เด็กข้างวัด

ผู้เขียน : เด็กข้างวัด

อัพเดท: 27 ม.ค. 2009 19.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 277756 ครั้ง

มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ


ตอนที่ 3 แนะนำตัว

ได้เวลาแนะนำตัวให้เพื่อนชาวญี่ปุ่นได้รู้จักกันแล้ว มาดูกันว่าคนญี่ปุ่นเขามีวิธีการแนะนำตัวเองอย่างไร

ขั้นแรกต้องบอกชื่อเสียงเรียงนามกันซะก่อน

รูปประโยคมีอยู่ว่า Noun 1Noun 2 です。

ตัวอย่างเช่น
わたしパクポングです。 Watashi wa Pakpong desu ผมชื่อภัคพงศ์ครับ
わたしヌーヒンです。 Watashi wa Nuhin desu ฉันชื่อหนูหิ่นค่ะ

* ส่วนที่เป็น Noun 2 สามารถใส่ชื่อตัวเองลงไปได้เลย

แต่หากจะให้สุภาพหน่อย ก็พูดว่า
わたしはパクポングともうします。 Watashi wa Pakpong to moushimasu
わたしはヌーヒンともうします。 Watashi wa Nuhin
to moushimasu

โดยเปลี่ยนจาก です (desu) เป็น ともうします (to moushimasu) จะทำให้ดูอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น และคำว่า ともうします (to moushimasu) มักจะใช้กับการแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ เช่น การแนะนำตัวในธุรกิจ หรือกับคนที่เราไม่รู้จักมาก่อน เป็นต้น

จากนั้นก็บอกว่าตัวเองเป็นใคร

เรายังใช้รูปประโยคเดียวกับการแนะนำชื่อตัวเอง ตัวอย่างเช่น

ถ้าคุณเป็นคนไทยก็บอกว่า
わたしはタイじんです。 Watashi wa taijin desu

ถ้าคุณเป็นคนญี่ปุ่นให้บอกว่า
わたしはほんじんです。 Watashi wa nihonjin desu

และถ้าคุณเป็นคนอเมริกาก็บอกว่า
わたしはアメリカじんです。 Watashi wa amerikajin desu

* ส่วนสีเขียวคือคำที่จะบอกว่าคุณเป็นคนสัญชาติอะไร

และถ้าต้องการบอกว่าตัวเองทำงานอะไรอยู่

อย่าเพิ่งลืมรูปประโยคเดิมล่ะ

ถ้าคุณยังเป็นนักเรียน
わたしはがくせいです。 Watashi wa gakusei desu

ถ้าคุณเป็นพนักงานบริษัท
わたしはかいしゃいんです。 Watashi wa kaishain desu

แล้วถ้าคุณเป็นหมอ
わたしはいしゃです。 Watashi wa isha desu

หรือเป็นครู/อาจารย์
わたしはせんせいです。 Watashi wa sensei desu

* ส่วนสีส้มจะบอกว่าคุณทำอาชีพะไร

แต่ถ้าอยากให้การแนะนำตัวดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น คุณก็สามารถพูดได้ว่า

わたしはタイがくせいです。 Watashi wa tai no gakusei desu
ฉันเป็นนักเรียนไทย

わたしはソニーかいしゃいんです。 Watashi wa Sony no kaishain desu
ฉันเป็นพนักงานบริษัทโซนี่

わたしはバンコクびょういんいしゃです。 Watashi wa bankoku byouin no isha desu
ผมเป็นแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ

わたしはときょうだいがくせんせいです。 Watashi wa tokyou daigaku no sensei desu
ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโตเกียว

* ขีดเส้นใต้สีชมพูบอกว่าคุณมาจากไหน, บริษัทอะไร, โรงพยาบาลไหน หรือมหาวิทยาลัยใด ที่คุณทำงานอยู่ เป็นต้น

ซึ่งคำช่วย の (No) ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น ソニーのかいしゃいん (Sony no kaishain) พนักงานของบริษัทโซนี่, ときょうだいがくのせんせい (Tokyou daigaku no sensei) อาจารย์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นต้น

ปิดท้ายการแนะนำตัว

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกันแล้ว จากนั้นอาจต้องมีการทำงานร่วมกัน ติดต่อธุรกิจขอความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประโยคสุดท้ายปิดการแนะนำตัว ซึ่งถือเป็นการฝากเนื้อฝากตัวกันไว้ก่อน เผื่อจำเป็นต้องติดต่อกันในอนาคตก็ขอให้ได้รับความช่วยเหลือด้วย

โดยทั่วไปก็จะพูดว่า
どうぞよろしくおねがいいたします。 Douzo yoroshiku onegai itashimasu

ลองเอาไปฝึกฝนกันดูนะคะ เผื่อใครมีโอกาสพบปะคนญี่ปุ่นก็จะได้หยิบมาใช้

คำศัพท์
わたし  (Watashi) ฉัน, ผม
タイじん  (Taijin) คนไทย
にほんじん  (Nihonjin) คนญี่ปุ่น
アメリカじん  (Amerikajin) คนอเมริกัน
タイ  (Tai) ประเทศไทย
にほん  (Nihon) ประเทศญี่ปุ่น
アメリカ  (Amerika) สหรัฐอเมริกา
がくせい  (Gakusei) นักเรียน
かいしゃいん  (Kaishain) พนักงานบริษัท
いしゃ  (Isha) หมอ, แพทย์
せんせい  (Sensei) ครู, อาจารย์
しょうせつか  (Shousetsuka) นักเขียนนวนิยาย
つうやく  (Tsuuyaku) ล่าม
エンジニア  (Enjinia) วิศวกร
びょういん  (Byouin) โรงพยาบาล
だいがく  (Daigaku) มหาวิทยาลัย
かいしゃ  (Kaisha) บริษัท
がっこう  (Gakkou) โรงเรียน
レストラン  (Resutoran) ร้านอาหาร


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที