日本語ページ

สัมมนาพิเศษ Thai Embedded Systems Industry Forum : TESIF
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

สัมมนาพิเศษ
Thai Embedded Systems Industry Forum : TESIF

ครบปีที่ 3 แล้ว  ถ้านึกถึงวันและเวลาในการก่อตั้ง โครงการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวไทย จากการร่วมมือของหน่วยงานทั้งญี่ปุ่น และไทย  ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน  แต่สำหรับการผลิตบุคลากรนั้น  ก็ถือได้ว่าปีนี้เป็นปีที่สอง  สำหรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 14 คน บางส่วนก็เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว  และส่วนที่เหลือก็จะทยอยเดินทางกลับในเดือนมกราคม 2551 นี้  หลังจากได้ไปฝึกฝนวิทยายุทธ์ทางด้าน Embedded Systems จากประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลาถึง 1 ปีเต็ม  ได้ทั้งภาษาญี่ปุ่น  และความชำนาญทางด้าน Software และ Hardware  มาช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมไทย  ซึ่งถือได้ว่าเป็น โครงการแรก และโครงการเดียวในประเทศไทย ก็ว่าได้  ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร หรือวิศวกรทางด้านระบบสมองกลฝังตัว  ซึ่งถือว่ายังขาดแคลน และเป็นที่ต้องการอยู่มาก 
สำหรับรุ่นที่สอง  ก็มีจำนวน 14 คนเช่นเดียวกับปีแรก  โดยกำลังจะเดินทางไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นในเดือนมกราคม 2551 นี้  ณ บริษัท Lineo Solutions, Oki technocollage, Profix, Toyota Tsusho Electronics Corporation, NDR และ Digital Contents

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมผลงานของวิศวกรสมองกลฝังตัวไทย  ได้ที่งาน Thai Embedded Systems Industry Forum : TESIF  โดยทางสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ร่วมกับเจโทร กรุงเทพฯ และสมาคมสมองกลฝังตัวไทย  ได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อแสดงผลงานของนักศึกษารุ่นที่สอง พร้อมทั้งรับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ของนักศึกษารุ่นที่หนึ่ง และในงานนี้ยังเป็นเวทีให้กับผู้ที่ทำงานในสาขา Embedded Systems ทั้งไทยและญี่ปุ่นได้มาพบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย  ในวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2551 ณ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)  ห้อง 3C ชั้น 3  ซ.พัฒนาการ 18  สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่จิรภา  เหลืองเรณู  โทร. 0-2258-0320-5 ต่อ 1916 หรือทางอีเมล์ chirapa@tpa.or.th



พิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ

พิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ คืออะไร  เกี่ยวข้องอะไรกับ ระบบสมองกลฝังตัว  และพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะมีระบบการทำงานอย่างไร แล้วสามารถนำระบบการทำงานนี้ไปใช้งานได้จริงแค่ไหน 
 
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ ต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องการมี ระบบที่ทันสมัย สำหรับแนะนำ หรือบรรยาย พิพิธภัณฑ์ของตน เนื่องจาก รูปแบบการแนะนำ หรือเยี่ยมชมในพิพิธภัณฑ์ ในอดีต ประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย  อาทิ การที่ต้องให้ผู้เยี่ยมชมปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือวิธีการที่พิพิธภัณฑ์ประกาศไว้ โดยผู้เยี่ยมชมจะรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารนั้น ๆ ด้วยการอ่านจากป้ายประกาศที่ติดไว้ที่พิพิธภัณฑ์ บางพิพิธภัณฑ์ใช้พนักงานของพิพิธภัณฑ์เป็นผู้แนะนำ หรือบรรยายให้กับผู้เยี่ยมชม ซึ่งก็ต้องใช้ผู้บรรยายที่มีทักษะพอสมควร และต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมากสำหรับพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงมากในแต่ละเดือน
ที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้เยี่ยมชมต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และครบถ้วนไม่ว่าผู้เยี่ยมชมนั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ภาษา ทักษะในการอ่าน เพศ หรือแม้กระทั้งอายุ ก็ตาม

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ พิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ เพื่อตอบสนอง และแก้ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด ซึ่งต่อไปเราจะเรียกระบบนี้ว่า “PNG: Personal narrative Guide” ลักษณะเด่น คือ เน้นให้เป็นมิตรกับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมให้มากที่สุด “เสมือนมีผู้แนะนำติดตามไปกับคุณตลอดการเยี่ยมชม” การออกแบบจะมุ่งเน้นที่ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน พัฒนาง่าย ต้นทุนต่ำ เพื่อส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นี้เกิดขึ้นได้จริงสำหรับใช้ในทุก ๆ พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยฝีมือคนไทย

...อ่านรายละเอียดต่อคลิกที่นี่


Download ตารางเวลางาน และ แบบฟอร์มลงทะเบียน
ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter