ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 10 พ.ย. 2008 21.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252409 ครั้ง

บทความในส่วน ของ Cross Function Team นี้ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองนั้น มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แต่บทความที่เขียนนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ ที่ได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ได้ พยายามสร้างระบบคุณภาพ

ที่มุ่งสร้างพฤติกรรม การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กร โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น 4 ปี

บทความนี้จะเป็นการบันทึกประสบการณ์จากจุดเริ่มต้นจนสู่ความสำเร็จ ซึ่งหวังว่าจะผู้อ่านจะสามารถนำไปแนวทาง เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติ ในองค์กรของตนได้

13/10/2008 เรื่องเด่นวันนี้

ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมบทความเล็กๆ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดีหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยติชมด้วยทั้งจากผู้อ่าน และผู้รู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดครับ หรือผู้อ่านต้องการให้เสริมในมุมไหนผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


อุปสรรคที่ทำให้ระบบ Cross Functional Team ไม่ประสบความสำเร็จ



อุปสรรคที่ทำให้ระบบ Cross Functional Team ไม่ประสบความสำเร็จ

นโยบาย และวิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน
หากองค์กรใดที่มีนโยบาย และวิสัยทัศน์ที่ไม่ชัดเจน องค์กรนั้นไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ และการมีส่วนร่วมให้เกิดกับบุคลากรในองค์กรได้ เนื่องจากบุคลากรมองไม่เห็นทิศทางที่องค์กร  มองไม่เห็นเป้าหมาย และอนาคตขององค์กร

ผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ
ผู้บริหารไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ขาดจิตวิญญาณในการมีส่วนร่วมไม่มีภาวะผู้นำมากพอ มีบทบาทเพียงผู้ดูแลกระบวนการทำงานเท่านั้น  แสดงบทบาทผู้บริหารน้อยเกินไป ผู้บริหารที่จะต้องไม่ใช้วิธีชี้นำ แต่ก็สามารถปล่อยละเลย และขาดซึ่งความใส่ใจ ในงานด้านบริหารจัดการได้

ขาดการใส่ใจต่อวัฒนธรรมองค์กร:
เกือบทุกองค์กรมีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กร องค์กรที่ปราศจากซึ่งการใส่ใจต่อวัฒนธรรมที่มีอยู่ ละเลยการอบรม ทำให้บุคลากรขาดความเชื่อมมั่น, มองเห็นเพียงแต่ปัญหาไม่เห็นโอกาส หรือบางครั้งเห็นโอกาส แต่ขาดซึ่งการระวังเรื่องปัญหา, บุคลากรไม่มีความสุขในการทำงาน, ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง, ไม่ยอมรับความแตกต่าง, ซ่อนเร้นปัญหา, ปกป้องตัวเองมากกว่าการสร้างความให้แก่ผู้อื่น และที่เลวร้ายที่บุคลากรขาดความเชื่อมั่นต่อผู้นำ และระบบ


โครงสร้างองค์กรมีความซับซ้อนมากเกินไป:
ช่องว่างระหว่างผู้บริการ และระดับปฏิบัติการมีมากเกินไป ทำให้การรับทราบข้อมูลล่าช้าเกินไปทำให้เกิดการตัดสินใจช้า การตรวจสอบข้อมูลมีขั้นตอนมากไป มีเอกสารมากเกินไป เหตุการเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงไม่มีความใส่ใจมากพอ


การสื่อสารมีความบกพร่อง
เมื่อพนักงานมองไม่เห็นภาพร่วม และรู้สึกว่าตนเองนั้นไม่มีความสำคัญ รู้สึกว่าไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้บริหารระดับสูงคิดอะไรอยู่  ทำให้บุคลากรขาดซึ่งการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าขององค์กร บุคลากรขาดกำลังใจในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน บุคลากรนั้นทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวัน ไม่รับรู้ว่าทุกสิ่งที่ตนทำนั้นมีผลกระทบต่อองค์กรมากน้อยเพียงใด ทำให้เกิดความไม่ใส่สถานการณ์ขององค์กร ทำงานเฉพาะหน้าที่ของตนเท่านั้น

ทีมไม่เวิร์ค: 
ขาดความเชื่อในการทำงานเป็นทีม ไม่มีสำนึกต่อข้อตกลงที่มีร่วมกันในทีมไม่เข้าใจในเป้าหมายที่มีร่วมกัน ขาดวิญญาณของการร่วมมือร่วมใจ, ไม่เห็นภาพร่วมของกระบวนการบริหารงานข้ามสายงาน, ไม่มีความตกลงร่วมกันในทีม, ทีมไม่มีอำนาจบริหารอย่างแท้จริง ปัญหาทีมเวิร์คเกิดขึ้นหลายประเด็น เช่น เป้าหมายร่วมกันไม่ชัดเจน, ผู้นำขาดศักยภาพ, สมาชิกในทีมไม่ต้องการเล่นในบทบาทของตน, สมาชิกในทีมปิดกั้นความคิดเห็นของผู้อื่น, ทีมใหญ่เกินไป, ไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน

บุคลากรไม่เข้าใจเรื่องการจัดการมากพอ:
บุคลากรขาดความรู้ทั้งในเรื่องวางยุทธ์ศาสตร์ และการกำหนดกลยุทธ์, ขาดความเข้าในเรื่องการตลาด ไม่เข้าใจกระบวนการทำงาน, ขาดการสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้ และที่สำคัญที่พนังานมีทัศนคติที่เป็นลบ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที