ชี้ให้เห็นถึงจุดบอดที่แฝงอยู่ในสายงานการผลิต และบอกเทคนิค-วิธีในการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้มุมมองที่แตกต่างออกไป
เชื่อว่าทุกโรงงานต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย เช่น “เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น 25% และลดลีดไทม์การผลิตลงครึ่งหนึ่ง" แบบนี้ทุกปี
นอกจากเพื่อปรับปรุงผลิตภาพของโรงงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังทำเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอให้ลดราคาลงจากเดิม 3-8% ลดระยะเวลาส่งมอบสินค้าให้เร็วขึ้นจาก 2 สัปดาห์ เป็น 1 สัปดาห์ หรือบางกรณีขอให้ส่งมอบสินค้าในวันถัดไปก็มี
หากโรงงานไม่ปรับตัวให้ทันและยังคงทำการผลิตในรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่สร้างผลกำไรแต่ก็ไม่ขาดทุน คงไม่สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้
ดังนั้น สิ่งที่ทุกโรงงานผลิตต้องทำคืออะไร ?
1. กำจัดข้อร้องเรียนของลูกค้า ลดปริมาณของเสียลง
2. นำระบบคัมบัง, 5ส มาใช้ในโรงงาน และเพิ่มอัตราการเดินเครื่องจักรให้มากกว่าเดิม
3. กำจัดความสูญเปล่า (Muda) อย่างจริงจัง
4. ให้ผู้จัดการหรือหัวหน้างานทุ่มเทเวลาในสายการผลิตอย่างเต็มที่
5. รวบรวมข้อมูลและรายงานในงานการผลิตให้ได้มากที่สุด
6. ทบทวนเงื่อนไขการผลิตเพื่อลดลีดไทม์โดยรวมให้สั้นลง
7. นำระบบ ISO9001 มาใช้ในโรงงาน
ดูเผิน ๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทำในงานการผลิตทั้งสิ้น แต่ทำไมหลาย ๆ โรงงานยิ่งทำแล้วกลับยิ่งแย่ ยิ่งปรับปรุงก็ยิ่งไม่พัฒนา ยิ่งลงทุนก็ยิ่งขาดทุน
อะไรคือจุดบอดที่แฝงอยู่ในการกระทำเหล่านั้น ขั้นตอนใดคือการปฏิบัติงานที่ไม่เกิดมูลค่า ความเข้าใจผิดที่คิดว่าจะช่วยให้งานเร็วขึ้น และอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นคืออะไร ?
หนังสือ “7 จุดบอดแฝงที่ขัดขวางการเพิ่มผลผลิตของโรงงาน” โดย Kenichi Omi และYoshikazu Omi ที่ปรึกษาด้านการผลิตที่ผ่านประสบการณ์ในการให้คำปรึกษามามากกว่า 180 บริษัทในญี่ปุ่น จะชี้ให้เห็นถึงจุดบอดที่แฝงอยู่ในสายงานการผลิต และบอกเทคนิค-วิธีในการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้มุมมองที่แตกต่างออกไป อย่างเช่น
· การลดข้อร้องเรียนและของเสียจะทำให้ของเสียภายในโรงงานเพิ่มมากขึ้น
· การเพิ่มอัตราการเดินเครื่องจักรจะยิ่งเพิ่มสต๊อกสินค้า
· หัวหน้างานที่จมอยู่ในสายการผลิตจนไม่ได้ทำงานด้านบริหาร และไม่มีเวลาสอนทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
· การสิ้นเปลืองเวลาไปกับการจัดทำข้อมูล-รายงานให้สวยงามแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
· การทบทวนเงื่อนไขการผลิตและการเพิ่มรอบการขนย้ายที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
· การใช้ระบบ ISO9001 ที่ใช้เฉพาะกลไกด้าน “คุณภาพ” แต่ไม่ได้ใช้กลไกด้าน “การบริหาร”
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้จัดการและหัวหน้างาน ต้องเป็นผู้นำในการค้นหาจุดบอดที่แฝงอยู่ในสายงานการผลิตนั้น
ยิ่งหาเจอได้เร็วเท่าไร เท่ากับลดการสูญเสียได้มากเท่านั้น เมื่อสูญเสียน้อยลง กำไรและผลิตภาพของโรงงานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
ทดลองอ่าน
สั่งซื้อได้ที่ tpabook.com/product/7-จุดบอดแฝง