คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความอร่อยของอาหารแต่ละชนิดเกิดจากการสร้างสรรค์รสชาติ ด้วยการผสมผสานวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน
อาหารอร่อยสามารถสนองประสาทสัมผัสของคนเราได้ครบทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โครงสร้างของอาหารอาจมีความ
คล้ายกับงานออกแบบ จึงไม่แปลกที่มีนักออกแบบรวมและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหารดึง 2 ศาสตร์มารวมเป็นหนึ่ง
การออกแบบเข้าที่เข้ามาไม่ใช่เพียงเพื่อสวยงาม แต่ยังคำนึงถึงพฤติกรรมการรับประทาน สร้างเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่า
ให้กับสินค้าอาหารนั้นด้วย
สถาปัตยกรรมในอาหาร
เดิมทีมักกะโรนีรูปร่างต่างๆ ก็เกี่ยวพันกับสถาปัตยกรรมอยู่เหมือนกัน เพราะพัฒนาโครงสร้างโดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ในการรับประทาน แต่อาจไม่มีนักทำอาหารยอมรับอย่างชัดเจน นิทรรศการสถาปัตยกรรมมักกะโรนี (Macaroni
Exhibition of Architects) เมื่อปี 1997 ที่ญี่ปุ่น เลยคิดเป็นจริงเป็นจัง ชักชวนให้สถาปนิกมาออกแบบรูปร่างของ
มักกะโรนีให้มีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้น ทั้งแบบที่ทำให้ซอสเกาะติดได้มาก แบบเคี้ยวสนุก กลมกลืนกับซอสหรือง่ายต่อการผลิต
จำนวนมาก งานนี้จึงกลายเป็นงานอ้างอิงที่ผู้คนจากฝั่งอาหารและสถาปัตย์ให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวางและนำมา
ปรับใช้ในสูตรทำมักกะโรนีจริงๆ อีกด้วย
พอดีปากพอดีคำ
ในเมืองไทย ของฝากอย่างผลไม้พับผสมแป้งที่แต่เดิมนิยมย่างเป็นรูปวงกลมแบนๆเท่านั้น ร้านของฝากกุลนารถ ที่จันทบุรี
ธุรกิจแปรรูปผลไม้ ได้เพิ่มความแปลกใหม่เข้าไปโดยนำขนมมาม้วนเป็นรูปกรวย ผลที่ได้คือสวยงามเมื่อจัดเรียงในกล่อง
และยังรับประทานง่ายพอดีในหนึ่งคำ เมื่อเทียบกับขนมในแบบเดิมที่กัดแล้วแตกมีเศษขนมร่วงบนตัก