มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 640959 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


ความสัมพันธ์ของกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

ในสถานศึกษาที่มีการนำระบบบริหารจัดการ ISO  9001  :  2000 มาใช้ในการบริหารจัดการ จะต้องจัดการกระบวนการต่าง ๆ  ให้สอดคล้องกัน   การจัดทำขั้นตอนการทำงาน  QP ของขั้นตอนแต่ละงานและจะต้องทำตามอย่างมีระบบและต่อเนื่อง  เพื่อความสอดคล้องจะต้องแสดงในคู่มือคุณภาพ QM
       

กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

                1)  นโยบาย

                      เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน  ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

                2)  ผู้รับผิดชอบ

                       ฝ่ายวางแผนและงบประมาณ

 

3)       หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(1)      ผู้บริหาร

(2)      ฝ่ายบริการ

(3)      ฝ่ายวิชาการ

(4)      ฝ่ายพัฒนานักศึกษา

(5)      ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

 

4)       การปฎิบัติและปฏิสัมพันธ์

4.1  งานประกันคุณภาพการศึกษา

        (1)  แต่งตั้งคณะกรรมการประจำมาตรฐาน / ตัวบ่งชี้

                ฝ่ายวางแผนและงบประมาณ  เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 

ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจะดำเนินการประสานงานกับทำมาตรฐานของตนเอง  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเก็บข้อมูล  / เอกสารหลักฐานในรอบปีที่ผ่านมา

(2)      การรวบรวมข้อมูล / เอกสารหลักฐาน

หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา  ประสานงานกับคณะกรรมการแต่ละมาตรฐานและหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง  เพื่อรวบรวมข้อมูล  เอกสารหลักฐาน  เพื่อนำมาจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง  (SSR) ของแต่ละฝ่าย

(3)      การจัดทำรายการการประเมินตนเอง  (SAR) 

งานประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกับคณะกรรมการประจำมาตรฐานวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารต่าง

  เพื่อจัดทำ  SAR พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการประเมินตนเอง

(4)      ส่งรายงานการประเมินตนเอง  (SAR)  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการขอรับการประเมินจาก สมศ.

โรงเรียนดำเนินการจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง  (SAR)   ให้หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เมื่อพร้อมรับการประเมินจัดทำหนังสือส่งไปยัง  สำนักงาน  สมศ.  เพื่อขอรับการตรวจประเมินคุณภาพจาก  สมศ. ต่อไป

4.2  งานกิจกรรม 5 ส

                (1)  แต่งตั้งคณะกรรมการ  5    และกำหนดพื้นที่ในเขตความรับผิดชอบของบุคลากร

                (2)  หัวหน้างานกิจกรรม 5 ส  จัดทำแบบฟอร์มการตรวจให้คะแนนและการตรวจสอบความถูกต้อง

ของแบบฟอร์มการตรวจให้คะแนน

(3)      หัวหน้างานกิจกรรม 5 ส  ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจพื้นที่ต่าง ๆ  ซึ่งกำหนดการตรวจ

ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3  ของเดือน

                                (4)  หัวงานกิจกรรม 5 ส  เก็บรวบรวมใบตรวจให้คะแนนทุกพื้นที่พร้อมบันทึกผลของคะแนนของแต่ละพื้นที่ทำไว้เป็นหลักฐาน

                                (5)  หัวหน้างานกิจกรรม 5 ส  สรุปผลการให้คะแนนของแต่ละพื้นที่ที่ได้รับทราบความก้าวหน้าในพื้นที่ของตนเอง  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงให้มียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                                (6)  นำเสนอรายงานผลการตรวจพื้นที่กิจกรรม 5 ส  เสนอผู้บริหารพร้อมประชาสัมพันธ์ติดป้ายประกาศบอร์ด  5 ส ต่อไป

                4.3  งานบริหารคุณภาพ  ISO  9001 : 2000

                                (1)  จัดทำโครงการอบรมระบบริหารคุณภาพ  ISO  เพื่อเพิ่มพูนความรู้  ความเข้าใจแก่บุคลากร 

                                (2)  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำคู่มือคุณภาพ  ISO  ให้มีความสอดคล้องตามข้อกำหนดพร้อมทั้งประกาศใช้คู่มือคุณภาพ

                                (3)  หัวหน้างานบริหารคุณภาพ  ISO   ดำเนินการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมินภายใน  โดยกำหนดการตรวจประเมินภายใน  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

                                (4)  หัวหน้างานบริหารคุณภาพ  ISO   ดำเนินการจัดทำแผนการตรวจประจำปี จัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการการตรวจประเมิน

                                (5)  หัวหน้างานบริหารคุณภาพ  ISO   สรุปรายงานผลการตรวจประเมินนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหาร  เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

5)       การเฝ้าติดตามและการวัดกระบวนการ

(1)      ตรวจสอบการรวบรวมข้อมูลใบตรวจให้คะแนนมีความสมบูรณ์ครบถ้วน  คณะกรรมการดำเนินการตรวจพื้นที่ต่าง ๆ  เป็นตามที่กำหนด

(2)      ตรวจสอบข้อมูล  หลักฐานเอกสารให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพ

(3)      แผนการตรวจประเมินประจำปี

 

6)       การเฝ้าติดตามและการวัดผลิตภัณฑ์

(1)      ผลการตรวจประเมินพื้นที่กิจกรรม 5 ส โดยประกาศบอร์ด 
5 

(2)      ข้อมูลหลักฐานเอกสารตามมาตรฐานและบ่งชี้มีความถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน

(3)      ผลการตรวจประเมินและผลการประชมุทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

 

7)       เอกสารที่เกี่ยวข้อง

(1)      แผนพัฒนาโรงเรียน

(2)      แผนปฏิบัติการประจำปี

(3)      สรุปผลการดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ

(4)      รายงานประจำปี  / รายงานการประเมินตนเอง

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที