editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 15 ต.ค. 2006 17.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 18166 ครั้ง

มากำจัดจุดอ่อนของการทำ TPM กันครับ


คืออะไร

จุดอ่อนของการทำ TPM ได้แก่

1. เพราะเนื่องจากต้องการเปลี่ยนพนักงานเดินเครื่องให้เป็นช่าง  และต้องการให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษามาตราฐานการผลิตให้ได้ทั้ง man machine method material  ดังนั้นจึงเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานมากกว่าจะคืบหน้า  3-4 ปี เพื่อทำการ Reconditioning  อีก 3-4 ปี เพื่อ improvement  และ อีก 3-4 เพื่อเพิ่มยอดขาย และเพิ่มกำไร

2. เป็น Top down management  ซึ่งเป็นทั้งข้อดี และเสีย  คือถ้าผู้บริหารเอาจริง เอาจัง ก็จะได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ  เพราะต้องทำการบำรุงรักษา และปรับปรุงมาตรฐานทั้ง man machine method material อย่างต่อเนื่อง  แต่อาจทำให้ผู้บริหารเบื่อหน่าย  ถ้าไม่รู้จริง  ก็ถอดใจ  ระบบก็จะอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว  เพราะไม่สามารถสร้างพนักงานระดับล่างให้มีความแข็งแกร่งได้

3. ใน part แรก จะเป็นการทำ Reconditioning ระบบต่างๆของการผลิต  ถ้าเครื่องจักรเสียหายมาก หรือเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานมาก  การใช้เงินเพื่อซ่อมบำรุงให้เครื่องจักรมีสภาพกลับสู่สภาพเดิมต้องใช้เวลามากและนานในช่วงเริ่มต้น  จนทำให้ผู้บริหารเข้าใจผิด ล้มความตั้งใจไปอย่างง่ายๆ

4. การเปลี่ยนพนักงานเดินเครื่องให้เป็นช่าง เป็นเรื่องที่ยากมาก ถ้าพนักงานเหล่านั้นไม่ได้จบสายช่างมา

5.โรงงานที่ได้รับการปรับสภาพ และปรับปรุงมาตรฐานการผลิตทั้ง 4 M มาแล้วอย่างดี ซึ่งใช้เวลานานมากกว่า 5-6 ปี และมีการทุมเทแรงกายแรงใจไปอย่างมากมายแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับประกันความอยู้รอดขององค์กรได้ 100% ถ้าแผนกอื่นๆที่เหลือของ supply chain ยังมีปัญหา คือ  เช่น ฝ่ายขาย ขายของไม่ได้  ไม่มีประสิทธิภาพ บริการลูกค้าไม่ประทับใจ  หรือจัดส่งส่งของล่าช้า หรือไม่ใส่ใจดูแลสินค้าระหว่างเก็บสต๊อค และข่นส่ง  ทั้งๆที่ฝ่ายผลิต ผลิตสินค้าได้ตามแผน และผลิตของมีคุณภาพมาแล้วอย่างดี เป็นต้น


ดังนั้นการทำ TPM จึงต้องทำอย่างต่อเนื่องในการบำรุงรักษาทั้ง 4 Ms ให้เป็นมาตรฐาน และต้องปรับปรุงตลอดเวลา เพื่อพัฒนาให้เหนือกว่าคู่แข่งตลอดเวลา  อีกทั้งต้องขยายผลไปยังทุกๆแผนก  และทุกๆคนในองค์  เป็นงานที่มาก  ยาก และอาจมีการต่อต้าน  เพราะเป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร   คนที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง แม้ไม่ต่อต้านโดยตรง  แต่ก็อาจไม่ให้ความร่วมมือ  หรือร่วมมืออย่างไม่เต็มใจ

เมื่อโรงงานลดความสูญเสียลงได้  ก็จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า(ความพอใจ, satisfy)ได้ในเรื่อง
1. Quility 
2. Cost 
3. Delivery
    3.1 Right Kind of Good
    3.2 Right Volume
    3.3 Right Time(on time)
    3.3 Right service(good service)
4. Innovation (New product, new technology)

แต่ก็ไม่เต็มร้อย  เพราะสินค้าที่อยู่ในคลัง  โกดัง  ระหว่างขนส่ง  ในชั้นขายของ  ในบ้านลูกค้า อาจมีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยในการรักษาสภาพให้สินค้ามีสภาพได้ตามมาตรฐานได้ตามที่ตั้งใจให้เป็น  TPM  ต้องการขยายขอบข่ายปรับปรุง ไปยัง supply chain  ซึ่งเริ่มจาก ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ต้องเข้าใจว่า ลูกค้าพอใจ อะไร และไม่พอใจอะไร อย่างแท้จริง  เพื่อทำให้ทราบ Demand ของลูกค้า  แล้วทำการโน้มน้าวให้ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้า  มีความผูกพันกับสินค้า  แล้วหาทางตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้น  โดยถ่ายทอดลงไปในแผนกต่างขององค์กร  รวมไปถึง suppliers ขององค์กรด้วย  เพื่อให้ทุกๆคนร่วมมือร่วมใจกันเต็มที่ อย่างเต็มใจ และเต็มความสามารถ เพื่อทำให้ลูกค้าพอใจ  จะเห็นได้ว่า TPM ขั้นสูง ดูเหมือนเข้าสู่อุดมคติ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก  ที่ต้องทำให้ทุกๆเข้าใจ  และร่วมมือกันทำ  ผู้บริหารมีความสามารถมากเพียงใดที่จะกระตุ้นพนักงานพร้อมใจกันพลักดันกิจกรรมให้เป็นไปตาม TPM กำหนดไว้  ซึ่งมีเป้าหมายที่เข้มงวดมากๆ  เช่นของเสียเป็นศูนย์  อุบัติเหตุเป็นศูนย์  เครื่องเสียเป็นศูนย์  หยุดเล็กหยุดน้อยของเครื่องเสียเป็นศูนย์  เป็นต้น  ถ้าผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญไปที่ลูกค้าอย่างจริงจัง  โอกาสที่จะทำให้การสูญเสียเป็นศูนย์จะยากมาก เพราะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก  และต้องมีความรู้เรื่องศาสตร์ต่างๆมากๆ(Knowledge)  และต้องรู้ว่าทำไมต้องนำเอาความรู้นั้นมาทำไปให้เกิดประโยชน์อะไรต่อองค์กร (Knowwhy)  และต้องรู้ลึกที่จะวิเคราะห์ปัญหาได้ถึงราก ถึงแก่นของปัญหา รู้วิธีนำเอาศาสตร์ความรู้ที่เรียนรู้มาประยุกต์เพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อขจัดมันให้สิ้นซากไป (Knowhow)  ที่กล่าวมาเป็นเรื่องยากที่จะสร้างคนในองค์กรทำได้เช่นนั้น  โดยเฉพาะผู้บริหารถ้าไม่มีความเข้าใจ  และตั้งใจจริง  มันยากที่จะสร้างให้คนในองค์กรมีคุณสมบัติที่เพียงพอได้ตามกล่าวมาแล้ว


ขอขอบคุณคำอธิบายดี ๆ จาก คุณ Suwan S. 
คัดลอกจากกระดานสนทนา TPM ของส.ส.ท. 
(ตั้งคำถามโดย คุณศิริพร)

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที