มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 พ.ย. 2008 16.55 น. บทความนี้มีผู้ชม: 501006 ครั้ง

สถาบันการศึกษาเอกชนในยุคปัจจุบันจะต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อการแข่งขันกับสถาบันของรัฐ หรือแม้แต่เอกชนด้วยกันเองเพราะเนื่องมาจากพลวัตรของโลกการศึกษาที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เช่น มีการขยายโอกาสรับนักศึกษามากขึ้น โอกาสจากนโยบายการให้เงินกู้เพื่อการศึกษา ตลอดจน มีการเปิดหลักสูตรใหม่และเพิ่มจำนวนนักเรียนนักศึกษามากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องปรับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการอย่างมากเพื่อความอยู่รอดและอยู่ได้ ดังนั้นหากประยุกต์ระบบบริหารจัดการ ISO มาใช้จะเป็นไปได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร


ขั้นตอนหลังจากการทำ IQA จะต้องทำอะไรต่อไป

   หลังจากการทำ   IQA  แล้วเมื่อพบสิ่งที่ตรวจพบ จะต้องมี  การแจ้งให้ผู้บริหารทุกระดับทราบเพื่อร่วมหาทางแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ  โดยQMR   จึงต้องมีการจัดให้มี          การประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหาร  โดยรายละเอียดมีดังนี้
                  1)  นโยบาย

                       เพื่อเป็นการทบทวนโดยฝ่ายบริหารกำหนดให้ได้รับการทบทวน  โดยผู้บริหารระดับฝ่าย / หน่วยงาน โดยผู้อำนวยการและผู้จัดการมีหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องการทบทวน  รวมทั้งเรื่องที่มีการตรวจพบสิ่งผิดปรกติที่จะส่งผลให้เกิดปัญหา  ผิดข้อกำหนด  ของระบบบริหารจัดการ   และมอบหมายภารกิจต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการทบทวนให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ

                    2)  ผู้รับผิดชอบ

                         ชื่อ ฝ่ายที่รับผิดชอบ  เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

 

                    3)  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                        ชื่อ ฝ่ายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่ตรวจพบสิ่งผิดปรกติ

                     4)  การปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์

                          ลักษณะการทบทวนของฝ่ายบริหารมีดังนี้

1.    การทบทวนแบบสามัญ  เป็นการทบทวนตามปกติซึ่งต้องมีการจัดทบทวน  ภาคเรียนละครั้งประเด็นของการทบทวน  กำหนดเรื่อง  หรือวาระการประชุม  และหน่วยงานที่รับผิดชอบ  มีดังนี้

ผลการดำเนินงาน  ตรวจประเมินภายในทุกฝ่าย  : QMR

การติดตามผลการประชุมและมอบหมายงานครั้งที่แล้ว  : QMR

การเปลี่ยนแปลงใด  ๆ ที่อาจมีผลต่อระบบบริหารคุณภาพ  : ทุกฝ่าย

สถานการณ์ปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน  : ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง  :  ทุกฝ่าย  (หัวหน้างาน)

ข้อมูลป้อนกลับจากลูกค้า  :  งานประชาสัมพันธ์

ประสิทธิภาพของกระบวนการและความเป็นไปตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์  : ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

โดยตัวแทนฝ่ายบริหารออกหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน กรณีคณะกรรมการท่านใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ต้องแจ้งเหตุผลให้ตัวแทนฝ่ายบริหาร  ซึ่งเลื่อนการประชุมหรือให้ดำเนินการให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการบริหาร  ปัญหาต่าง ๆ  ทุกปัญหาจะต้องได้รับข้อยุติ  หรือแนวทางแก้ไข  ปรับปรุงหรือมอบหมายให้ดำเนินการจากการที่ประชุมชี้ขาด  ให้เป็นดุลยพินิจของประธานในที่ประชุม  ผลจากการทบทวนจะถูกบันทึกเป็นรายงาน    ผลจากการทบทวนจะต้องครอบคลุมถึงการตัดสินใจ  ผลการประชุมจะดำเนินการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนรับทราบ  โดยติดไว้ที่บอร์ดที่กำหนดไว้ประมาณ  1 เดือน

                     การทบทวนแบบพิเศษ  เมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น  หรือมีปัญหา  ที่มีแนวโน้มคาดว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น  ฝ่ายบริหารสามารถเรียกประชุมทุกฝ่ายได้ตลอดเวลา  และมอบอำนาจองค์ประกอบประชุมตามเหมาะสม  โดยฝ่ายที่เสนอปัญหาหรือผู้ที่รับผิดชอบนั้น    เป็นเลขานุการในที่ประชุม  ในการบันทึกการประชุมติดตามงาน

                    การทบทวนย่อย  (การประชุมประจำเดือน)  เป็นการทบทวนผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา  โดยตัวแทนฝ่ายบริหารเป็นประธานและกำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง  ซึ่งการประชุมย่อย  แบ่งระดับการประชุมดังนี้

3.1     การประชุมระดับหัวหน้างานทุกงาน  ทุกฝ่าย  :  ทุกฝ่าย

3.2     การประชุมบุคลากรทุกคน  :  ครูเจ้าหน้าที่

                การประชุมย่อยทุกระดับ  กำหนดวันประชุมโดยแจ้งให้ทราบเป็นประกาศของโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน  ปัญหาต่าง ๆ ทุกปัญหาจะต้องได้รับข้อยุติหรือแนวทางแก้ไขปรับปรุง  หรือมอบหมายให้ดำเนินการจากที่ประชุม 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที