ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 10 พ.ย. 2008 21.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252673 ครั้ง

บทความในส่วน ของ Cross Function Team นี้ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองนั้น มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แต่บทความที่เขียนนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ ที่ได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ได้ พยายามสร้างระบบคุณภาพ

ที่มุ่งสร้างพฤติกรรม การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กร โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น 4 ปี

บทความนี้จะเป็นการบันทึกประสบการณ์จากจุดเริ่มต้นจนสู่ความสำเร็จ ซึ่งหวังว่าจะผู้อ่านจะสามารถนำไปแนวทาง เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติ ในองค์กรของตนได้

13/10/2008 เรื่องเด่นวันนี้

ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมบทความเล็กๆ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดีหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยติชมด้วยทั้งจากผู้อ่าน และผู้รู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดครับ หรือผู้อ่านต้องการให้เสริมในมุมไหนผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


วิถีทางสู่การสร้างทีม ตอนจบ: การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน



ขั้นตอนที่ 2
การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

ขั้นตอนนี้เป็น
การวิเคราะห์กระบวนว่ามีเป้าหมายย่อย ที่สามารถสนองเป้าหมายองค์กรหรือไม่? การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนั้น มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อความสำเร็จ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดได้แก่พันธสัญญาของทีมผู้บริหาร ทีมผู้บริหารนั้นประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ และหน่วยธุรกิจที่หลากหลาย การสร้างทีมเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง สมาชิกในทีมนั้นจำเป็นต้องมีความเกี่ยวของอย่างแท้จริง เป้าหมาย, บทบาท, และหน้าที่ของทีมอย่างแท้จริง การวางแผนทีมนั้นควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป้าหมายนั้นควรเป็นเป้าหมายระยะสั้น ซึ่งอย่างนั้นต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป ขั้นตอนต่อมาเป็นการนำบริหารกลยุทธ์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมองระบบการบริหารทั้งระบบขององค์กร โดยมุ่งเน้นทั้งกระบวนการทำงาน และระบบสนับสนุนภายในองค์กร

 

·        การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นผู้นำจะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ทั้งของตนเอง และผู้อื่น

·        ขจัด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรที่ซ้ำซ้อน และบริหารการเปลี่ยนแปลง

·        กำหนดวิสัยทัศน์ และภาระกิจที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งลูกค้า, ซัพพลายเออร์, องค์กร, และผู้ถือหุ้น

 

การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) จะช่วยให้บุคคลในองค์มองให้ภาพรวม นอกจากจะช่วยต่อการเข้าใจต่อบทบาท หน้าที่ของตนเองแล้ว ยิ่งไปกว่ายังช่วยให้บุคลากรรู้ว่าตนนั้นอยู่ตำแหน่งใดขององค์กร และสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติอยู่นั้นส่งผลต่อองค์กรในแง่มุมได้ซึ่งให้เขาเหล่านั้นพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพราะแผนกลยุทธ์นี้จะเชื่อมโยงสู่แผนการทำงาน ซึ่งแผนที่ได้มานั้นเชื่อมสู่กระบวนการตัดสินใจ และการบริหาร และพัฒนากระบวนการทำงานในที่สุด เครื่องมือบริหารอย่าง Balance Score Card เป็นเครื่องบริหารชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ และช่วยเรามองเห็นภาพรวมขององค์กร โดยเฉพาะการกำหนดเป้าตามมุมมองธุรกิจทั้ง 4 ตัวได้ แก่มุมมองทางการเงิน, มุมมองลูกค้า, มุมมองการจัดการกระบวนการภายใน และ มุมมองเรื่องการเรียนรู้ และเติบโต ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างทีมที่คุณภาพที่มีศักยภาพ และง่ายขึ้น ซึ่งขออนุญาตกล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป



การวางแผนกลยุทธ์

ผู้นำจะต้องเป็นคนที่กำหนดทิศทางโดยสามารถสร้างความชัดเจนไปสู่ 1.  วิสัยทัศน์ (Vision) -นั่นคือ ภาพความสำเร็จขององค์กรในอนาคต 2. ภารกิจ (Mission)  องค์กรนั้นดำรงอยู่เพื่ออะไร และอยู่เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ใคร 3. นโยบาย (Policy) – หลักการที่สะท้อนถึงคุณค่าขององค์กร, หลักการคุณภาพ และคุณค่าที่มีต่อผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่คนในองค์กรต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาในการทำงาน และสิ่งเหล่าจะต้องเชื่อมโยงสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร

 

ผู้นำจะใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ การพัฒนาองค์กรนั้นจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของการวงแผนกลยุทธ์ ด้วย (Plan) การเปลี่ยนแผนกลยุทธ์นั้นย่อมส่งผลต่อการดำเนินการ (DO) การเปรียบเทียบผลกับเป้าที่ตั้งไว้นั้น (Check) ก็จะนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาในที่สุด ซึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่ว่า ตัวชี้วัดนั้น (KPI) มีคุณภาพเพียงใด ข้อมูล (Information) ที่ได้จากการตัวสอบ Check และ มีข้อสรุป ในส่วนของการแก้ไข และพัฒนานั้นจะต้องมีความเหมาะสม เพื่อข้อมูลที่ได้มานั้นจะถูกนำไปกำหนดเป็นแผนใหม่เพื่อการปรับปรุง และพัฒนาต่อไป

 

การพัฒนาคุณภาพในขั้นตอนนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบบริหารขององค์กรทั้งระบบ ซึ่งการพัฒนาภาวะผู้นำควรถูกพัฒนาควบคู่กันไปด้วย กระบวนการทำงาน และสายการบังคับบัญชาจะต้องถูกทำให้กำชับ และชัดเจน เพราะการบริหารทีมคุณภาพจำต้องเข้าไปบริหารกระบวนการร่วมกันด้วย การตัดสินใจระดับปฏิบัติการจะนำไปสู่การตัดสินใจในทีม เพราะทีมเป็นผู้ที่ดูแลกระบวนการทำงานอยู่ ข้อมูล และรายงานจะต้องตอบสนองทีม เพื่อให้การการทำงานที่บรรลุเป้าหมายขององค์กร โครงสร้างองค์กรก็จะถูกพัฒนาไปสู่การบริหารงานเป็นทีมซึ่งมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า ระบบผลตอบแทนจะต้องชัดเจนโดยจ่ายผลตอบแทนตามผลการทำงาน (Performance) เป้าหมายทีม และเป้าหมายองค์กร เมื่อพบปัญหาสมาชิกในทีมจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา และมีการปรับแผนทันทีโดยยึดกระบวนการเป็นหลัก นั่นคือจะต้องตรวจสอบกระบวนการทั้งกระบวนการตามหลักของ Deming หากทุกทีมนองค์ยึดมั่นบนหลักการนี้องค์กรก็จะดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นแผนกลยุทธ์ที่ดี บวกกับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้บุคลากร ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้ หุ้นส่วนทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์, ผู้ถือหุ้น ร่วมถึง บุคลากรในองค์กร มีส่วนในการที่จะตอบสนองความต้องการลูกค้า การวางแผนกลยุทธ์นั้นก็เปรียบเสมือนพันธสัญญาที่มีร่วมกันของหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะสร้างสินค้า และบริการที่ดีสู่ตลาด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที