ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ที่สำคัญ มีอยู่ 5 ส่วนได้แก่
1. โครงสร้าง (Structure)ของหุ่นยนต์
2. ระบบกลไก (Mechanics System)การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์
3. ระบบเซ็นเซอร์ใช้รับข้อมูล และส่งไปให้สมองกลทำการประมวลผลเพื่อที่จะสั่งการให้หุ่นยนต์ทำงานต่อไป
5. ระบบสมองกล หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่วิเคราะห์ และประมวลผลที่ถูกส่งมาจากตัวเซ็นเซอร์ตามจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่หุ่นยนต์ทุกตัวต้องมี ยังมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาอีกมากเพื่อนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ตามแต่ลักษณะของงาน หุ่นยนต์ในอนาคตอาจจะไปถึง มีความฉลาด และการมีความคิดเป็นของมันเอง
การสร้างหุ่นยนต์สร้างตามลักษณะที่ต้องการใช้งาน หุ่นยนต์แต่ละแบบอาจจะมีความแตกต่างกัน หุ่นยนต์แต่ละชนิดจะเคลื่อนที่ไปตามโครงสร้างที่เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์ คือมีการเคลื่อนไหวตามโครงสร้างที่ออกแบบ โดยตัวขับให้หุ่นยนต์ได้เคลื่อนไหว เช่นมอเตอร์ มีระบบเซนเซอร์ตรวจจับการทำงาน และมีสมองกลคอยควบคุมการทำงานของชิ้นส่วนทั้งหมด จุดประสงค์หลักในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมานั้นต้องการให้หุ่นยนต์มีการทำงานแทนมนุษย์
โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร์
โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร์ (Joseph Engelberger) เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวคิดด้านหุ่นยนต์ เขาได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ฉันไม่สามารถให้คำจำกัดความของหุ่นยนต์ได้ แต่ฉันรู้ว่าเมื่อฉันเรียนรู้สิ่งหนึ่ง ฉันก็จะพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งที่ลึกซึ้ง มันมีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลทั้งหมด ที่มนุษย์เรียกมันว่า หุ่นยนต์ คุณสามารถเห็นสิ่งที่นอกเหนือจากนิยาม และการจินตนาการ
ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่อาจจะเคยผ่านสายตาท่านมาก่อน
· อาร์ทูดีทู (R2D2) และ ซีทรีพีโอ (C-3PO) หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดในภาพยนตร์เรื่องสตาวอร์ (Star Wars)
ซีทรีพีโอ และ อาร์ทูดีทู
· หุ่นยนต์สุนัขไอโบ (AIBO) ของโซนี่ (Sony) เป็นหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง
หุ่นยนต์สุนัข AIBO
· หุ่นยนต์อาซิโม (ASIMO) ของฮอนด้า เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเดิน-วิ่งได้สองขาคล้ายมนุษย์
หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ASIMO
· หุ่นยนต์ หรือแขนกลอุตสาหกรรม (Industrial Robot) เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติใช้ในโรงงานสมัยใหม่
· หุ่นยนต์กู้ภัย (Rescue Robot) เป็นหุ่นยนต์ช่วยชีวิตจากบริเวณที่เป็นอันตรายมนุษย์เข้าไปไม่ถึง
นี้คือตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่เราอาจจะเคยพบเห็นได้ หุ่นยนต์แต่ละชนิดจะทำงานตามแต่ละหน้าที่ของมัน
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมาปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที