日本語ページ

บริการให้คำปรึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านเทคนิค Lean Manufacturing
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

โอกาสดี สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่พลาดในการเข้าร่วม
โครงการ Lean I บัดนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคม
ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เปิด โครงการ Lean II ขึ้นแล้ว
สนใจ สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด เพียง 40 โรงงานเท่านั้น
ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 12 ธันวาคม 2551

โครงการให้คำปรึกษา Lean Manufacturing I

ในปี 2551 ส.ส.ท. ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้บริการให้คำปรึกษา Lean Manufacturing
19 บริษัท สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 250 ล้านบาท ดังตัวอย่าง 3 บริษัทด้านล่างนี้

  1. บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด
    (ลดต้นทุนได้มากกว่า 2.5 ล้านบาท/ปี)
  2. บริษัท โมเดิร์นฟอร์ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    (ลดต้นทุนได้มากว่า 2 ล้านบาท/ปี)
  3. บริษัท ราชบุรีอาหารสัตว์ จำกัด
    (ลดต้นทุนได้มากกว่า 5.9 แสนบาท/ปี)

ท่านรู้จักการผลิตแบบลีนหรือยัง

หลักการและระบบการผลิตแบบลีน
(Lean Priciple & Lean Manufacturing)

ประวัติความเป็นมาระบบการผลิตแบบลีน

ปี 1990 James P. Womack เขียนหนังสือชื่อ The Machine That Changed The World ซึ่งกล่าวถึงประวัติการผลิตรถยนต์ รวมถึงศึกษาวิเคราะห์โรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป และเกิดคำว่า “Lean Manufacturing” ขึ้นเป็นครั้งแรก James Womack ได้มีโอกาสศึกษาระบบการผลิตแบบโตโยต้า(TPS) เป็นเวลาหลายปี แล้วสรุปออกมาเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า แนวคิดและการผลิตแบบลีน จึงอาจกล่าวได้ว่า TPS เป็นรากฐานของระบบการผลิตแบบลีน
เมื่อแนวคิด Lean และระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในอุตสาหกรรมโลกและในบ้านเรา โรงงานต่างๆ ก็ต้องการเปลี่ยนระบบการผลิตจาก Mass Production สู่ Lean Production หรือ Lean Manufacturing ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน คือ

  • ประการแรก ต้องการมีต้นทุนที่ต่ำลง (Cost Reduction) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) หรือรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด
  • ประการที่ 2 ต้องการเพิ่มผลิตภาพ (Increased Productivity) เพื่อการจัดส่งที่ดีขึ้นและรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
  • ประการที่ 3 ต้องการลด Lead Time ในการผลิตสินค้า เพื่อการจัดส่งที่ตรงเวลา (On Time Delivery) และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction)
  • ประการที่ 4 ต้องการมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงระดับสากล (World Class Manufacturing) เพื่อการแข่งขันได้ และเป็นที่ยอมรับของลูกค้า
  • ประการที่ 5 ลูกค้าให้ทำ จึงจำเป็นต้องทำเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า อันจะเป็นที่มาของการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
  • ประการที่ 6 ลูกค้ามีการประเมินระบบการผลิตแบบ Lean เปรียบเทียบกับผู้จัดส่ง (Supplier) รายอื่นๆ เพื่อพิจารณาผลงานของผู้จัดส่ง อันจะส่งผลต่อการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
  • ประการที่ 7 บริษัทแม่ซึ่งอยู่ต่างประเทศ มีนโยบายให้ทำ

ซึ่งไม่ว่าท่านจะเปลี่ยนระบบการผลิตจาก Mass Production สู่ Lean Production ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม แนว ทางที่ต้องตระเตรียมหรือดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการนำแนวคิดในการผลิตแบบลีนมาปรับใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของท่าน ซึ่งอาจจะมีแนวทางหรือกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปจากของบริษัทโตโยต้า ซึ่งเป็นต้นแบบของการผลิตแบบลีนก็เป็นไปได้ ความรู้ในการนำเครื่องมือลีนต่างๆ มาปรับใช้เป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่หากปราศจากความรู้ความเข้าใจในปรัชญาการผลิตแบบลีนอย่างแท้จริงแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็จะเป็นไปได้ยาก เปรียบ เสมือนที่บางบริษัทที่คิดว่าแนวทางการทำ 5 ส คือการ “ปัด กวาด เช็ด ถู” เท่านั้น ก็จะไม่สามารถรักษา (Sustain) วินัยของพนักงานที่ทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้ เนื่องจากพนักงานขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ การผลิตแบบลีนก็เช่นเดียวกัน ใช่ว่าการเรียนรู้ในเครื่องมือต่างๆของลีนจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จไม่ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการผลิตแบบลีน ความจำเป็นในการเปลี่ยน แปลงแนวทางในการทำงาน แล้วอธิบายให้เห็นภาพว่าลีนจะช่วยให้บริษัทประสบผลสำเร็จได้อย่างไร รวมถึงการวัดผลงานของพนักงานที่เกี่ยวเนื่องกับตัววัดของลีนต่างหาก ที่เป็นหัวใจหลักของการนำลีนไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ ต้นทุนโดยปกติที่แสดงให้เห็นนั้น มักจะเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนโดยส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นหรือไม่ได้รับความสนใจ มุมมองของลีน คือ เผยให้เห็นต้นทุนเหล่านั้น เพื่อดำเนินการแก้ไขและขจัดออกไป

การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยหลักการของลีน ทำกันอย่างไร

เป้าหมายของการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) มุ่งเน้นที่จะกำจัดความสูญเปล่า 8 ประการ (8 Wastes) ที่มักเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารลูกค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การติดต่อกับผู้ผลิต หรือ การบริหารภายในโรงงานเอง ซึ่งการลดความสูญเปล่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดต้นทุนในการดำเนินการของธุรกิจใดๆ เพื่อสร้างกำไรให้กับองค์ การโดยไม่ส่ง ผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า การดำเนินการเพื่อลดความสูญเปล่านี้จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องฝึกอบรมพนัก งานให้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า กิจกรรมใดเพิ่มคุณค่าให้กับงาน (Value Added) และกิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่า (Non Value-Added Activities)
โดยที่กิจกรรมการทำงานต่างๆ ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบหรือข้อมูลข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  2. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ใช้ทรัพยากรของเราไป เช่น เวลา พนักงาน เครื่องจักร พื้นที่ เป็นต้น แต่ไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เราเรียกกิจกรรมประเภทนี้ว่า “ความสูญเปล่า” เพราะลูกค้าจะยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อสิ่งที่ให้คุณค่ากับเขาเท่านั้น แต่จะไม่เต็มใจจ่ายเงินซื้อความสูญเปล่าโดยเด็ดขาด

ความสูญเปล่าในโรงงาน โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 8 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. ผลิตมากเกินไป (Over Production)
  2. มีกระบวนการมากเกินไป (Over Processing)
  3. การขนย้าย (Conveyance)
  4. สินค้าคงคลัง (Inventory)
  5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
  6. การรอคอย (Waiting)
  7. การเกิดของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย (Defect & Rework)
  8. ศักยภาพหรือความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ (Underutilized People)

กิจกรรมหลักของการปรับปรุง

  1. กำหนดคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์
  2. เขียนแผนผังคุณค่าของผลิตภัณฑ์หลัก (Value Stream Mapping)
  3. ทำให้การผลิตไหลลื่น (Flow)
  4. สร้างกลไกการดึงงาน (Pull) เพื่อลดการผลิตมากเกินไป
  5. พัฒนาสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)

ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ

  1. มีผลการปรับปรุงเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างน้อย 15% เช่น เพิ่มผลผลิต 15% ลดต้นทุน 15% ลด Breakdown 15% ลด Lead time 15%
  2. กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
  3. ต้นทุนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุม
  4. เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์การ สู่ความเป็นเลิศในการผลิต

ขอบข่ายการดำเนินการ

ระยะเวลาการดำเนินโครงการประมาณ 9 เดือน (ธันวาคม 2551 – สิงหาคม 2552) โดยมีจำนวนวันทั้งหมด 15 วัน ตามรายละเอียดดังนี้

  1. ตรวจประเมิน (Lean Assessment) (ที่บริษัท) และจัดทำ Proposal 1 วัน
  2. ฝึกอบรมหลักการของลีน (Lean Manufacturing) 4 วัน (ที่บริษัท)
  3. ให้คำปรึกษาเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต (Consulting) 7 วัน (ที่บริษัท)
  4. จัดเสนอผลงาน ภายในบริษัท 1 วัน (ที่บริษัท)
  5. จัดเสนอผลงานรอบคัดเลือก 1 วัน (ที่ ส.ส.ท.)
  6. จัดมหกรรมเสนอผลงาน Lean-Best Practice 1 วัน และแจก Pocket book รวมผลงานดีเด่น (Best Practice) ของแต่ละบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ

ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้ง 15 วันตลอดโครงการประมาณ 9 เดือน รวมทั้งสิ้น 160,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สนับสนุน 70,000 บาท
และบริษัทเสียค่าใช้จ่าย 90,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ

  1. กรอกใบตอบรับส่งมาที่สมาคมฯ ทางโทรสาร
  2. สมาคมฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้าร่วมโครงการ
  3. ที่ปรึกษาเข้าทำการ Assessment ที่บริษัท และจัดทำ Proposal เสนอบริษัท
  4. บริษัทเห็นชอบและลงนามในสัญญากับสมาคม
  5. ที่ปรึกษาเข้าดำเนินการโครงการตามแผนงานใน Proposal

สนใจติดต่อ

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
โทรศัพท์ 0-2717-3000-19 โทรสาร 0-2719-9489-90
คุณจินตนา, คุณสมปอง, คุณสร ต่อ 629,622,625
jintana@tpa.or.th, sompong@tpa.or.th, sorn@tpa.or.th



ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter