日本語ページ

ขอเชิญสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

ด่วน โอกาสดีของผู้ประกอบการมาถึงแล้ว

ฟรีรับจำนวนจำกัดเพียง 25 โรง เท่านั้น


 

สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระทรวงอุตสาหกรรม



ขอเชิญสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรมภาคกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
และกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา

“เราสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ให้ท่านได้จริง
โดยจะทำการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน (Business Process Flow) เพื่อค้นหาปัญหาและความสูญเปล่า และวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของท่าน และทำการแก้ไขปัญหา
โดยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์”

 

ความเป็นมา
กลุ่มอาเซียนมีเป้าหมายที่จะเข้าสู่เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2558 นั่นคือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community)  การปรับตัวให้เป็นไปตามภาวะความเปลี่ยนแปลงเป็นภาระกิจหลักที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของบริษัทให้หนีห่างคู่แข่งสู่ความเป็นหนึ่งในการดำเนินธุรกิจทั้งภายใน - ภายนอกประเทศ

จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดเพื่อรองรับสถานการณ์ข้างต้น คือการ ปรับปรุงประสิทธิภาพและ ลดต้นทุน เพราะต้นทุนการดำเนินงาน นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนพลังงาน เป็นต้น   มีการสำรวจต้นทุนจากการประกอบการ พบว่า ต้นทุนด้านโลจิสติกส์มีแฝงอยู่ถึง 18% จากต้นทุนการประกอบการทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงถ้าเราสามารถลดต้นทุนส่วนนี้ได้คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยเลย

การที่จะพบสิ่งที่เป็นความสูญเปล่าที่ทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่จำเป็นนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความมุ่งมั่นและพยายาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะค้นพบ เพราะกิจกรรมการทำงานส่วนใหญ่มีทั้งกิจกรรมที่เป็นงานจริงๆ และกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องทำ(ความสูญเปล่า) ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ก็มีกิจกรรมที่ไม่จำเป็นแฝงอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งการจะชี้บ่งความสูญเปล่าที่ชัดเจนได้ มันก็มีเทคนิคในการค้นหาที่ไม่ยาก โดยเบื้องต้นต้องมีการเข้าไปค้นหาและเดินสำรวจที่หน้างานโดยมองด้วยสายตาที่แตกต่างออกไปจากเดิมจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์มาก่อน หากไม่มีการค้นหาและขจัดความสูญเปล่าอย่างจริงจังเชื่อว่าเมื่อ  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มเปิดฉากขึ้นท่านคงอยู่รอดได้ลำบาก

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้เห็นถึงผลกระทบดังกล่าวนี้ จึงได้มีโครงการให้คำปรึกษา เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ตามยุทธศาสตร์และแผนแม่บทในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการจัดการโลจิสติกส์มาต่อเนื่องหลายปีซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถลดต้นทุนได้ถึง 300 ล้านบาท ในปีนี้ได้มอบหมายให้สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา เพื่อเข้าช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่มุ่งลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง  เพื่อเป้าหมายการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศและยกระดับศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมได้มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์ภายในองค์กรของสถานประกอบการ  ในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมยางพารา ในเขตพื้นที่ภาคกลาง(รวมทั้งภาคตะวันตก) ประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง อุทัยธานี กาญจนบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี
  • เพื่อสร้างบุคลากรหลักด้านโลจิสติกส์สำหรับเป็นต้นแบบของการพัฒนา ศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
  • เพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับการพัฒนาศักยภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นมาตรฐานและมีวิธีการจัดการที่ดีที่สุดรวมทั้งมีบทเรียนจากประสบการณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรม

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  • มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน/กระบวนการผลิต
  • มีการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถวิเคราะห์หรือควบคุมต้นทุนโลจิสติกส์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • บุคลากรในองค์กรมีความสามารถในการปฏิบัติงานและสร้างทีมงานในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ
  • นำความรู้และความเข้าใจไปประยุกต์และต่อยอดให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
  • ต้นทุนโลจิสติกส์ลดลงหรือประสิทธิภาพโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

 

สนใจติดต่อ
คุณมลธิรา, คุณปราโมช  ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษา   สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)  
โทรศัพท์ 02-7173000  คุณมลธิรา, คุณปราโมช ต่อ 636, 629 โทรสาร 02-719-9490
E-mail: montira@tpa.or.th, pramot_wi@hotmail.com  หรือ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tpa.or.th /www.tpif.or.th

 


ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter