่อนเสมอ
มีหลักการตั้งราคาอย่างง่าย ๆ คือ
การกำหนดราคา
ราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการดังกล่าว สำหรับราคาเป็นส่วนหนึ่งของส่วนผสมการตลาดที่อ่อนไหว (Sensitive) ต่อลูกค้ามากที่สุด
กล่าวคือ ถ้าหากในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงของราคาจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้ามากที่สุด นั่นเอง
ราคาเกิดจาก ต้นทุนของสินค้าบวกกำไรที่ต้องการการบวกกำไร ในการดำเนินธุรกิจจะต้องมีหลักการ เพื่อความเหมาะสมและยุติธรรมกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อจริยธรรมทางธุรกิจที่จะต้องมีเสมอเมื่อมีการซื้อขาย แต่ในสภาวะเศรษฐกิจแล้วเมื่อเศรษฐกิจเติบราคาจะมีแนวโน้มสูงตามไปด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมควรที่จะมีการกำหนดราคาจากหลักการ ดังต่อไปนี้
สมการ ราคาขาย = ทุน + กำไร เป็นพื้นฐานของการกำหนดราคา
การดำเนินการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม จะต้องมีการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเกิดขึ้น ดังนั้นจะต้องมีเกณฑ์ในการกำหนดราคา การกำหนดราคาควรมีหลักการที่ถูกต้องเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสถานการณ์ทางการตลาดเป็นหลักโดยที่ จะต้องอาศัยลักษณะที่สำคัญเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องพิจารณาก่อนตั้งราคา คือลักษณะของผลิตภัณฑ์ และการแข่งขัน ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดราคาจะต้องมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก
1.1 การแข่งขัน ถ้ามองปัจจัยด้านการแข่งขันลูกค้ามีอำนาจในการตัดสินใจซื้อหลังจากที่มีการเปรียบเทียบซื้อแล้ว โดยหลักการแล้วลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการต้องพิจารณาว่าคุ้มค่าหรือเกินมูลค่ากับเงินตราที่จ่ายไป ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมควรที่จะทราบว่าลูกค้าใช้เกณฑ์อะไรที่มาประเมินค่าสินค้าหรือบริการ ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากเพราะเป็นเรื่องของจิตใจ แต่ถ้ามีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับเงินที่ตราที่จ่ายไปลูกค้าจะซื้อ สำหรับการแข่งขันถ้าผู้ประกอบการร้านปลีกขนาดย่อมต้องการกำหนดราคาสูงกว่าคู่แข่งขันต้องมั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพมากกว่าคู่แข่งขัน ลูกค้าจะทำการเปรียบเทียบซื้อสินค้าก่อนซื้อเสมอผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดย่อมควรพิจารณาว่าสินค้าของตนและคู่แข่งขันเป็นสินค้าในตลาดแบบใด แม้ว่าผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดย่อมจะมีอิสระในการกำหนดราคาก็ตามแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสภาพตลาดทั้ง 4 ประเภท ดังนี้คือ
ก.ตลาดแข่งขันเสรี ลักษณะทั่วไป ตลาดจะประกอบไปด้วยผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ไม่มี
ผู้ขายรายใดมีอิทธิพลในการกำหนดราคา ดังนั้น ถ้าผู้ขายรายใดกำหนดราคาสูงยอดขายจะตกต่ำ ซึ่งก็จะเป็น
กฎอุปสงค์ อุปทาน นั้นเอง
ข.ตลาดแข่งขันกึ่งผูกขาด ลักษณะทั่วไป ตลาดประกอบด้วยลูกค้าเป็นจำนวนมาก สินค้ามีความหลากหลายราคาซึ่งผู้ขายจะมีการพัฒนาด้านรูปลักษณ์
ค.ตลาดผูกขาด ลักษณะทั่วไป ตลาดประกอบด้วยผู้ขายรายเดียวส่วนมากจะเป็นรัฐบาลผูกขาดเอง อาจจะมีการบริการต่ำกว่าทุนเพื่อสงเคราะห์ประชาชน ทั้งนี้รัฐบาลสามารถให้สัมปทานได้
เช่นไฟฟ้า น้ำประปา
ง.ตลาดผู้ขายน้อยรายกึ่งผูกขาด ลักษณะทั่วไป มีผู้ขายน้อยราย ผลิตและขายสินคาอย่างเดียวกัน ซึ่งผู้ขายเองต่างมีความระมัดระวังเรื่องการกำหนดราคา ส่วนมากเป็นสินค้าราคาแพง เช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งตลาดประเภทนี้ถือว่าเสมือนมีกำแพงในการกีดขวางคู่แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาดจากมูลค่าการลงทุนและมูลค่าของสินทรัพย์ถาวร
Place คือ ช่องทางการจำหน่าย มีการจำหน่ายทางใด เช่น วางขายตามห้างสรรพสินค้า วางขายตามตลาดนัด ทางอินเตอร์เน็ทเป็นต้น
Promotion คือ การส่งเสริมทางการตลาดการโฆษณา ระบุในแผนอย่างละเอียด
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที