นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์ที่มีหน้าที่หลักในการเก็บสินค้าแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีกหลายหลากของบรรจุภัณฑ์
ซึ่ง ณ เวลานี้หน้าที่ที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น การใช้บรรจุภัณฑ์ในการสร้างภาพลักษณ์ หรือ Branding ให้
กับบริษัทนั้นเองครับ สินค้าที่มีการต่อสู้กันอย่างมากในเรื่องบรรจุภัณฑ์คงหนีไม่พ้นกลุ่มสินค้า FMCG
(Fast Moving Consumer Goods) ที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทมีความโดดเด่น
ดึงผู้ซื้ออย่างเราๆ ให้หันมามอง (จากงาน วิจัยหลายแห่งพบว่า บรรจุภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ตมีเวลาน้อยกว่า
3 วินาทีในการดึงความสนใจจากผู้บริโภค)
โดยส่วนตัว ผมหลงไหลกับแผงไข่ที่ทำจากกระดาษอัด เพราะนอกจากทำหน้าที่ได้เกินร้อยในการปกป้องไข่
ที่บอบบางแล้ว ยังมีรูปแบบที่สวยงาม อีกต่างหาก แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งด้านรูปแบบ วัสดุ รวมทั้งกรรมวิธีการผลิต ซึ่งนอกจาก
จะทำหน้าที่หลังในการรักษาสินค้าภายใน ได้อย่างดียิ่งแล้ว ยังได้ทำหน้าที่หลักในการสร้างแบรนด์เนมให้กับ
ผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี บทความจาก Design Council จากประเทศอังกฤษในเรื่องบรรจุภัณฑ์ ได้กล่าวไว้
อย่างน่าสนใจว่า
งานออกแบบบรรจุภํณฑ์ที่ดีนั้นมิใช่มีหน้าที่จบลงหลังจากผู้ซื้อหยิบสินค้าออกจากชั้นวางขาย แต่ Life Cycle
ของบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์เริ่มต้นด้วยหน้าที่หลักในการห่อหุ้มสินค้า จากนั้นมันก็ได้เดินทาง ไปทำหน้าที่ Salesman
บนชั้นวางสินค้า ตามมาด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคหลังจากซื้อกลับบ้าน และท้ายสุดที่ขาดไม่ได้ก็คือ
การนำกลับมาใช้อีกครั้งในรูปแบบ Recycle-After use
หน้าที่หลัก และสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็คือการทำให้บรรจุภัณฑ์ของเรา นั้นมีความเด่น และดึงดูด
ความสนใจ (Visual Equities) หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า Icon ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่กลุ่มนักออกแบบ
มักนำมาใชในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ของเราโดดเด่นดู เคล็ดลับ ของการสร้าง Visual Equities
มีดังนี้นะครับ
เริ่มจากรูปทรง (Shape) การสร้างรูปทรงที่สอดคล้องกับสินค้าจะมีส่วนสำคัญที่ช่วย ผลักดันให้คุณค่าของ
สินค้าภายในดีขึ้น ตัวอย่างขวดน้ำแร่ Perrier ที่ออกแบบโดยใช้รูปทรง ของหยดน้ำมาเป็นรูปแบบ ของขวด ซึ่งถือ
เป็นการออกแบบที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ที่บ่งบอกถึงน้ำแร่ที่บรรจุอยู่ภายใน