日本語ページ

ขอเชิญฟังการบรรยายพิเศษ TPA TRIZ TALK ครั้งที่ 4 เรื่อง การผสมผสานแนวคิดของ TRIZ เข้ากับกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับของ SIT / USIT ( Systematic Inventive Thinking / Unified Structured Inventive Thinking )
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

ความเป็นมา

TRIZ
เป็นชื่อย่อในภาษารัสเซียของทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving) คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ Genrich Altshuller เมื่อปี ค.ศ. 1946 โดยการค้นคว้าและวิเคราะห์สิทธิบัตรต่าง ๆ  กว่า 2 ล้านฉบับ  พัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือและฐานความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางเทคนิคซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

Systematic Inventive Thinking หรือ SIT เป็นการผสมผสานแนวคิดของ TRIZ เข้ากับกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับของอิสราเอล โดยจุดแข็งหลักของ SIT เมื่อเปรียบเทียบกับ TRIZ คือการลดรูปแบบความซับซ้อนของเครื่องมือของ TRIZ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายสามารถเริ่มต้นเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้นได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง   SIT ประสบความสำเร็จอย่างสูงในบริษัท Ford Motors และได้รับการเผยแพร่ต่อไปอย่างกว้างขวาง   มีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 600 บริษัทใน 50 อุตสาหกรรม

ประเทศญี่ปุ่นได้นำ SIT เข้ามาใช้ในรูปแบบของ USIT  (Unified Structured Inventive Thinking ) ควบคู่ไปกับการใช้ TRIZ เป็นพื้นฐานจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง    สมาคมฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าว   จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน SIT / USIT  มาจัดการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ขึ้น



วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2549
เวลา 13.00-16.30 น.
ณ ห้องสัมมนา 3C สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
ซอยพัฒนาการ 18 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

จัดโดย ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

 

   
13.00-13.30
: ลงทะเบียน
13.30--15.00
: การผสมผสานแนวคิดของ TRIZ เข้ากับกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับของ SIT และตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
โดย คุณ ธีรศักดิ์  วงศ์ปิยะ  SIT Coordinator
15.00-15.15
: พักทานกาแฟและของว่าง
15.15-16.30 : SIT ในรูปแบบของ USIT โดยมี TRIZ เป็นพื้นฐาน  และตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานในญี่ปุ่น
โดย ผศ.ไตรสิทธิ์   เบญจบุณยสิทธิ์   ผู้เชี่ยวชาญ 5  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ค่าลงทะเบียน 500 บาท (เป็นค่ากาแฟ-ของว่างและเอกสาร รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

การสมัคร
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและส่งใบสมัครมาได้ที่ คุณมลธิรา หนูเศษ
โทรศัพท์ 0-2717-3000 ต่อ 636 โทรสาร 0-2719-9489-90

หรือดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.tpa.or.th หรือ http://www.trizthailand.com/elearning



Download รายละเอียดเพิ่มเติมและใบสมัคร คลิกที่นี่

ลงทะเบียนจองคอร์สออนไลน์

ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter