ปรารพ

ผู้เขียน : ปรารพ

อัพเดท: 06 ต.ค. 2008 13.43 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5468 ครั้ง

ทุกครั้งที่มีการประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย สิ่งที่ตามมาก็คือจำนวนเรือนแสนของนักศึกษาที่พลาดโอกาสการศึกษาต่อ
ในสถาบันที่ตนเองต้องการ และไม่ว่าจะเป็นเพราะระบบการสอบเข้า การเลือกคณะ หรือ


“ภาวะความเครียด” ที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเด็กและผู้ปกครอง

ความเครียดของเด็กไทย…จากระบบการศึกษาไทย
October 1st, 2008
kid_stress_aw.jpg
 

ทุกครั้งที่มีการประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย สิ่งที่ตามมาก็คือจำนวนเรือนแสนของนักศึกษาที่พลาดโอกาสการศึกษาต่อในสถาบันที่ตนเองต้องการ และไม่ว่าจะเป็นเพราะระบบการสอบเข้า การเลือกคณะ  หรือแม้กระทั่งความสามารถของตัวเด็กเองก็ตาม สิ่งที่ตามติดเป็นเงาตามตัวก็คือ   “ภาวะความเครียด” ที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเด็กและผู้ปกครอง ทั้งก่อนการสอบ และหลังการประกาศผล

แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น   มันได้กระจายลงไปถึงการสอบเข้าของเด็กนักเรียนที่อายุเพียงแค่สามสี่ขวบในชั้นอนุบาล เด็ก ห้าหกขวบในชั้นประถม หรือสิบเอ็ดสิบสองขวบในชั้นมัธยมด้วยแม้กระทั่งการสอบระหว่างภาคการศึกษา ก็ทำให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองเห็นพ้องต้องกันว่า ความรู้ที่ได้จากในรั้วโรงเรียนเพียงลำพัง คงไม่เพียงพอต่อการก้าวสู่ความสำเร็จในระยะยาวเสียแล้ว ไม่รู้ด้วยเหตุผลกลใด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ก็คือสถานศึกษาในระบบไม่ได้ให้ “ความมั่นใจ” กับผู้คนในสังคมอีกต่อไป

นี่คือปัจจัยทางจิตวิทยาที่ทำให้โรงเรียนกวดวิชาต่างๆเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด  ”การกวดวิชา”  กลายเป็นภาระและหน้าที่จำยอมของเด็กๆ ที่จะต้องหอบกระเป๋านักเรียนจากโรงเรียน มานั่งแออัดกันในเก้าอี้เล็กเชอร์ตัวเล็กๆตามโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังต่างๆ โดยหวังเพียงว่า จะทำให้ได้มาซึ่งเกรดที่สูงขึ้นเมื่อถึงเวลาสอบ

เป็นที่น่าหดหู่ไม่น้อย ที่ชีวิตของเด็กไทยยุคนี้ถูกครอบงำด้วยทัศนคติแห่งความหวาดหวั่น และความกลัวว่าจะด้อยกว่าคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เยาวชนมีชีวิตที่คร่ำเคร่ง เวลาส่วนใหญ่จมหายไปกับตำราเรียน  ความสนุกสนานตามวัย  และการได้วิ่งเล่นตามตรอกซอกซอยกับเพื่อนบ้านนั้น กำลังจางหายไปจากสังคมไทยอย่างน่าเสียดาย

ด้วยความที่ทัศนคติและความคาดหวังต่อ “การศึกษา” ในวันนี้ผูกติดกับ “ผลการสอบ” มากกว่า “ความสุขที่แท้จริงตามวัย”จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ “ความเครียด” ได้พัฒนากลายมาเป็นเงาตามตัวของเยาวชนไทยแทบจะในทุกระดับอายุ เราเริ่มได้เห็นได้ยินข่าวความน่าสลดใจของเยาวชนไทย ที่คิดสั้น เพียงเพราะผิดหวังจากคะแนนสอบบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ระบบการศึกษาของเรานั้นเดินมาถูกทางแล้วจริงหรือ ?

ชาติไทยเราวันนี้พัฒนาก้าวไกลไปอย่างมากในหลายๆด้าน แต่ในด้านการศึกษาและการเรียนรู้นั้น กลับมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เรากำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ควรจะเป็นหรือไม่” เยาวชนไทย โดยเฉพาะในวัยก่อนเข้ามหาวิทยาลัย  ถูกอัดฉีดในเชิงวิชาการอย่างเข้มข้น   ด้วยวิธีการโคลนนิ่งตำรับตำราเข้ามาใส่ในหัวสมอง   ท่องคำตอบที่ถูก   จำคำตอบที่ผิดก๊อปปี้สูตรสำเร็จ วิธีคิด และวิธีทำ ที่ครูสอนพิเศษทั้งย่อยให้และป้อนให้ …หากแต่วิธีการถ่ายทอดความรูู้แบบดังกล่าวนั้น หาใช่การเรียนรู้ในเชิงสร้างสรรค์ไม่ เพราะทั้งหัวสมองและหัวใจของเด็กไทยจะขาดแคลนซึ่ง “จินตนาการ” และ “ความกล้า” ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง


อ่านต่อ........................

เป็นอีกบทความ....อีกแนวคิดหนึ่ง.....จากTCDCCONNECT.COM นะครับ

ขอบคุณ
www.tcdcconnect.com

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที