ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 10 พ.ย. 2008 21.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252726 ครั้ง

บทความในส่วน ของ Cross Function Team นี้ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองนั้น มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แต่บทความที่เขียนนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ ที่ได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ได้ พยายามสร้างระบบคุณภาพ

ที่มุ่งสร้างพฤติกรรม การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กร โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น 4 ปี

บทความนี้จะเป็นการบันทึกประสบการณ์จากจุดเริ่มต้นจนสู่ความสำเร็จ ซึ่งหวังว่าจะผู้อ่านจะสามารถนำไปแนวทาง เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติ ในองค์กรของตนได้

13/10/2008 เรื่องเด่นวันนี้

ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมบทความเล็กๆ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดีหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยติชมด้วยทั้งจากผู้อ่าน และผู้รู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดครับ หรือผู้อ่านต้องการให้เสริมในมุมไหนผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


ภาวะผู้นำ กับ วงล้อคุณภาพ PDCA

ภาวะผู้นำ กับ วงล้อคุณภาพ PDCA

 

วงล้อคุณภาพ ของ Deming นั้น เป็นวงล้อเพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จากภาพวงล้อ PDCA คุณภาพจะเกิดขึ้นจากกระบวนการที่หมุนเปลี่ยนไป เพื่อให้เกิดการพัฒนา ในแต่ละขั้นตอนจะถูกวัดผลโดยตรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหา และสิ่งที่ไม่ได้คาดฝันซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นวงล้อ PDCA นี้จะถูกวัดผลอย่างตรงไปตรงมามากกว่าการประเมินเพียงคร่าวๆ และผลที่ได้จากกวัดประสิทธิภาพนั้นจะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุง และแก้ไขกระบวนการทำงานในอนาคต การวางแผน (Plan) จะต้องถูกคำนวณมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมาย, รวบรวบข้อมูล, และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถ้วนถี่ การลงมือทำ (Do) การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบ (Check) เป็นการวัดผลที่ได้เมื่อเป้าที่กำหนดไว้ตามแผน หากแผนมีการปรับเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อเป้าที่กำหนดไว้ในแผน และย่อมส่งผลต่อผลลัพท์ที่จะได้ด้วย แก้ไข และพัฒนา (Act)  นั่นคือผลที่ได้มาจากการตรวจสอบ (Check) เมื่อผ่านตรวจสอบ และวิเคราะห์แล้ว ข้อมูลที่ได้จะถูกสร้างหเป็นมาตรฐานเพื่อการพัฒนาต่อไป ผู้นำที่ชาญฉลาดจะนำวงล้อคุณภาพมาพัฒนาใช้เพื่อเพื่อศักยภาพในเกิดขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการทำงานในที่สุด ดังนั้นผู้บริหารที่มีสภาวะผู้นำจะต้อง

 

1.        มีประสบการ และสามารถนำข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์เพื่อประเมินอนาคตได้ สามารถบ่งชี้ปัญหา ทั้งเหตุแห่งปัญหา และแนวทางในแก้ไขปัญหาได้ โดยการทำการตัดสินใจนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลในเชิงลึก มากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเพียงผิดเผินเท่านั้น และแนวทางการแก้ไขนั้นต้องสามารถปรับเปลี่ยนเป็นแผนคุณภาพต่อไปได้

2.        วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือ และวิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถรวบรวม, จัดการ, และวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่าย ที่สำคัญทีสุดก็คือสื่อสาร และเข้าใจในทิศทางเดียวกัน หากปราศจากซึ่งหลักการแล้ว ก็ยากต่อการที่สมาชิกในทีมจะเข้าใจ และไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเหล่า และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายคุณภาพที่ตั้งไว้ได้


3.        เห็นเหตุแห่งปัญหา เหตุแห่งปัญหานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

a.        เหตุแห่งปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานซึ่งเกิดขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพงานทำงาน การแก้ไขปัญดังกล่าวนั้นก็คือการตรวจสอบกระบวนการตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดและทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการอย่างเหมาะสม

b.        เหตุแห่งปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากกระบวนการ ปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานปกติ การวิเคราะห์ปัญหานั้นจะได้มาจากเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (เช่น SWOT Analysis, Cash Flow Forecasting และ Risk Analysis เป็นต้น)

ดังนั้นผู้บริหารที่มีศักยภาพ และมีสภาวะผู้นำจะต้องสามารถแยกแยะปัญหาทั้งสองออกจากกันได้อย่างชัดเจน

4.        ต้องทำงานเชิงรุก  เพื่อป้องการปัญหาที่ต้นเหตุ มากกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ประสิทธิภาพขององค์กรจะต้องถูกพัฒนา มากกว่าการมุ่งเน้นในการลดต้นทุนอย่างไม่สมเหตุสมผล วงจรคุณภาพจะถูกนำมาเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้แผนนั้นสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

5.        ต้องมีมุมมองต่อปัญหามากกว่าสองมุมขึ้นไป ผู้บริหารจะต้องมองให้โอกาสในปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อมองเห็นโอกาสก็ไม่ควรละเลยที่จะต้องเล่งเห็นปัญหาที่อาจเกิดจากโอกาสที่มีได้ วงจรคุณภาพ PDAC นั้นจะก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นมาเพื่อให้องค์กรนั้นเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

6.        ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นกับผู้ใต้บังคับบัญชา สุดยอดผู้นำคือผู้นำที่สร้างผู้นำ การพัฒนาประสิทธิภาพเริ่มต้นโดยการลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงาน ไม่ใช่การเพิ่มกิจกรรมเพื่อให้เกิดคุณภาพ การปรับปรุงกระบวนการทำงานเป็นสิ่งแรกที่ควรถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่บุคลากร นี่คือบทบาทที่สำคัญของผู้นำ

 

ในสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การลดต้นทุนดูเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ และถูกนำมาใช้เพื่อความอยู่รอดขององค์กร การพัฒนาก็เช่นเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ต้องทำไปควบคู่กัน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะสั้น และระยะยาว สำนึก PDCA จะต้องเกิดขึ้นในจิตใจของบุคลากรทุกๆ คนในองค์กร การบรรลุซึ่งเป้าหมายนี้ แน่นอนที่สุดจะต้องมีการ สร้างความรู้ความเข้าใจ, การอบรม, การสร้างภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นและต้องถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่อง บุคลากรต้องเข้าใจบทบาท, หน้าที่ และกระบวนการทำงานของตนซึ่งมีผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กร เพื่อเกิดการดำเนินการ (Implement) ผู้บริหารที่มีสภาวะผู้นำ และต้องมีส่วนร่วมในการลด และพัฒนากระบวนการทำงาน ผู้บริหารจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้า และบริการจะสามารถตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และอนาคตได้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที