日本語ページ

การให้บริการให้คำปรึกษาการประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเทคนิคการบริหารจัดการใช้พลังงานโดยทุกคนมีส่วนร่วม TEM
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ร่วมกับ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ( ไทย - ญี่ปุ่น )

……………………………………………………………………

บริการให้คำปรึกษาด้าน TEM (Total Energy Management ) ภายใต้ระบบ TPM

โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วย เทคนิคการบริหารจัดการการใช้พลังงานโดยทุกคนมีส่วนร่วม TEM (Total Energy Management)

หลักการ และเหตุผล

พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน พลังงานซึ่งมีน้อยลงทุกวัน และมีราคาต่อหน่วยที่สูงขึ้น การหาพลังงานทดแทนเป็นสิ่งจำเป็น ประเด็นสำคัญคือ เราจะใช้พลังงงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงได้อย่างไร ประสิทธิภาพ คือ Output / Input แสดงว่า Output ที่เราได้เท่าเดิม ต้องใช้ Input น้อยลง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นโจทย์ที่สถานประกอบการกำลังให้ความสนใจ เมื่อ Input น้อยลง ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานก็ลดลง ทำให้บริษัทได้กำไรมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการเผาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ลดภาวะเรือนกระจก สิ่งแวดล้อมยังครอบคลุมถึงเรื่อง ของสภาพแวดล้อมการทำงาน ฝุ่น กาก ของเสีย สารพิษ อากาศ น้ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกี่ยวข้องกับเรื่องคงวามปลอดภัยด้วย จะเห็นได้ว่า แค่ “ การลด ( Reduce )” จะเป็นสิ่งที่โรงงานสามารถทำได้ทันที และส่งผลดีกับสถานประกอบการ บางสถานประกอบการยังใช้เทคโนโลยีมาช่วย ซึ่งต้องลงทุน ด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ที่จะช่วยลดการใช้พลังงาน รวมถึงการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ “ ใช้ซ้ำ ( Reuse )” รวมถึง “ การนำของเสียกลับมาเป็นของดี ( Recycle )” หลัก 3 R

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมานั้น จะเน้นการลงทุน โดยการซื้อเครื่องจักร และเครื่องมือใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เราลดการใช้พลังงานได้ลดลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ค่าพลังงานกลับเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่เป็นปัญหาคือ “ ผู้ใช้ ” หรือ “ คน ” เป็นสาเหตุหลัก เพราะ การขาดความเข้าใจในอุปกรณ์ เครื่องจักร และเครื่องมือที่ใช้ สำหรับโครงการประหยัดพลังงานที่เน้น การเปลี่ยนเครื่องจักร และให้ที่ปรึกษาเข้าไปช่วยดำเนินการ ก็จะได้ผลในช่วงแรกที่ที่ปรึกษาอยู่ช่วยสถานประกอบการ เมื่อที่ปรึกษาหมดสัญญา โครงการประหยัดพลังงานดังกล่าวก็จะหยุด ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่จะขับเคลื่อนผลักดันต่อ

ดังนั้น การประหยัดพลังงานที่จะได้ผลและยั่งยืนนั้น จะต้องเอาระบบบริหารจัดการเข้ามาร่วมด้วย โดยการจัดให้มีโครงสร้าง คณะกรรมการส่งเสริม ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญ ให้เวลา ความรู้ของการประหยัดพลังงานสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยให้พนักงานในองค์การทุกคนมีส่วนร่วม “ การบริหารจัดการการใช้พลังงานโดยทุกคนมีส่วนร่วม ( Total Energy Management )

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นว่าการระบบการบริหาร TPM (Total Productive Maintenance ) เป็นระบบบริหารจัดการที่มีรายละเอียดทั้งหมด 8 เสาหลักดังนี้

  1. เสาการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ( Autonomous Maintenance Pillar )
  2. เสาการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย ( Focus Improvement Pillar )
  3. เสาการบำรุงรักษาตามแผนงาน ( Plan Maintenance Pillar )
  4. เสาการศึกษาและฝึกอบรม ( Education and Training Pillar )
  5. เสาการจัดการเครื่องจักรใหม่ ( Early Management Pillar )
  6. เสาการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ ( Quality Maintenance Pillar )
  7. เสาการทำ TPM ในสำนักงาน ( Office Improvement Pillar )
  8. เสาการจัดการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ( Safety and Environment Management Pillar )

ซึ่งเสาสุดท้าย เรื่องการจัดการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ( Safety and Environment ) สามารถนำการบริหารการใช้พลังงานโดยทุกคนมีส่วนร่วมไปใส่ในเสาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการประหยัดพลังงาน และทำอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้อุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน
  • เพื่อให้พนักงานมีทักษะความชำนาญในการสังเกต และบำรุงรักษา พร้อมทั้งปรับปรุงจุดที่รั่วไหลของพลังงาน
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะด้านสภาพการทำงาน

บริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการ

จำนวน 40 โรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรมข้างล่างและโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม

  • ผลิตภัณฑ์เกษตร
  • ผลิตภัณฑ์อาหาร
  • สินค้าอุปโภค
  • สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย
  • เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ไม้แปรรูป
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง
  • สิ่งพิมพ์
  • ผลิตภัณฑ์กระดาษ และเยื่อกระดาษ
  • ผลิตภัณฑ์ยาง
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก
  • ผลิตภัณฑ์โลหะก่อนการแปรรูป
  • ผลิตภัณฑ์โลหะแปรรูป
  • เครื่องจักร
  • อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง และตกแต่ง
  • บรรจุภัณฑ์

หมายเหตุ ยกเว้นอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมกระบวนการต่อเนื่อง ( Continuous Process Industry)

ขอบข่ายการดำเนินการ

  • ดำเนินการ Fact Finding โดยที่ปรึกษา
  • การตรวจสอบพลังงาน ( Energy Audit ) เป็นการตรวจสอบสถานการณ์ใช้พลังงาน
  • การอบรม ( Training ) เป็นการอบรมให้แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
    • ระดับผู้บริหาร อบรม 1 วัน โรงงานละ 3 คน
    • ระดับวิศวกร / ช่างเทคนิค อบรม 2 วัน โรงงานละ 3 คน
    • ระดับหัวหน้างานอบรม 3 วัน โรงงานละ 5 คน
      (โดยการอบรมจะอบรมที่ ส.ส.ท.)
  • การให้คำปรึกษา/ลงมือปฎิบัติ ( Consult / Implementation ) โรงงานจัดทำแผนลดพลังงานและลงมือปฎิบัติภายในคำแนะนำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน โดยให้คำปรึกษาแนะนำ 3 ครั้ง/โรงงาน
  • การเยี่ยมชมโรงงาน( Site Visit ) เป็นการเยี่ยมชมโรงงานตัวอย่างเพื่อเห็นภาพในการปฎิบัติ จำนวน 5 ครั้งๆ ละ 40 คน คัดเลือกเข้าเยี่ยมชมโรงงานละ 5 คน
  • การนำเสนอผลงาน ( Present Best Practice ) จัดให้มีการนำเสนอผลงานดีเด่นรวม 40 โรงงาน โดยโรงงานคัดผลงานดีเด่นมานำเสนอโรงงานละ 1 เรื่อง จัดเสนอผลงาน 2 วัน ให้มีผู้เข้าร่วม 300 คน โดยให้โควต้าโรงงานละ 5 คน และบริษัททั่วไปที่สนใจ
  • จัดพิมพ์พ็อกเก็ตบุคส์รวบรวมผลงานดีเด่นจำนวน 500 เล่ม เพื่อประชาสัมพันธ์ฟรี

ประโยชน์ที่จะได้รับ

ทางตรง

  • ประหยัดพลังงานจากเดิมได้ระหว่าง 5-10%
  • ทักษะความสามารถของพนักงานหน้างาน จำนวนโครงการที่พัฒนาและใช้งานได้ 2 เรื่องต่อกลุ่มต่อปี
  • ขวัญกำลังใจพนักงาน จำนวนข้อเสนอแนะด้านการประหยัดพลังงาน (3 เรื่องต่อคนต่อปี)
  • เกิดความสมานฉันท์ ทำงานเป็นทีม ตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง โดยการวัดผลจากความสำเร็จในการบริหารโดยภาพรวม ( PQCDSMEE:Productivity, Quality, Cost, Delivery Time, Safety, Morale, Environment, Ethics )

ทางอ้อม

  • ส่งเสริมด้านความปลอดภัย ปัญหาด้านอุบัติเหตุลดลง
  • อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยความสำเร็จโครงการ

  • โครงการประหยัดพลังงานที่ยั่งยืน จะต้องมีโครงสร้างระบบบริหาร ความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง
  • ดำเนินการภายใต้ระบบบริหาร TPM
  • การให้การศึกษาด้านเทคนิค ความรู้ ด้านการประหยัดพลังงานกับพนักงานทุกระดับ
  • ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนและให้เวลากับโครงการ
  • พนักงานในสถานประกอบการได้รับการส่งเสริมโดยเฉพาะให้เวลา โดยการจูงใจเป็นกิจกรรมข้อเสนอแนะที่องค์กรจะต้องตอบแทนเมื่อพนักงานสามารถปรับปรุงได้สำเร็จ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเข้าร่วมตลอดโครงการ

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ

  • กรอกใบตอบรับส่งมาที่สมาคมฯ ทางโทรสาร
  • สมาคมฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้าร่วมโครงการ
  • ที่ปรึกษาเข้าทำการ Fact Finding ที่บริษัท และจัดทำ Proposal เสนอบริษัท
  • บริษัทเห็นชอบและลงนามในสัญญากับสมาคม
  • ที่ปรึกษาเข้าดำเนินการโครงการตามแผนงานใน Proposal

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

บริษัทที่สนใจกรุณากรอกรายละเอียดในแบบตอบรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
คุณหฤทัย , คุณวารินทร์
โทรศัพท์ 0-2717-3000 - 19 ต่อ 6 25 , 628
โทรสาร 0-2719-9490


Download ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ

Download โบรชัวร์


ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter