日本語ページ


ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

2516

พิธีเปิดที่ทำการแห่งแรก

ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล อาจารย์โกอิจิ โฮซูมิ และคุณวารี พงษ์เวช ร่วมพิธีเปิดที่ทำการแห่งแรก ณ อาคารอื้อจือเหลียง วันที่ 24 พฤษภาคม 2516

ก่อตั้ง ส.ส.ท.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ก่อตั้งอย่างเป็นทางการใน วันที่ 24 มกราคม 2516 จากความร่วมมือร่วมใจ และความเสียสละของกลุ่มผู้เคยไปศึกษาและดูงานโดยทุน ABK & AOTS ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธานคณะกรรมการก่อตั้ง และสำเร็จด้วยความช่วยเหลืออย่างดี จาก อาจารย์โกอิจิ โฮซูมิ อดีตประธานกรรมการ สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) โดยได้รับความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจาก กระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่มีพันธะผูกพันใด ๆ


2516 -2525

ในปี พ.ศ.2518 ส.ส.ท. ได้ย้ายที่ทำการมายัง ซอยสุขุมวิท 29

ทศวรรษแรก

ส.ส.ท. บุกเบิก 4 กิจกรรมแรกได้แก่ สอนภาษาญี่ปุ่นให้คนไทย และสอนภาษาไทยให้ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในประเทศไทย แปลและผลิตตำราด้านเทคนิคจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ออกวารสารด้านเทคโนโลยี และจัดอบรมสัมมนา และต่อมาได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การนำแนวคิด กิจกรรมกลุ่ม QC (QC Circle) มาเผยแพร่ในประเทศไทย, เปิดโครงการเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม และเปิดโครงการเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน

2516
  • ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีนายวารี พงษ์เวช เข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมเป็นคนแรก
  • เปิดโครงการสอนภาษาญี่ปุ่น, ภาษาไทย, โครงการสนับสนุนเทคนิคอุตสาหกรรมผลิตตำราแปลภาษาญี่ปุ่น, ออกวารสาร ส.ส.ท. ด้านเทคโนโลยี ให้แก่สมาชิก, โครงการอบรมสัมมนา
  • ลดความรุนแรงและกระแสต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นและความรู้สึกเสมือนเป็นผู้ได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้ากับประเทศไทย
  • เป็นจุดเริ่มต้นของ ส.ส.ท. ในการพัฒนาบุคลากรให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทยโดยได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจาก JTECS (Japan-Thailand Economic Cooperation Society)
2518
  • มีการขยายกิจกรรมและย้ายจากที่ทำการเดิม จากอาคารอื้อจือเหลียงมาที่อาคารใหม่ ณ สุขุมวิท ซอย 29
  • ขยายกิจกรรมและสร้างอาคารสมาคมให้รองรับกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่มีการขยายตัวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2520
  • เปิดโครงการเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม (อบรม) เพื่อตอบสนองความต้องการขยายตัวด้านการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย
2522
  • ฯพณฯ ศจ.สุพัฒน์ สุธาธรรม อดีต รมว.กระทรวงการคลังรับตำแหน่งนายกสมาคม
2524
  • เปิดโครงการประหยัดพลังงาน เพื่อตอบสนองวิกฤตการณ์น้ำมันขาดแคลน (oil shock) ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกและในประเทศไทย โดยกระตุ้นให้ภาคอุตสาหรรมไทยมีควาตระหนักถึงการประหยัดพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ
2525
  • เปิดโครงการ QC เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมส่งออกของไทยในด้านการควบคุมคุณภาพสินค้าส่งออก

2526 -2535

จัดงาน "มหกรรมคิวซีเซอร์เคิล" ครั้งแรกในประเทศไทย

ทศวรรษที่สอง

ส.ส.ท. ขยับขยายกิจกรรมบริการเพื่อสังคมเพิ่มเติม และได้เริ่มเปิดกิจกรรมใหม่ ๆ ได้แก่

  • เปิดศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
  • เปิดโครงการ QC และจัดประกวด QC Prize
  • เปิดโครงการคอมพิวเตอร์
  • และเปิดศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี
  • เปิดศูนย์การศึกษาทางไปรษณีย์
  • เปิดโครงการบำรุงรักษาทวีผล
  • เปิดโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน
  • เปิดโครงการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • เปิดบริการห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม
2526
  • จัดงาน "มหกรรม QC Circle ครั้งที่ 1" เป็นการเสนอผลงาน QC ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรม-ธุรกิจบริการมีกิจกรรมควบคุมคุณภาพ และมีการถ่ายทอดความรู้และกิจกรรม QCC ให้แพร่หลายในประเทศ
  • มีโครงการขยายอาคารโดยสร้างอาคารเพิ่มเติมติดกับอาคารหลังเดิมเป็นอาคาร 4 ชั้น เพื่อขยายตัวรองรับกิจกรรมที่มีเพิ่มขึ้นของสมาคม
  • เปิดโครงการด้านบริการสอบเทียบ เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการด้านการสอบเทียบแก่ภาคอุตสาหกรรมไทยและสนับสนุนงานด้านการประกันคุณภาพของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
2528
  • ศ.ดร.ไพศิษฐ์ พิพัฒน์กุล ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคม
  • มีพิธีเปิดอาคารที่ทำการใหม่ตึกชั้น 4 ด้านหลังอาคารเดิม
2530
  • เปิดโครงการคอมพิวเตอร์ เป็นจุดเริ่มต้นในการให้ความรู้ด้านการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
2531
  • เปิดโครงการศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศทางด้านเทคโนโลยีวิศกรรม ฯลฯ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น
2532
  • เปิดโครงการศูนย์การศึกษาทางไปรษณีย์ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานจากมหาวิทยาลัยซันโน (Sanno University) ประเทศญี่ปุ่น
  • เปิดโครงการบำรุงรักษาทวีผล เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมด้านความรู้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เพื่อลดต้นทุนการผลิต
  • นายกล้าหาญ วรพุทธพร ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2534
  • เปิดโครงการพลังงาน เพื่อกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาพลังงานจากแหล่งพลังงานใหม่ ๆ
2535
  • เปิดโครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน เปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการคิวซีเดิมให้ครอบคลุมและกว้างขวางขึ้นเพื่อรองรับงานด้านการมาตรฐานและระบบคุณภาพ ISO 9000 ซึ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับในระบบการค้าสากล
  • เปิดโครงการพัฒนาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนัก และเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมไทย
  • เปิดบริการด้านห้องปฏิบัติสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บริการตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในเรื่องการทดสอบคุณภาพน้ำ และผลิตภัณฑ์

2536-2545

ในปี พ.ศ.2541 ส.ส.ท. ได้ขยายเพิ่มที่ทำการแห่งใหม่ ถนนพัฒนาการ ซอย 18

ทศวรรษที่สาม

ส.ส.ท. ขยายกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดสาขาที่ทำการแห่งใหม่ และริเริ่มกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่

  • จัดการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ ในระดับอุดมศึกษาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันการประดิษฐ์หุ่นยนต์นานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น (Robocon)
  • เปิดโครงการเทคโนโลยีและการจัดการ
  • ออกวารสาร For Quality
  • เปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม
  • เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรภาษาจีน
  • เปิด TPA Book Centre
  • เปิดโครงการพัฒนาระบบวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shin-Dan) และพัฒนานักวินิจฉัยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • เปิดสำนักพิมพ์ ส.ส.ท. เยาวชน
  • เปิดโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สาขารังสิต (ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ชั้น 2)
  • จัดประกวด Thailand 5S Award
2536
  • เปิดโครงการเทคโนโลยีการจัดการ เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในการยกระดับผู้บริหารระดับกลางให้มีความสามารถสูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของการจัดการในภาคอุตสาหกรรมของไทย
  • จัดการแสดงสินค้านานาชาติด้านเทคโนโลยีเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ "IMAC" เพื่อตอบสนองการขยายตัวเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและการใช้งานเทคโนโลยีเครื่องมือวัดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทย
  • จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทยระดับอุดมศึกษา เป็นครั้งแรกในประเทศไทย (Robot Contest) โดยความร่วมมือจาก Nichidochin และ NHK จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้กับเทคโนโลยีการออกแบบและประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อนำไปประยุกต์กับระบบการทำงานในอุตสาหกรรมได้ต่อไป
  • เริ่มจัดตั้งโครงการสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี
2538
  • นายอัจฉรินทร์ สารสาส ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2539
  • เริ่มการก่อสร้างอาคารสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี ณ พัฒนาการ ซอย 18 เพื่อการรองรับการขยายตัวของกิจกรรมสมาคม และปรับปรุงกิจกรรมให้รองรับกับความต้องการของสมาชิกในด้านการอบรมพัฒนาบุคลากร และการบริการด้านอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบแม้จำนวนนั้นจะอยู่ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย
2540
  • ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2541
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จฯเปิดอาคารสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี ณ พัฒนาการซอย 18 และฉลองการครบรอบ 25 ปี ของการก่อตั้งสมาคม
  • เปิดโครงการ TPA Book Center เพื่อจำหน่ายหนังสือของสมาคมและหนังสือวิชาการอื่น ๆ ใหแก่สมาชิกในรูปแบบร้านหนังสือที่รวบรวมหนังสือวิชาการเทคโนโลยี ภาษาวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่นอย่างครบถ้วน
2542
  • เปิดโครงการอบรมนักวินิฉัยสถานประกอบการ โดยความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อดำเนินโครงการสร้างระบบวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan) ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม
2543
  • เปิดโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมไทย และ SMEs ในการนำ IT มาใช้ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่
2544
  • นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
  • เปิดสาขาโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต เพื่อตอบสนองความต้องด้านการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้แก่สมาชิกและโรงงานในย่านรังสิต-ปทุมธานี ที่มีมากขึ้น
  • จัดประกวด TPA 5S Award

2546-2555

ในปี พ.ศ.2550 เปิดสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ทศวรรษที่สี่

ส.ส.ท. ได้จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และยังคงปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และขยายกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่

  • เปิดสำนักพิมพ์เพื่อนนักอ่าน
  • เปิดโครงการผลิตอัตโนมัติ
  • จัดการประกวด TPA Kaizen Award
  • ออกนิตยสาร Creative & Idea Kaizen
  • จัดประกวด Thailand Lean Award
  • ออกนิตยสาร Technology & INNOMag และนิตยสาร For Quality Management
2548
  • โครงการพัฒนาธุรกิจบนเว็บไซต์
  • ผศ. ประยูร เชี่ยววัฒนา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2549
  • โครงการประกวด TPA Automation Kaizen Award, วารสาร Kaizen, โครงการฝึกอบรมระบบเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
2550
2552
  • ศ.กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2554
  • ผศ. ประยูร เชี่ยววัฒนา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2555
  • ขยายศูนย์บริการสอบเทียบเครื่องมืดวัดอุตสาหกรรมไปภาคตะวันออกนิคมอุตสาหกรรมเหมราช

2556-2565

ในปี พ.ศ.2556 ส.ส.ท. ได้รับรางวัลเจแปนฟาวน์เดชั่น

ทศวรรษที่ห้า

2556
  • ได้รับรางวัล "The Japan Foundation Award" 2013 ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรในวงการการศึกษาภาษาญี่ปุ่น อันเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง
  • ร่วมกับ JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) โดย ส.ส.ท. เป็น Certified Organization ประจำประเทศไทยในการเผยแพร่ความรู้ จัดอบรมและให้คำปรึกษาด้าน TPM ตามแนวทาง JIPM เพื่อเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง
  • ก่อตั้ง โครงการเชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย-ญี่ปุ่น (TJ-SMEs) เพื่อเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากญี่ปุ่น สู่ผู้ประกอบการไทยและสนับสนุนการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น
  • รศ.ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2557
  • ร่วมกับ JIPM (Japan Institute of Plant Maintenance) จัดการสอบ Monodzukuri Test ครั้งแรกในประเทศไทย
  • เปิดบริการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ อาทิ Patient Bedside Monitor, Oxygen Flow Meter, etc.
  • เปิดโครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย เพื่อให้บริการออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย รวมรับผิดชอบดูแลผลิตนิตยสารในเครือ ส.ส.ท.
2558
  • โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. ได้รับเกียรติบัตรรางวัลโรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับดีมาก ประจำปี พ.ศ.2558 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
  • ร่วมกับ HIDA และ NECA ประเทศญี่ปุ่น ริเริ่มจัดอบรมหลักสูตร ผู้ประเมินความปลอดภัยเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม 3 ระดับ ได้แก่ Safety Basic Accessor (SBA), Safety Sup Accessor (SSA), Safety Assessor (SA)
  • ผลิตสื่อมัลติมีเดีย TPA Official ผ่านสื่อออนไลน์ YouTube
  • รศ.ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2559
  • ได้รับการรับรองเป็น "องค์กรรับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐานอาชีพ" จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
    1. สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด (ด้านมิติ)
    2. สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพครูฝึกในสถานประกอบการ
  • ได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์ประเมินความรู้ ความสามารถ จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.การส่งเสริมการพัฒนาฝึมือแรงงาน พ.ศ.2545 สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
2560
2561
  • ก่อตั้ง Studio MMP ผลิตสื่อและมัลติมีเดีย พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานในการจัดทำรายการ บันทึกวิดีโอ ประจำสำนักงานใหญ่ ซอยสุขุมวิท 29
  • โครงการ Thailand & Japan Collaboration Business Meeting Program
  • โครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program
  • ดร. สุรพันธ์ เมฆนาวิน ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม
2562
2564
  • เปิดบริการ platform TPAeduways เพื่อให้บริการหลักสูตรเรียนภาษาออนไลน์ทั้งแบบ Live, Hybrid, เรียนจากคลิปวิดีโอ และฝึกสนทนา Ezy Talks แบบ Language Parent กับติวเตอร์ชาวไทยหรือโค้ชเจ้าของภาษา
  • เปิดเว็บไซต์ให้บริการ TPAdigihub เพื่อให้บริการพจนานุกรมออนไลน์เสียงประกอบหนังสือออนไลน์ และวิดีโอประกอบหนังสือ
  • เปิดให้บริการสอบเทียบแบบครบวงจรเครื่องมือวัดระดับทุติยภูมิ (Secondary Standard)
  • ผศ. ประยูร เชี่ยววัฒนา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม

งานเสวนาทางวิชาการ "INSPIRE OUR FUTURE" ในวาระพิเศษครบรอบ 50 ปี การก่อตั้ง ส.ส.ท.

เข้าสู่ทศวรรษที่หก

2566
2567
  • โครงการปรับปรุงอาคารสำนักงาน ส.ส.ท. สุขุมวิท 29
  • รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม

ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)


  • ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล
  • นายธนุส อมรลิลิต
  • นายแพทย์เกียรติพงศ์ ศรีมนูญผล
  • นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ
  • นางปัทมาวดี (วงศ์สายัณห์) นาร์ซิโซ

โดยได้รับการสนับสนุนจาก อ. โกอิจิ โฮซูมิ


อ. โกอิจิ โฮซูมิ

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้ถือกำเนิดมาด้วยความตั้งใจดีของคนไทยทุกฝ่าย ข้าพเจ้าตั้งใจอย่างมากว่า สมาคมนี้จะเจริญก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทยประชาชนคนไทยทั้งปวง

ข้าพเจ้ามีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะเห็นชาวเอเชียร่วมแรงกันจรรโลงชาติ โดยยึดถือหลักการว่า ชนชาติทั้งหลายในโลกและมนุษย์ทุกผู้ทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและเสรี

อ. โกอิจิ โฮซูมิ

อดีตประธานคณะกรรมการสมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย (JTECS)
ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล

ขอให้รักษาเจตนาอันบริสุทธิ์ และความสามัคคีที่มีอยู่ในการจัดตั้งสมาคมไว้ตลอดไป ในการดำเนินการให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ดีงามของสมาคม

ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล

ประธานคณะกรรมการก่อตั้ง

ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสมาชิกและเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ
  2. ส่งเสริมด้านการศึกษา และพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี โดยการเปิดอบรมสัมมนา การเรียนการสอน การให้การบริการคำปรึกษาในสาขาต่าง ๆ การรับรองความรู้และความสามารถของบุคลากร การถ่ายทอดและการวิจัยเทคโนโลยี และภาษาต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินกิจการโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรหรือมูลนิธิ ด้านเทคโนโลยีและวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  3. ดำเนินกิจการรวบรวม เรียบเรียง แปล และพิมพ์หนังสือทางวิชาการ ออกวารสารของสมาคมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่สมาชิก และประชาชนทั่วไป
  4. ดำเนินกิจการบริการด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งจัดตั้งศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม ศูนย์ทดสอบ และให้บริการคำปรึกษาด้านอุตสาหกรรม และการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
  5. ร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการลงทุนหรือร่วมทุนดำเนินกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกับสมาคม ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำปี 2567-2570

รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม
รศ. ปราณี จงสุจริตธรรม
นายกสมาคม
ศ.กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
ศ.กิตติคุณ ดร. วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
อุปนายก (ด้านกิจการภายนอก)
ศ.ดร. ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล
ศ.ดร. ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล
อุปนายก (ด้านพัฒนาวิชาการ)
ดร. พิชัย ตั้งสถาพรพาณิชย์
ดร. พิชัย ตั้งสถาพรพาณิชย์
อุปนายก (ด้านการตรวจสอบ)
คุณวสันต์ จันทร์สัจจา
คุณวสันต์ จันทร์สัจจา
อุปนายก (ด้านกลยุทธ์และแผน) / เหรัญญิก
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ
ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ
เลขาธิการสมาคม
ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญ
ผศ.ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญ
รองเลขาธิการสมาคม
คุณวิวัฒน์ พันธ์สระ
คุณวิวัฒน์ พันธ์สระ
กรรมการบริหาร (ประธานคณะอนุกรรมการ ทรัพยากรมนุษย์)
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
กรรมการบริหาร (ประธานคณะอนุกรรมการ ดิจิทัลและเอไอ)
ดร. สุจิต พงษ์นุ่มกุล
ดร. สุจิต พงษ์นุ่มกุล
กรรมการบริหาร
ดร.นิพนธ์ ทวีจันทร์
ดร. นิพนธ์ ทวีจันทร์
กรรมการบริหาร
นางสาวภัทรพร ทัศนเสวี
นางสาวภัทรพร ทัศนเสวี
กรรมการบริหาร
นายณัฏฐวัฒน์ วรพุทธาฉัตร
นายณัฏฐวัฒน์ วรพุทธาฉัตร
กรรมการบริหาร
ดร.นเรศ ดำรงชัย
ดร.นเรศ ดำรงชัย
กรรมการบริหาร
รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์
รศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์
กรรมการเชื่อมโยง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น(อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ดร. สุพจน์ ชินวีระพันธุ์
ดร. สุพจน์ ชินวีระพันธุ์
กรรมการและผู้อำนวยการสมาคม

Download เอกสารจรรยาบรรณของกรรมการบริหารฯ


รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ชุดก่อนหน้า


ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ประวัติสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

Video แนะนำสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

เพลงของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

มาร์ช ส.ส.ท.

ส.ส.ท. ของเรา

แสงเทียน ส.ส.ท.


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter