East Asian Actuarial Conference ครั้งที่ 14 หรือที่เรียกกันว่า EAAC ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี สำหรับให้เป็นที่ชุมนุมของ Actuaries ที่อยู่ในแถบภูมิภาคนี้โดยเฉพาะ ในปีนี้พวกเรากว่า 600 ชีวิตก็ได้ไปรวมพลกัน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างวันที่ 9 12 ตุลาคม 2550 ในงานนี้เราได้เห็น Qualified Actuaries จากประเทศต่างๆ ในแถบภูมิภาคนี้ มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงวิชาการกันอย่างมีสีสันทีเดียว และแต่ละประเทศก็ได้เอาบทความหรืองานวิจัยมาประชันกัน ผมซึ่งได้รับเกียรติให้เขียนบทความและทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายคนหนึ่งในงานนี้ จึงขอโอกาสมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อแบ่งปันประสบกาณ์จากการสัมนาในครั้งนี้ ครับ
(ภาพห้าแยกชินจูกุ-ที่เดินของแหล่งวัยรุ่นและแฟชั่นที่ให้ความรู้สึกคล้ายกับสยามบ้านเรา)
เจ้าภาพงานนี้ คือ The
· ประกันวินาศภัย ซึ่งมีประเด็นเรื่องภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิ หรือไต้ฝุ่น
· ประกันชีวิต โรคระบาดต่าง ๆ รวมถึง SARS และโรคไข้หวัดนก
· บำนาญ ประชากรส่วนใหญ่ในแถบเอเชียจะมีอัตราการเกิดน้อยลง ยังผลให้เริ่มมีแต่ประชากรสูงอายุมากขึ้น
ในช่วงเช้าวันแรก เป็นการนำเสนอ Country report ของแต่ละประเทศในภูมิภาค ซึ่งได้กล่าวถึง ข้อมูลด้านประชากร ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ข้อมูลสถิติสำคัญของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ตลอดจนถึงการกำกับเรื่องเงินสำรอง (Reserve) และความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท (Solvency Margin) ของประเทศนั้น ๆ ทำให้ทุกคนได้แบ่งปันข้อมูลข่าวสารถึงสภาพความเป็นไปและแนวโน้มในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในแต่ละประเทศอย่างคร่าวๆ ได้
ผมขอพูดถึงหัวข้อซึ่งเป็นที่สนใจและกล่าวถึงกันมากในปัจจุบันสัก 2-3 หัวข้อ ดังนี้ครับ
1. Product Development
ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งบทความทางด้านนี้มามาก สิ่งที่ต่างจากประเทศไทยคือ ผลิตภัณฑ์ของเค้าจะเป็น 1) Pension และ 2) Variable annuity ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทยนัก เนื่องจากญี่ปุ่นมีอัตราดอกเบี้ยจากเงินฝากต่ำมาก มีภาวะการแข่งขันสูง และมีการส่งเสริมการวางแผนการออมเพื่อเกษียณของประชาการสูงอายุ จึงไม่แปลกที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์หลักในญี่ปุ่น อีกทั้งแบบประกันภัยจะไม่มีการการันตีผลตอบแทนของผู้ถือกรมธรรม์ ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับการลงทุนที่บริษัททำได้ ตามนโยบายของ ผู้ถือกรมธรรม์ที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ เช่น เลือกแนวการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เป็นต้น
ทาง Munich Re ยังได้นำเสนอโอกาสและความท้าทายของธุรกิจประกันวินาศภัยสำหรับ Takaful และ Retakaful รวมทั้งตัวอย่างของมาเลเชียซึ่งมีผลิตภัณฑ์ Takaful ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นแบบประกันชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวมุสลิม แบบประกันนี้มีโครงสร้างสอดคล้องกับ Mutual company แต่จะไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะรูปแบบ Takaful ไม่ได้การันตีว่าจะจ่ายเงินคืน ถ้าเงินกองทุนไม่เพียงพอ บริษัทประกันภัยจะทำหน้าที่เหมือนคนประสานงานคอยรวบรวมเงินและจ่ายเงินให้กับผู้ประสบภัย ดังนั้นรายได้และวิธีการลงบัญชีของบริษัทประกันภัยจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะแตกต่างจากแบบประกันทั่วไปอย่างมาก
เกาหลีใต้ได้นำเสนอ Long Term Care ซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา และเริ่มเข้ามาในแถบเอเชียเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งนี้ก็คงขึ้นกับเวลาว่าตลาดในเมืองไทยพร้อมที่จะมีผลิตภัณฑ์แบบนี้หรือไม่ ผลิตภัณฑ์นี้คุ้มครองค่ารักษาจากการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทุพพลภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ แต่คนทุกวัยก็สามารถซื้อได้
สิงคโปร์ก็ได้มีการพัฒนาแบบประกันที่มีส่วนร่วมในเงินปันผลไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งมีความโปร่งใสกับลูกค้ามากขึ้น และจ่ายเงินปันผลโดยขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทจริงๆ
2. Actuarial Methodologies
ทางประกันวินาศภัย มีการนำเสนอลงลึกไปถึงการใช้ Loss Model & Credibility ในการคำนวณต้นทุนความเสียหายและเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยรถยนต์ อันนี้มีเกาหลีใต้เป็นกรณีศึกษา ซึ่งน่าสนใจมากทีเดียว นอกจากนี้ยังมี 2 บทความในเรื่องการคำนวณเงินสำรองค่าสินไหมทดแทน นำเสนอโดยญี่ปุ่น รวมถึงอีกหนึ่งบทความที่กล่าวถึงความท้าทายในการคำนวณ IBNR ภายใต้ International Financial Reporting Standards (IFRS) ซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาเขย่าทั้ง Life & Non-Life Actuaries บ้านเรา
ฝั่งประกันชีวิตไม่น้อยหน้ามีการนำเสนอ 2 เรื่องที่ว่าด้วยเรื่องอัตรามรณะ เช่น มีการนำเสนอ Mortality Models ที่ใช้ในญี่ปุ่นซึ่งตอบสนองต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุของเขาเอง
3. Solvency Regulation and International Accounting Standards
ในงานนี้หัวข้อซึ่งเป็นที่สนใจและมีผู้เข้าฟังอย่างมาก คงจะไม่พ้น International Accounting Standards ซึ่งนานาประเทศเริ่มจะปรับเข้าไปในแนวทางนี้แล้ว และมีเป้าหมายจะเริ่มบังคับใช้อีก 4 ปีข้างหน้า โดยหัวข้อที่มีในสัมนาในงานนี้ได้บรรยายถึงเรื่องการพัฒนาของ International Accounting Standards ข้อถกเถียงต่าง ๆ ในการคำนวณเงินสำรองโดยใช้ Fair Value Approach รวมทั้งบทบาทของ Actuaries ในเรื่องนี้
นอกจากนี้การนำเสนอในหัวข้อเรื่อง Risk-Based Capital Framework ของประเทศมาเลเซีย โดยผู้แทนของ Bank Negara ก็เรียกผู้ฟังได้อย่างเนืองแน่น มาเลเซียได้ใช้เวลาพัฒนาเรื่องนี้มาประมาณ 3 ปีแล้ว และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2008 ใจความสำคัญที่จับได้จากสัมนาอยู่ที่ว่ากรอบ RBC ของมาเลเซียได้นำเอาของสิงคโปร์มาปรับใช้ แล้วเพิ่มบางเทคนิคในการประเมินหนี้สินที่ใช้กันอยู่ของสหรัฐอเมริกาเข้าไปเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้น (ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดของมาเลเซีย ทำให้ยากในการนำไปใช้ และอาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์) โดยกรอบ RBC ของมาเลเซียมีความซับซ้อนและทำให้มีความไวต่อภาวะตลาดมากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัว
สัมมนาเสร็จก็เที่ยวเลย....
จากนั้นก็กิน กิน กิน กิน กิน......
ในครั้งนี้ประเทศไทยโดยผู้เขียนได้นำเสนอเสนอเรื่อง Observation of Risk-based capital for development of solvency margin of Thailand ซึ่งเชื่อว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้เข้างานรวมทั้งเป็นของฝากให้กับท่านผู้อ่านด้วย โดยในบทความก็จะกล่าวถึงตั้งแต่วัตถุประสงค์กับความจำเป็นในการทำ Risk-Based Capital หรือ RBC สำหรับบ้านเราขึ้นมา ในบทความยังได้พูดถึงรูปแบบและการพัฒนาของ RBC ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นการชำแหละแบบต่างๆ ของ RBC เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ใช้กันอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเก่า ๆ ที่ได้มีการพัฒนามานาน ก่อนหน้าที่จะเป็นรูปแบบล่าสุดตามแบบ International Accounting Standards ที่ในต่างประเทศจะเริ่มใช้ในอีก 4 ปีข้างหน้า
ประเทศต่างๆ ที่ได้ผู้เขียนเลือกมาวิเคราะห์ในบทความนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และจีน ซึ่งบางประเทศผมได้เลือกที่จะวิเคราะห์รูปแบบเก่าๆ ของเค้ามาดู อาทิเช่น ใช้ S&Ps Risk Based Capital ฉบับปี 2005 เป็นต้น เพื่อให้เราสามารถสังเกตได้จากทุกมุมทั่วโลก จากนั้นในบทความก็ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีและไม่มีหรือความพร้อมของประเทศไทย อะไรคือสิ่งที่ทำได้ในตอนนี้และอะไรคือสิ่งที่ควรจะต้องสร้างรากฐานให้แข็งแกร่งก่อนที่จะเดินต่อไป สุดท้ายก็ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะและเป้าหมายที่น่าจะเป็นไปได้ในขั้นต่อไป แน่นอนว่าเรื่อง RBC นี้ Actuaries ต้องเข้ามามีบทบาทสูงมาก พยายามตามติดสถานการณ์กันดี ๆ นะครับ
บทความนี้ได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปหาอ่านได้ที่ www.thaiactuary.org หรือ www.iprbthai.org เนื้อหาประมาณ 40 หน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนจะพยายามทยอยแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยจะลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก และสร้างความเข้าใจในการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้งานได้มากขึ้น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้ผู้เขียนได้มีบทความชิ้นนี้สู่เวทีนานาชาติ ซึ่งหวังเป็นอย่างสูงว่าจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเราด้วย
EAAC ถือเป็นกิจกรรมสำคัญและเป็นประโยชน์มากกิจกรรมหนึ่งสำหรับ Actuaries ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกันภัยของคนในเอเชียถึง 3,300 ล้านคน รายละเอียดของงาน รวมทั้งเอกสารทางวิชาการอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทั้งหมด ที่นำเสนอตลอดระยะเวลา 3 วัน ท่านสามารถเข้าอ่านได้ที่ http://www.eaac14th.com/ ครั้งต่อไปของ EAAC คือปี 2552 มีประเทศเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ หวังว่าจะได้พบ Actuaries ที่ทำงานในประเทศไทยที่นั่นมากขึ้นนะครับ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที