ในวัยเด็ก คุณเคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้างไหม ?
คิดว่าเลขสมัยประถมยังง่ายอยู่เลย เรียนในห้องก็ใช้ได้ เกรดออกมาก็ดี... แต่พอขึ้น ม.ต้น ทำไมเหมือนมันยากขึ้นมากะทันหัน
มีหลายเรื่องที่ไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็เก็บปัญหาค้างคาใจนี้ไว้ (แบบไม่รู้ตัว) ไปจนถึง ม.ปลาย แล้วก็กลายเป็นปัญหาภายหลัง คือผลการเรียนเริ่มตกต่ำลงจนอยากกลับไปทำความเข้าใจเลขสมัย ม.ต้น ใหม่อีกครั้ง
ความจริงเลขระดับ ม.ต้น ยังเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้าใจไม่ยาก แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาเพราะตอนเรียนไม่ได้อธิบายให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละเรื่องแต่ละสมการที่โผล่มาในเนื้อหา
แต่โดยมากมักสอนให้ท่องจำสูตรหรือสอนวิธีแก้ และที่หนักกว่านั้นคือให้จำวิธีการแก้โจทย์แบบต่าง ๆ เข้าไปทั้งดุ้น ...คิดดูสิว่า เรียนแบบนี้ผลออกมาจะเป็นอย่างไร ??
...ก็เป็นแบบที่เด็กหลายคนเป็นอยู่นั่นแหละ คือสอบกลางภาคปลายภาคก็ยังพอทำได้ เพราะยังจำสูตรและรูปแบบการแก้โจทย์ได้ แต่หลังจากนั้น... พอเจอโจทย์สอบเข้าที่ต้องประยุกต์หลาย ๆ เรื่อง ก็จับต้นชนปลายไม่ถูก...เหมือนคุ้น ๆ แต่ก็แก้โจทย์ไม่ได้
ถ้าไม่อยากให้เด็ก ๆ ของเรามีปัญหาแบบนี้ ขอแนะนำ “คณิต ม.ต้น สอนอย่างนี้เก่งนานแล้ว!!” ที่จะอธิบายให้หายสงสัยแบบที่หาไม่ได้ในห้องเรียน
แม้แต่จุดเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้ามก็จับมาย้ำชัด ๆ ให้รู้ซึ้งถึงความหมาย เพื่อความเข้าใจเรื่องพื้นฐานแบบมีหลักคิดที่ถูกต้อง เพราะทุกรายละเอียดล้วนสำคัญต่อการทำความเข้าใจและการเรียนในระดับสูง
และถ้าเป็นเด็ก ม.ปลาย ที่เคยเรียนผ่านไปแล้วแบบงง ๆ ไม่หลงเหลืออะไรอยู่ในหัว นอกจากสูตรนิยามสำคัญ ๆ กับวิธีแก้โจทย์แบบจำ ๆ ไปใช้ ก็สามารถกลับมาทบทวนได้ใหม่อีกครั้ง
ทั้งเรื่องฟังก์ชัน สมการ การส่งอัตราส่วนของเส้นขนาน อัตราส่วนพื้นที่ของสามเหลี่ยม และความน่าจะเป็น ...จะได้เรียนเนื้อหายาก ๆ ต่อไปได้อย่างมั่นใจ
รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนการพูดคุยกันเพื่อให้รู้สึกว่าเข้าใจง่าย ตรงไหนที่ต้องการเน้นย้ำจะใช้กรอบหรือลูกศร คล้าย ๆ กับเวลาครูสอนไปก็จะเขียนขีดเส้นเน้นให้เห็นบนกระดานนั่นแหละ
ลองมาดูตัวอย่างในเล่มให้เห็นภาพกันหน่อยดีกว่า...
แม้แต่นิยามเล็ก ๆ ก็เก็บมาอธิบาย...จะได้เข้าใจไม่คลาดเคลื่อนก่อนที่จะเริ่มต้นเรียน
หรือใคร ๆ ก็รู้ว่าความชันของกราฟเส้นตรง ให้ดูที่สัมประสิทธิ์ของ x กำลังหนึ่ง แต่แล้วยังไงต่อล่ะ ??? มันมาจากไหน หรือใครกำหนด ...ช่วยบอกให้รู้ด้วยสิ!!
การแก้ระบบสมการก็เหมือนกัน ให้โจทย์มาก็พอแก้ได้ เพราะหลัก ๆ ก็มีวิธีแก้อยู่ 2 วิธี
แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงแก้ได้ด้วยวิธีเหล่านั้น ?? ก็น่าคิดเหมือนกันเนอะ...
ใครที่อยากได้คำอธิบายแบบลงลึก เติมเต็มทุกข้อสงสัย มากกว่าแค่สอนวิธีแก้โจทย์ทั่วไป ก็ลองไปค้นหาคำตอบในเล่มกันต่อนะคะ...
ทดลองอ่าน
ผู้เขียน : Katsuyuki Sadamatsu
ผู้แปล : บดินทร์ พรวิลาวัณย์
ISBN : 978-974-443-605-4
จำนวนหน้า : 192 หน้า
ราคา : 180 บาท