เด็ก ๆ

ผู้เขียน : เด็ก ๆ

อัพเดท: 06 ก.ย. 2008 00.23 น. บทความนี้มีผู้ชม: 26640 ครั้ง

แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการ ที่ควรอ่าน


ตัวการที่ทำให้ การใช้เงิน ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ ดอกเบี้ย

 


วันจันทร์ ที่ 10 มีนาคม 2551
ตัวการที่ทำให้ การใช้เงิน ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือ ดอกเบี้ย  ผู้อ่าน : 75 , 00:38:44 น.


แทนที่เราจะจ่าย ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล แบบให้กันเป็นตัวเงินเปล่า ๆ เราควรจะมีการนำดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย ไปทำการบริโภค ผ่านทาง เจ้าหนี้ เพื่อให้เกิดการผลิต และการจ้างงานตามหลักเศรษฐศาสตร์ จึงจะถูก


ผมขอให้อ่านเรื่อง การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ในเรื่อง รูปแบบของกองทุนแบบใหม่ในช่วงท้าย ของบทความนะครับผมดีใจครับ ที่มีคนเข้าใจ ปัญหา และ สามารถเสนอแนวทางแก้ไข



ยกตัวอย่างเช่น


ถ้าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 1000 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ส่วนเจ้าหนี้ มีอาชีพขายปลาทู เข่งละ 10 บาท ดังนั้นแทนที่เราจะให้เงินจำนวน 1000 บาท แก่เจ้าหนี้เปล่า


เพราะเห็นว่าจะไม่ส่งผลต่อ การผลิต และ การจ้างงาน


 


ดังนั้น เราก็ควรที่จะ นำเงินจำนวน 1000 บาท ไปซื้อปลาทูกับเจ้าหนี้ ซึ่งเราจะได้ปลาทูจำนวน 100 เข่งซึ่งจะเป็นการช่วยให้ เกิดการผลิต และ การจ้างงาน ต่อประชาชนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ เพราะเราได้ใช้ ทรัพยากรณ์ (เงิน) ที่มีอยู่อย่างประหยัดให้เกิด ประโยชน์สูงสุดเพราะนอกจากจะทำให้เกิดการ ผลิต และ การจ้างงานแล้ว


ลูกหนี้ ก็ยังสามารถ เกิดการนำเงินดังกล่างไป บริโภค (ซื้อปลาทู)ส่วนเจ้าหนี้ ก็ได้กำไร (รายได้เพิ่ม) จากการค้า (ปลาทู) ซึ่งทำให้เกิดการหมุนของเงิน และ เป็นการสร้าง ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อย่างแท้จริง


แต่ขึ้นอยู่กับว่า กฏที่ผมตั้งขึ้น ซึ่งเป็นกฏที่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เจ้าหนี้ จะยอมเล่นด้วยหรือเปล่า


เพราะกฏดังกล่าว เป็นการทำให้เจ้าหนี้สูญเสียผลประโยชน์เนื่องจาก ทำให้พวกเค้าได้ครอบครองเงินน้อยลง


หรือมีอีก วิธีหนี่งที่ใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ สถานการณ์ ต่างกัน กล่าวคือถ้าลูกหนี้ต้องการจ่ายดอกเบี้ย แต่ปรากฏว่า เจ้าหนี้ไม่ได้ขายสินค้าที่ลูกหนี้ต้องการหละ


ปัญหานี้จะมีทางแก้อย่างไรวิธีก็ไม่ยาก กล่าวคือลูกหนี้ก็ สั่งซื้อสินค้าผ่านทางเจ้าหนี้


ซึ่งอาจใช้แนวคิด การค้าแบบโลจิตติส ที่ผมคิดค้นขึ้นมา เป็นตัวสร้างความสะดวกให้แก่การซื้อขายก็ได้จากนั้นเมื่อลูกหนี้สั่งซื้อสินค้า ผ่านเจ้าหนี้


เมื่อมีคนมาส่งสินค้าให้แก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้จะทำการบวกกำไร กับ สินค้าที่ลูกหนี้ได้รับ เพราะถือว่าเป็น บริการชนิดหนึ่ง ก็ได้ (ถือเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ  มากกว่า   การจ่ายดอกเบี้ย (ให้เปล่า ๆ)


หรือ จะคิดอัตราค่าบริการ ต่างหากเลยก็ได้


เช่น


 เมื่อลูกหนี้มาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่าน เจ้าหนี้ จะคิดค่าบริการสั่งซื้อสินค้าจากลูกหนี้ครั้งละ 10 บาท อะไรทำนองนั้น


ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถช่วยให้ ลูกหนี้ ไม่ต้องจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้กับ เจ้าหนี้เปล่า


ยกตัวอย่างเช่น ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 1000 บาท ลูกหนี้สามารถสั่งซื้อสินค้าจำนวน 1000 บาท จากเจ้าหนี้ จากนั้นเมื่อลูกหนี้ได้รับสินค้า ลูกหนี้จะถูกหักค่า บริการจัดหาและจัดส่งสินค้า จำนวน 10 บาท เป็นต้น


THE END


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที